เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการบังคับลำไย ให้ออกผลนอกฤดู
   
ปัญหา :
 
 
อยากทดลองบังคับให้ลำไยออกดอกติดผลนอกฤดู หากได้ผลดีจะขยายพื้นที่ให้มากขึ้น และสามารถไปหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือศึกษางานจากของจริงได้จากที่ไหน
วิธีแก้ไข :
 

ย้อน ไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน มีชาวไต้หวันเข้ามาให้บริการใช้สารชนิดหนึ่ง บังคับลำไยให้ออกผลนอกฤดูที่สงขลา และจันทบุรี ซึ่งปกติลำไยจะให้ผลผลิตในเดือนสิงหาคมของทุกปี โดยไม่ยอมเปิดเผยว่า สารดังกล่าวคืออะไร และเคยประกาศว่า จะขายเทคโนโลยีการบังคับลำไยออกผลนอกฤดูให้กับประเทศไทย ด้วยมูลค่า 300 ล้านบาท แต่นับว่าโชคดีที่ความลับดังกล่าวถูกเปิดเผยออกมาโดยเหตุบังเอิญ เมื่อมีผู้ประกอบอาชีพทำดอกไม้ไฟท่านหนึ่ง ผมต้องขออภัยที่จำชื่อท่านไม่ได้ เหตุเกิดขึ้นหลังจากผสมสารเคมีที่ใช้ทำดอกไม้ไฟเรียบร้อยแล้ว ได้นำภาชนะที่ใช้ผสมสารเคมีไปล้างทำความสะอาด และนำน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีดังกล่าวไปราดลงบริเวณโคนต้นลำไยต้นหนึ่ง ต่อมาอีกประมาณ 22 วัน พบว่า ลำไยต้นนั้นออกดอกสะพรั่งเพียงซีกเดียว ด้วยความสงสัย จึงนำน้ำล้างภาชนะไปราดลงพื้นดินใต้ทรงพุ่มอีกด้านหนึ่ง ภายในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ต้นลำไยอีกซีกหนึ่งก็ออกดอกสะพรั่งเช่นเดียวกับการราดสารครั้งแรก ในที่สุดจึงทราบว่า สารดังกล่าวคือ โพแทสเซียมคลอเรต ทำให้เทคโนโลยีมูลค่า 300 ล้านบาท หมดคุณค่าลงทันที

โพแทสเซียม คลอเรต มีลักษณะเป็นผลึกโปร่งใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสเค็มคล้ายเกลือแกง มีทั้งชนิดผงและชนิดเม็ด ละลายน้ำได้ดีปานกลาง แต่จะละลายได้ดีในด่าง อุณหภูมิจุดระเบิดอยู่ที่ 400 องศาเซลเซียส เมื่อสัมผัสผิวหนังจะทำให้ระคายเคือง หากบริโภคเข้าไปในร่างกาย เพียง 5 กรัม จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

วิธี ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต เพื่อบังคับให้ลำไยออกผลนอกฤดู เตรียมต้นลำไยให้สมบูรณ์ เก็บกวาดและกำจัดวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มต้นลำไยให้สะอาด ในกรณีดินแห้งเกินไป ควรรดน้ำให้ชุ่ม หากดินในสวนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย แนะนำให้ใช้โพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 100, 150 และ 200 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร ต่อลำไย 1 ต้น ที่มีอายุ 5-7, 7-10 และ 10 ปี ขึ้นไป ตามลำดับ แต่หากดินในสวนเป็นดินเหนียว ให้เพิ่มสารอีก 50 กรัม ต่อต้น ในทุกช่วงอายุ ราดลงใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว และต้องรักษาความชื้นในดินด้วยวิธีรดน้ำให้ชุ่ม วันเว้นวัน ต่อเนื่องไปตลอดทั้งสัปดาห์ และให้เพิ่มปริมาณขึ้นจนครบ 20-25 วัน จากนั้นลำไยจะเริ่มแทงช่อ ทั้งนี้ ช่วงการใช้สารทำได้ 2 ช่วง คือ ในเดือนพฤศจิกายนและเดือนพฤษภาคม ไปถึงเดือนมิถุนายน พันธุ์ที่ตอบสนองต่อสารได้ดีมีพันธุ์อีดอ สีชมพู และใบดำ หลังจากลำไยออกดอกแล้ว จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 6-7 เดือน

ข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติ ระหว่าง การใช้สาร ต้องสวมรองเท้าบู๊ต ถุงมือ และแว่นตาที่สามารถป้องกันละอองสารเคมีได้ ห้ามสูบบุหรี่ขณะใช้สาร อย่าให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งสัมผัสกับสาร และระวังอย่าปล่อยสัตว์เลี้ยงเข้าใกล้บริเวณที่ใช้สาร ระยะที่ลำไยเริ่มแทงช่อให้ใส่ปุ๋ย สูตร 25-7-7 อัตรา 1 กิโลกรัม พร้อมปุ๋ยคอกเก่าอีก 3-5 ปี๊บ ต่อต้น และระยะเมล็ดเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลให้ใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น และรดน้ำตามทันที ศัตรูที่พบการระบาด นอกจากนกและค้างคาวแล้ว ยังมี มวนลำไย หรือ แมงแกง เข้าดูดกินน้ำเลี้ยงของใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ผลลำไยหลุดร่วงเสียหาย เมื่อเกิดการระบาดรุนแรง ให้ฉีดพ่นด้วยโมโนโครโตฟอส อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ 2 ครั้ง เว้นช่วง 5-7 วัน การใช้สารเคมีระยะให้ผล ต้องหยุดใช้ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต อย่างน้อย 7 วัน การปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น คุณจะได้ผลผลิตลำไยนอกฤดูที่มีคุณภาพ ตามต้องการ ส่วนข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ ติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ในวัน และเวลาราชการ ครับ

 

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ไม้งาม
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ตาก
รหัสไปรษณีย์ :
63000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM