เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
"แพลตตินั่ม" ปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่ ดันขึ้นแท่นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
   
ปัญหา :
 
 
การเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงาม ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสัตว์ทะเลหลายชนิดมีรูปร่างที่แปลกตา สีสันที่สดและสวยงาม รวมไปถึงพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่น่าสนใจ
วิธีแก้ไข :
 

การเลี้ยงปลาทะเลสวยงามจึงกลายเป็นมนต์เสน่ห์ที่สามารถดึงดูดเหล่าบรรดานักเลี้ยงปลาตู้ทะเลจำลองได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงามไปอย่างมาก โดยสัตว์ทะเลสวยงามที่เลือกทำการศึกษา วิจัยและเพาะขยายพันธุ์ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์น้ำที่ได้รับความนิยมจากผู้ เลี้ยง สัตว์น้ำที่มีจำนวนลดน้อยลงจากธรรมชาติ หรือเป็นสัตว์ทะเลที่สร้างความแปลกใหม่ให้กับทางวงการสัตว์น้ำสวยงาม อาทิ ปลาการ์ตูน ม้าน้ำ เห็ดทะเล กุ้งทะเลสวยงาม ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งสัตว์ทะเลสวยงามที่นำมาเลี้ยงหรือจำหน่ายมักเป็นสัตว์ทะเลที่ได้จาก การจับจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ระบบนิเวศของธรรมชาติถูกรบกวน และเกิดปัญหาตามมาในหลายด้านตามที่กล่าวข้างต้น

ดัง นั้น การศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงามในเชิงพาณิชย์จึงมีความมุ่ง หวังที่จะใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงามมาพัฒนาต่อยอดสู่การเพาะ ขยายพันธุ์ในเชิงพาณิชย์เพื่อที่จะทดแทนการจับสัตว์น้ำจากธรรมชาติ และล่าสุดนี้นักวิจัยของกรมประมงได้ทำการศึกษาวิจัยผสมพันธุ์ปลาการ์ตูนชนิด ใหม่และตั้งชื่อว่า ปลาการ์ตูนแพลตตินั่ม ซึ่งปลาสายพันธุ์นี้ไม่สามารถพบเห็นในแหล่งน้ำธรรมชาติ

คุณโกวิทย์ เก้าเอี้ยน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งตรัง เปิดเผยว่า ปลาการ์ตูนแพลตตินั่ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amphiprion percula เป็นปลาการ์ตูนลูกผสมระหว่างปลาการ์ตูนเพอร์คูล่า (percula) กับ ปลาการ์ตูนที่มีลักษณะภายนอกสีขาวค่อนข้างมาก ซึ่งเมื่อผสมออกมาแล้วจะได้ลูกปลาที่มีลักษณะภายนอกเหมือนกับปลาการ์ตูน เพอร์คูล่า พ่อแม่พันธุ์ทุกตัว แต่ลักษณะสีขาวข้างลำตัวมีไม่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และจะมีสีเหลืองเป็นลักษณะเด่น แต่เมื่อนำปลาการ์ตูนรุ่นลูกมาผสมกันเองในรุ่นต่อไป จะให้ลูกในลักษณะแพลตตินั่มคือ จะมีสีขาวทั่วลำตัว ยกเว้นบริเวณครีบและปากที่จะมีสีเหลืองหรือดำที่จะกลายเป็นลักษณะเด่นของปลา สายพันธุ์นี้

ในแต่ละครอกนั้น ลูกปลาที่ได้ก็จะมีหลายลวดลาย ทั้งแบบ picasso (ลวด ลายคล้ายจิ๊กซอว์) แบบแพลตตินั่ม (ซึ่งในแต่ละครอกจะให้ลายแบบนี้น้อยมาก) และส่วนที่เหลือยังคงลักษณะสายพันธุ์ของเพอร์คูล่า เช่นเดิม ซึ่งทั้ง 3 ลวดลาย ถือว่าโดดเด่นเป็นอย่างมากเมื่ออยู่ในตู้ปลาและท้องทะเลธรรมชาติ จึงเหมาะที่จะนำมาจัดแสดงในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสาธารณะและเลี้ยงในตู้ของ นักนิยมสัตว์น้ำสวยงาม

ด้าน คุณเจษฎา ถังมณี เจ้าพนักงานประมงปฏิบัติงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งตรัง ได้กล่าวเพิ่มเติมในด้านการเพาะเลี้ยงว่า ได้เริ่มทำการศึกษาเพาะพันธุ์ ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2556 ซึ่งการเลี้ยงปลาการ์ตูนชนิดนี้ให้สมบูรณ์พร้อมผสมพันธุ์และวางไข่ จะต้องใช้ระยะเวลา ประมาณ 15-18 เดือน โดยจะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาในตู้กระจก ขนาด 50-100 ลิตร ด้วยระบบปิด น้ำหมุนเวียน ซึ่งทำให้ปลาการ์ตูนปลอดเชื้อและสามารถเลี้ยงได้ในอัตราที่หนาแน่น

อาหารจะใช้ทั้งอาหารสำเร็จรูป เนื้อกุ้งบดผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า (spirulina) และ วิตามิน และในส่วนของการอนุบาลนั้นหลังจากแม่ปลาวางไข่ประมาณ 5-7 วัน จะนำไข่ปลาไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาดความจุน้ำ 300 ลิตร เมื่อปลาฟักเป็นตัว การอนุบาลลูกปลาในวัยอ่อนจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่ออัตราการรอด โดยสูตรที่เลี้ยงลูกปลาคือ จะให้โรติเฟอร์เป็นอาหารในช่วงเวลา 10-15 วัน เติมคลอเรลล่าเพื่อพรางแสงไม่ให้ลูกปลาตื่นตกใจ และเป็นอาหารของโรติเฟอร์ เมื่อลูกปลาโตได้ ประมาณ 10-12 วัน จะเปลี่ยนมาให้อาร์ทีเมียแทน และเมื่อลูกปลามี ขนาด 0.8-1 เซนติเมตร ก็จะให้เป็นอาหารสำเร็จรูป การเปลี่ยนถ่ายน้ำในช่วงแรกจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ จะเริ่มดูดตะกอนก้นถังทิ้งและถ่ายน้ำ 10 เปอร์เซ็นต์ หลังจากลูกปลาอายุได้ 10 วัน แล้วจึงเพิ่มปริมาณการถ่ายน้ำขึ้นเมื่อลูกปลาปรับตัวได้

ปัจจุบัน ทางศูนย์มีพ่อแม่พันธุ์ปลาการ์ตูนที่ให้ลูกในลักษณะนี้จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากปริมาณการวางไข่ของปลาสายพันธุ์นี้จะมีจำนวนน้อยกว่าเมื่อเปรียบ เทียบกับปลาเพอร์คูล่า โดยจะให้ไข่แค่เพียง 50-100 ฟอง/ครั้ง/แม่ และในระยะเวลา 1 เดือน ปลาการ์ตูนแพลตตินั่มจะสามารถวางไข่ได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น ด้วยอัตราการวางไข่ที่มีปริมาณน้อย และโอกาสที่จะได้ลูกพันธุ์ปลาในลักษณะนี้ไม่ง่ายนัก ปลาการ์ตูนแพลตตินั่มจึงถูกกำหนดราคาขายอยู่ที่ประมาณตัวละ 10,0000-20,000 บาท (ขึ้นอยู่กับลักษณะ รูปร่าง สี และความสมบูรณ์ของปลาตัวนั้นๆ)

การ นำเทคโนโลยีต่างๆ มาศึกษาเพื่อพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสายพันธุ์ต่างๆ ที่เน้นคุณภาพทั้งในด้านความสดของสีสัน ความแข็งแรงของสัตว์น้ำ ฯลฯ สามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้นิยมสัตว์น้ำสวยงามนำไปใช้เป็นแบบอย่างเพื่อลดการ สูญเสียปลาที่เลี้ยงไว้ กรมประมงจึงดำเนินการศึกษาพัฒนารูปแบบวิธีการเพาะพันธุ์ในโรงเพาะฟัก และอาหารที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลา เพื่อผลิตลูกปลาตอบสนองความต้องการของตลาด และเพื่อเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสวยงามชนิดใหม่ของเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และยังส่งผลทางอ้อมต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและแนวปะการัง สำหรับปลาการ์ตูนแพลตตินั่ม กรมประมงจะผลักดันให้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสวยงามชนิดใหม่ของวงการสัตว์ทะเล สวยงาม และหลังจากนี้ได้วางแผนเตรียมนำปลาการ์ตูนสายพันธุ์นี้ไปปล่อยลงสู่ธรรมชาติ เพื่อเพิ่มสีสันให้กับระบบนิเวศของท้องทะเลไทยต่อไป 

 

 

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ตรัง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 10 เม.ย.57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM