เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การปลูกและการจัดการสวนมะม่วง แบบประสบการณ์
   
ปัญหา :
 
 
วิธีแก้ไข :
 

การปลูกมะม่วงแบบประสบการณ์จริง เป็นการรวบรวมเอาเทคนิคและวิธีการจากชาวสวนมะม่วงที่ประสบความสำเร็จ นำมาเรียบเรียงเพื่อให้ผู้อ่านอ่านง่าย และนำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติได้จริง

มะม่วง เป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกสภาพ แต่หากจะปลูกมะม่วงในเชิงพาณิชย์และเพื่อการส่งออกจะต้องเลือกพื้นที่ที่ ค่อนข้างดอน น้ำไม่ท่วมขัง กรณีพื้นที่เป็นที่ลุ่มจะต้องยกร่องเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เพราะนิสัยของมะม่วงแม้จะทนต่อสภาพน้ำท่วมขังแต่หากน้ำท่วมนานๆ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลผลิต อีกประการที่สำคัญคือ แปลงมะม่วงที่มีน้ำท่วมขังมักเกิดปัญหาโรคเข้าทำลายได้ง่ายกว่าแปลงปลูกที่ มีการระบายน้ำดี

การเตรียมพื้นที่ปลูกพื้นที่ดอน การปลูกมะม่วงในพื้นที่ดอนจะต้องปรับพื้นที่ให้ค่อนข้างเรียบเพื่อความสะดวก ในการปฏิบัติงาน เก็บเศษไม้และก้อนหินออกให้หมด จากนั้นให้ไถดินตากไว้ ประมาณ 1-2 สัปดาห์

การวัดระยะปลูก ก่อนอื่นจะต้องดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก นักวิชาการหลายท่านต่างแนะนำให้วัดระยะแถวในแนวเหนือ-ใต้ หรือปลูกมะม่วงแบบขวางตะวัน เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึงทุกต้น แต่บางครั้งสภาพพื้นที่ของเราไม่อำนวยก็สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพ พื้นที่ได้

ระยะปลูกที่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้วจะใช้ระยะระหว่างต้น 6 เมตร และระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 45 ต้น แต่อาจมีเกษตรกรบางรายปรับระยะปลูกใหม่ให้ชิดกว่าเดิม เป็นระยะระหว่างต้น 5 เมตร และระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 52 ต้น ได้จำนวนต้นมะม่วงเพิ่มจากเดิม 7 ต้น ต่อไร่ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยแต่การปลูกระบบนี้ชาวสวนจะต้องควบคุมทรงต้นให้ดี

พื้นที่ลุ่มสำหรับ ในพื้นที่ลุ่มอาจจะมีความยุ่งยากเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มที่มีประวัติน้ำท่วมขังสูง ถ้าระดับน้ำเคยท่วมสูงมากจะต้องทำคันกั้นน้ำให้สูงกว่าระดับที่น้ำเคยท่วมมา ก่อน ประมาณ 0.5-1 เมตร แล้วจึงยกร่อง แต่หากน้ำขังไม่มากให้ใช้วิธีการยกร่องอย่างเดียวก็พอ การขุดร่องโดยทั่วไปแล้วควรจะต้องให้สันร่องมีความกว้างประมาณ 5 เมตร ตัวร่องน้ำกว้างประมาณ 1.50-2 เมตร ส่วนความลึก ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ละแปลง ที่ต้องกำหนดให้มีสันร่องกว้างๆ ก็เพื่อความสะดวกของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในระยะห่อผลและเก็บผลผลิต ผู้เขียนเคยไปพบแปลงมะม่วงแปลงหนึ่งที่ปลูกแบบยกร่อง แต่มีสันร่องที่ค่อนข้างแคบมาก ทำให้มีปัญหาในการปฏิบัติงาน คนงานไม่สามารถห่อผลผลิตได้ เพราะไม่มีพื้นที่ในการตั้งบันได ทำให้เสียโอกาสในการผลิตมะม่วงคุณภาพดีๆ เพราะไม่ได้ห่อผล

การเตรียมหลุมปลูก หากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่แนะนำให้ใช้เครื่องเจาะหลุมช่วยจะเป็นการประหยัดเวลา และช่วยประหยัดค่าแรงงานไปได้มาก เครื่องเจาะที่นิยมใช้โดยทั่วไปจะมีขนาดหลุม กว้าง 50-75 เซนติเมตร เจาะลึกลงไปประมาณ 50 เซนติเมตร แต่หากเป็นการปลูกไว้ตามสวนหลังบ้านแบบบ้านละ 1-2 ต้น ให้ใช้จอบขุดหลุมกว้าง ยาว และ ลึก 50 เซนติเมตร ก็พอ หลังขุดหลุมเสร็จให้หาปุ๋ยคอกเก่ามาผสมกับดินที่ขุดขึ้นมา ต้นละ 1-2 บุ้งกี๋ พยายามใช้จอบผสมคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยคอกให้เข้ากันดี เพราะหากผสมไม่ดีอาจมีปัญหาทำให้มะม่วงที่ปลูกใหม่ตายเพราะปุ๋ยคอกได้

เมื่อผสมเสร็จให้โกยดินที่ผสมลงในหลุมเหมือนเดิม โดยพูนดินให้เป็นในลักษณะหลังเต่า ทิ้งเวลาไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงเริ่มปลูกมะม่วงได้ แต่บางครั้งพบเกษตรกรบางรายใช้วิธีขุดหลุมแล้วปลูกเลย ปุ๋ยคอกจะนำมาใส่ทีหลัง วิธีนี้ก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะคนที่ปลูกในพื้นที่มากๆ และไม่สามารถหาแรงงานในการเตรียมหลุมได้

พันธุ์มะม่วงที่น่าปลูก เกษตรกรหลายรายมักตั้งคำถามว่า จะปลูกมะม่วงพันธุ์อะไรดี คำถามนี้ยังไม่มีใครกล้าตอบแบบฟันธงได้ เพียงแต่สามารถให้คำแนะนำเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรจะเลือกปลูกพันธุ์ อะไรดี แต่จากข้อมูลทั้งภาครัฐและเอกชนต่างยอมรับว่า พันธุ์มะม่วงที่มีผู้นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุดของบ้านเราในปัจจุบันนี้ ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้ (ทั้งพันธุ์น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 และน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นมะม่วงบริโภคผลสุก) เพราะเป็นพันธุ์ที่ตลาดมีความต้องการสูง ขายได้ราคา มีตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองตลาดต่างประเทศเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ส่วนมะม่วงในกลุ่มบริโภคผลดิบหรือมะม่วงมัน เช่น เขียวเสวย แรด ฟ้าลั่น เพชรบ้านลาด มันขุนศรี ฯลฯ พื้นที่ปลูกมีไม่มากนักและกำลังลดลงเรื่อยๆ เพราะขายได้ราคาต่ำกว่าพันธุ์น้ำดอกไม้ เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการน้อย

แต่ปัจจุบันมีข้อสังเกตว่าในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา มะม่วงกินดิบหรือมะม่วงมันพันธุ์เขียวเสวยและแก้วเขมร ราคาภายในประเทศมีราคาสูงมาก เนื่องจากเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ราคาเขียวเสวยในฤดูขายจากสวนได้ราคาเฉลี่ยถึง 50 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนแก้วเขมร (คนไทยเรียก แก้วขมิ้น) ราคาขายจากสวน กิโลกรัมละ 30-40 บาท

การเตรียมกิ่งพันธุ์ มีปราชญ์หลายท่านพูดว่า การเริ่มต้นที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง การทำสวนมะม่วงก็เช่นกัน ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อกิ่งพันธุ์จะต้องแน่ใจว่ากิ่งพันธุ์ที่เราจะซื้อมา ปลูกนั้นดีจริง เกษตรกรสวนมะม่วงหลายรายมีวิธีในการเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ ดังนี้

1. จะต้องเป็นกิ่งพันธุ์แท้ตรงตามพันธุ์ที่เราต้องการ ปัญหาเรื่องการซื้อมะม่วงพันธุ์หนึ่งแล้วได้อีกพันธุ์หนึ่งไปแทน เป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะกิ่งพันธุ์ที่ออกมาขายกันใหม่ๆ ราคาแพงๆ หากซื้อไปแล้วเป็นพันธุ์ปลอม นอกจากจะเสียเงิน เสียเวลา แล้วยังช้ำใจไปอีกนาน ในเรื่องนี้ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ในช่วงที่มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองออกขาย ใหม่ๆ คนแห่ปลูกกันมาก ปลูกไปได้ไม่นาน มะม่วงที่ออกมากลับไม่เป็นพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง แต่เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 แทน ดังนั้น ก่อนซื้อจะต้องซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้

2. เป็น กิ่งแข็งแรง สมบูรณ์ กิ่งมะม่วงที่จะนำมาทำพันธุ์จะต้องเป็นกิ่งที่แข็งแรงปราศจากโรคและแมลง รบกวน ถ้าเป็นกิ่งใหญ่จะต้องมีขนาดสมดุลกับต้นตอ ไม่ใช่กิ่งใหญ่แต่ต้นตอเล็กมาก จะพบปัญหาด้านการเจริญเติบโต การเลือกกิ่งพันธุ์จะต้องเป็นกิ่งที่ตัดชำมาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ใบไม่เหี่ยวแห้ง กิ่งที่ดีใบจะต้องเขียวเป็นมัน แสดงว่าระบบรากขยายดีพร้อมปลูก

3. ต้อง ขยายพันธุ์จากต้นที่ไม่เคยราดสารแพคโคลบิวทราโซลมาก่อน เพราะหากเราใช้กิ่งพันธุ์ที่ผ่านการราดสารมาปลูก มักพบปัญหากิ่งเลื้อยและต้นไม่ค่อยเจริญเติบโต เวลาซื้อให้สังเกตง่ายๆ หากพบว่ากิ่งพันธุ์ที่ซื้อมามีลักษณะเลื้อยยอดไม่ตั้งเหมือนมะม่วงปกติ แสดงว่าขยายพันธุ์มาจากต้นที่ผ่านการราดสารมาแล้ว ควรหลีกเลี่ยง

การปลูก เมื่อเราได้กิ่งพันธุ์มาแล้ว ก่อนปลูกประมาณ 1-2 วัน ต้องงดน้ำเพื่อให้ดินในถุงแห้งป้องกันดินแตกเวลาปลูก (ดูว่าให้แค่พอแห้งไม่ใช่ปล่อยจนมะม่วงเหี่ยว) ก่อนปลูกอาจรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 16-16-16 ต้นละประมาณ 1 ช้อน ถ้าปลูกแปลงใหญ่ แนะนำให้ขุดหลุมให้เสร็จเสียก่อนแล้วค่อยปลูกทีหลัง เพื่อความสะดวกในการเล็งต้นให้เป็นแนวตรงกัน ที่สำคัญก่อนปลูก เวลาวางกิ่งพันธุ์ ห้ามให้กิ่งพันธุ์ล้มหรือนอน เพราะกิ่งพันธุ์จะตายได้ง่าย ต้องวางกิ่งพันธุ์ให้ตั้งเท่านั้น

การให้น้ำมะม่วงที่ปลูกใหม่ การปลูกมะม่วงในระยะแรกจะต้องให้น้ำ ให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ มีหลายท่านสอบถามว่า จะต้องรดน้ำกี่วันต่อครั้ง คำตอบคือ ให้ดูจากความชื้นของดินเป็นหลัก กรณีปลูกมะม่วงหน้าฝนอาจจะไม่ต้องรดน้ำเลยก็ได้ แต่หากเป็นช่วงฤดูแล้งอาจจะต้องรดน้ำ 5-7 วัน ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและอากาศ ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรหลายท่านใช้ฟางข้าวมาคลุมที่โคนต้นมะม่วงเพื่อลดการ ระเหยของน้ำทำให้ดินมีความชื้นได้นานขึ้น เว้นระยะเวลาในการรดน้ำนานออกไปได้

สิ่ง ที่ต้องจำไว้เสมอสำหรับมะม่วงปลูกใหม่ก็คือ ห้ามขาดน้ำโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแตกใบอ่อน หากขาดน้ำต้นมะม่วงอาจตายได้ และต้นมะม่วงที่ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าต้น มะม่วงที่ขาดน้ำอย่างเห็นได้ชัด

การใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกมะม่วงไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน......


ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 2 กรกฏาคม 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM