เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
"ยุภา กุญชร" ปลูกแตงโมเงินล้าน หลังการทำนา (ตอนที่ 2)
   
ปัญหา :
 
 
การเตรียมแปลงปลูกแตงโม ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นหัวใจของการปลูกพืชที่จะถือยึดเกาะรากและเป็นแหล่งอาหารของพืชที่ จะใช้ในการเจริญเติบโต
วิธีแก้ไข :
 

ซึ่ง ขั้นตอนแรก คือ ไถดะด้วยผาลเบิกหน้าดิน เพื่อไถให้หญ้าและวัชพืชต่างๆ ตาย ตากดิน 7-10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลงศัตรูที่อยู่ในดิน

สอง ไถแปร ด้วยผาลพวงหรือผาลแปรดิน ให้ดินละเอียดมากขึ้น

สาม เราจะเริ่มทำร่อง โดยวัดระยะห่างระหว่างแถว 5.5-6 เมตร โรยร่องด้วยปุ๋ย สูตร 16-16-16 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่+ปูนขาว 20 กิโลกรัม/ไร่+อาหารเสริมแร่ธาตุปลีกย่อยต่างๆ (จะใส่หรือไม่ใส่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน)+สารป้องกันกำจัดแมลง และยกร่องด้วยผาลคู่ ความกว้างของร่อง 0.8-1 เมตร ความสูง 30 เซนติเมตร

จาก นั้นดึงสายเทปน้ำหยดขึ้นหลังร่อง และคุมแปลงด้วยพลาสติกสีเทา ที่ปัจจุบันพลาสติกคลุมแปลงมีแบบเจาะรูมาให้แบบสำเร็จรูป สามารถซื้อแล้วมาปูแปลงปลูกใช้ได้เลยกับแบบที่สองคือแบบที่ยังไม่เจาะรูมา ให้ คือหลังจากปูพลาสติกคลุมแปลงแล้วก็ค่อยมาเจาะรูตามระยะปลูกที่ต้องการด้วย กระป๋องนม หรือที่เจาะแบบใส่ถ่านจุดไฟให้ร้อน เพื่อเจาะพลาสติกได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

 

การเพาะเมล็ดแตงโม

การ ปลูกแตงโมแบบดั้งเดิม ปลูกโดยหยอดเมล็ดลงหลุม หลุมละ 2-3 เมล็ด ซึ่งทำให้เปลืองเมล็ดพันธุ์ และเสี่ยงต่อการทำลายของแมลงปากกัด และโรคที่เกิดจากเชื้อรา อีกทั้งทำให้การเจริญเติบโตของแตงโมแต่ละหลุมไม่พร้อมกัน ยากต่อการปฏิบัติดูแลรักษาและไม่ประสบผลสำเร็จ

ใน การปลูกแตงโมช่วงฤดูฝน บางพื้นที่ซึ่งฝนตกชุกมาก ต้องแก้ไขปัญหา เพื่อลดการสิ้นเปลืองของเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาแพง ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง สม่ำเสมอ ปลอดจากเชื้อรา และพร้อมที่จะลงแปลงปลูก

1. แช่เมล็ดพันธุ์แตงโม ด้วยน้ำบ่อหรือน้ำบาดาล (ห้ามใช้น้ำฝนมาแช่เมล็ด เพราะจะทำให้เมล็ดแตงโมไม่งอก) นำน้ำสะอาดดังกล่าวมาผสมกับน้ำร้อน อัตราส่วน 1 ต่อ 1 เพื่อให้ได้น้ำอุ่นมาแช่เมล็ดแตงโม ทิ้งไว้ประมาณ 5-6 ชั่วโมง

2. หลังจากครบเวลาแล้ว นำเอาเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำไว้ไปล้างน้ำสะอาดอีกสัก 2-3 ครั้ง เพื่อเอาเมือกที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ออกจนหมด วิธีการสังเกตว่าเมือกออกหมดหรือยังนั้น เมล็ดแตงโมจะไม่ลื่นมากเหมือนตอนแรกนั้นเอง

3. นำเมล็ดวางผึ่งลมให้เมล็ดแห้งพอหมาดๆ (ทดสอบโดยเมื่อนำมือไปแตะเมล็ดจะจับติดมือบ้าง ไม่ติดมือบ้าง) แล้วห่อเมล็ดแตงโมด้วยผ้าที่สะอาด (ห้ามใช้ผงซักฟอกซักผ้า โดยให้ซักผ้าด้วยน้ำสะอาดสัก 3-4 รอบ) นำผ้ามาชุบน้ำให้พอหมาด หรือจะเป็นหนังสือพิมพ์ห่อเมล็ดก็ได้เช่นกัน หรือใช้กระดาษทิชชูแบบแผ่นใหญ่ วางซ้อนทับ 3 ชั้น พรมน้ำพอหมาดๆ แล้ววางเมล็ดแตงโม 1,000-1,500 เมล็ด ลงกลางกระดาษ พับห่อเป็นชุดๆ ตามปริมาณการใช้ และนำผ้าขนหนูที่สะอาดชุบน้ำบิดหมาดห่อเมล็ดแตงโมอีกชั้นหนึ่ง

4. นำเมล็ดพันธุ์ที่ห่อด้วยผ้าใส่ลงในกระติกน้ำ โดยการเตรียมกระติกน้ำแข็งที่ปรับสภาพให้มีความอบอุ่นโดยการใช้น้ำร้อนเทใส่ กระติก ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วเทน้ำออก จากนั้นนำห่อเมล็ดแตงโมมาใส่ในกระติก ปิดฝาให้สนิท วางทิ้งไว้ประมาณ 48-50 ชั่วโมง หรือสัก 2 คืน ในอุณหภูมิห้องปกติ ความร้อนในกระติกน้ำจะทำให้เมล็ดแตงโมงอกได้สม่ำเสมอดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่อากาศหนาวเย็น วิธีนี้จะค่อนข้างได้ผลดี

5. พอวันที่ 3 ก็ให้เปิดกระติกน้ำ เช็กดูว่าเมล็ดแตงโมโดยส่วนใหญ่จะเริ่มมีรากงอกออกมาเกือบทั้งหมด เมื่อพบว่าเมล็ดงอกดีแล้ว ก็ให้ใช้คีมคีบ หรือมีความชำนาญก็ให้ใช้มือจับเมล็ด ย้ายเมล็ดแตงโมนำไปปลูกลงถาดเพาะกล้า (ซึ่งชาวสวนแตงมักเรียกว่า การแต้มเมล็ด”) โดย ระวังอย่าให้รากหักหรือรากบอบช้ำ ควรใช้ไม้แทงนำวัสดุปลูกให้เป็นหลุมเสียก่อนแล้วจึงหยอดเมล็ดลงไปเบาๆ แล้วใช้ปลายนิ้วโป้งและนิ้วชี้มือบีบวัสดุปลูกเบาๆ เพื่อกลบปิดปากหลุม วางถาดเพาะในที่ร่มรำไรหรือใต้ตาข่ายพรางแสง แล้วต้องคอยรดน้ำด้วยบัวรดน้ำ

ใน ระยะแรกควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ให้รดน้ำช่วง 09.00 น. และช่วงบ่าย 15.00 น. จากนั้นรดน้ำต้นกล้าให้ถี่ขึ้นโดยดูจากวัสดุดินที่เพาะ ถ้าแห้งให้รดน้ำได้เลย ดูแลรดน้ำจนกระทั่ง อายุ 10-15 วัน หรือมีใบจริง 2-3 ใบ ก็จะได้กล้าแตงโมที่แข็งแรง สม่ำเสมอพร้อมลงแปลงปลูกได้

 

การเตรียมวัสดุเพาะกล้า

ใน อดีต เพาะกล้าแตงโมจะใช้ถุงร้อนที่ใส่เครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวมาใส่วัสดุปลูก บ้างใช้ถุงดำขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบาย ได้มีการใช้ถาดเพาะกล้าหรือถาดหลุมที่มีจำนวนหลุมทั้งหมด 104 หลุม มาใช้เพาะกล้า

โดยวัสดุปลูกที่ใช้จะเป็นดินเพาะกล้าที่สั่งมาจากต่างประเทศที่เรียกกันว่า มีเดีย แต่เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาค่อนข้างสูง มีราคาแพง ทำให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้ เพื่อลดต้นทุนแล้วสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกัน ที่เรียกกันว่า การผสมดิน เพื่อลดต้นทุนเรื่องของวัสดุเพาะกล้า

โดย สูตร ดินผสม จะมีส่วนผสม ดังนี้ ดินมีเดีย 1 กระสอบ (25 กิโลกรัม) : ขุยมะพร้าวปั่นฝอย 50 กิโลกรัม : ดินหมักใบก้ามปู 25 กิโลกรัม จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ ประมาณ 4-5 เท่า ของวัสดุปลูก โดยที่ ดินผสม 1 ชุด สามารถใช้ได้เกือบ 70-80 ถาดเพาะเลยทีเดียว

 

การย้ายกล้าแตงโม จากถาดเพาะลงแปลงปลูก

หลัง จากแต้มเมล็ดพันธุ์ลงถาดหลุมได้สัก 10-15 วัน ก็จะสามารถย้ายปลูกลงแปลงได้ โดยสังเกตจากต้นกล้าที่พร้อมจะต้องแตกยอดและออกใบจริงอย่างน้อย 2 ใบ

โดย ก่อนการขนย้ายถาดหลุมต้นกล้าแตงโมไปปลูกในแปลง ควรมีการงดการรดน้ำเสียก่อน ให้วัสดุปลูกแข็งเป็นก้อนเล็กน้อยเพื่อให้สะดวกตอนขนย้าย และง่ายต่อการดึงต้นกล้าออกจากถาดหลุมได้โดยง่าย

ถ้า เรารดน้ำให้กล้าแตงโมก่อนการย้ายปลูก เมื่อถอดออกจากหลุมจะทำให้ดินวัสดุปลูกแตกออกจากรากแตงโม ยกตัวอย่างว่า จะย้ายกล้าแตงโมปลูกในช่วงเย็นควรงดน้ำในช่วงบ่าย รดแค่ตอนเช้าครั้งเดียวก็เพียงพอ แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตวัสดุปลูกของเกษตรกรอีกทีว่าควรจะงดน้ำช่วง เวลาใด

โดย มีวิธีการปลูก เราก็ย้ายลงแปลงปลูกโดยให้ระยะระหว่างต้น 50-70 เซนติเมตร (ระยะขึ้นอยู่กับฤดูปลูก และวิธีการเด็ดยอด) โดยก่อนปลูกต้องขึ้นน้ำในร่องให้ชุ่มเสียก่อน วิธีการปลูกใช้ไม้กระทุ้งหลุมให้ลึก ประมาณ 7-10 เซนติเมตร ให้รองก้นหลุมด้วยสารมีโซแซม หรือสารสตาร์เกิล จี หลุมละ 1 กรัม เพื่อป้องกันแมลงทำลายของแมลงกินใบและแมลงปากดูดต่างๆ

ใน ช่วงแรกของการปลูกแตงโม ปลูกแล้วต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อเพิ่มอัตราการรอดของกล้าแตงโม (การรดน้ำตาม คือ ใช้สายยางหรือบัวรดน้ำตามคนปลูกเลยทันที เพื่อลดความร้อนของดินปลูก ทำให้ดินเกาะกระชับรากแตงโมได้ดี)

 

การจัดการเรื่องน้ำ

การให้น้ำนั้น นิสัยแตงโม เป็นพืชที่มีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ คือ น้ำชุ่มแปลง แต่ไม่แฉะขังแปลงให้ช่วงปลูก 3 วันแรก ควรรดน้ำทุกวัน หลังจากแตงโมตั้งตัวได้แล้ว ก็ให้น้ำวันเว้นวันได้

แต่ หลังจากแตงโมเริ่มติดผลแล้ว ควรให้น้ำทุกๆ วันอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าให้น้ำไม่สม่ำเสมออาจเกิดอาการเถาแตกได้ ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญมากในการปลูกแตงโม และก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตควรงดน้ำอย่างน้อย 3-5 วัน เพื่อให้แตงโมมีรสชาติที่หวานกรอบขึ้น

ถ้า มีการให้น้ำมากจนเกินไปหรือไม่หยุดให้น้ำ ผลแตงโมจะฉ่ำน้ำมาก รสชาติจะจืดชืดได้ง่าย ดังนั้น ต้องควบคุมงดการให้น้ำช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวให้ดี

 

การให้ปุ๋ย

จะมีอยู่ 2 แบบ ตามการปลูกของเกษตรกร คือ การปลูกแบบให้น้ำตามร่องแปลง หรือชาวสวนเรียก แบบราดน้ำ เป็นการปลูกแตงโมแบบดั้งเดิม ไม่มีระบบน้ำ ไม่ใช้พลาสติกคลุมแปลง แต่จะใช้วิธีปล่อยน้ำเข้าร่องปลูก จากนั้นใช้กระบวยที่มัดติดไม้ ตักน้ำเดินรดหรือราด

การ ปลูกแตงโมแบบราดน้ำ จะประหยัดต้นทุนมากกว่า แต่เกษตรกรต้องขยันมาก จะต้องเดินรดน้ำแตงโมแทบทุกวัน ซึ่งแปลงแบบนี้จะไม่ปูพลาสติกคลุมแปลง สามารถใส่ปุ๋ยเคมีทางดินได้เลยบนแปลงปลูก วิธีปลูกแบบนี้จะประหยัดในเรื่องของอุปกรณ์ระบบน้ำมาก แต่จะเหนื่อยในการให้น้ำพอสมควร

ส่วน แบบที่สอง คือการปลูกแบบน้ำหยด คือ การปลูกแตงโมโดยแปลงปลูกปูพลาสติกคลุมแปลง วางระบบน้ำหยด ซึ่งการให้น้ำรวมถึงการให้ปุ๋ยเคมีจะให้โดยปล่อยไปพร้อมกับระบบน้ำหยดทั้ง หมด

วิธี นี้จะลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูงในเรื่องของระบบน้ำและพลาสติกคลุมแปลง แต่จริงแล้วอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเก็บมาใช้ได้นาน เช่น ระบบน้ำใช้ได้นาน แม้แต่พลาสติกคลุมแปลงสามารถใช้ได้นานถึง 3 รุ่น แต่ทั้งนั้นการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์หลังการเก็บเกี่ยวจะต้องดี

ยก ตัวอย่าง เทปสายน้ำหยดก็จะทำรอกม้วนเก็บไว้ หรือพลาสติกคลุมแปลงก็จะยัดใส่กระสอบโดยไม่ต้องม้วนหรือพับให้ประณีต วิธีนำมาใช้ก็จะแสนง่ายดาย คือให้คนหนึ่งจับปลายพลาสติกคลุมแปลงจากปากกระสอบไว้ที่หัวแปลง แล้วอีกคนก็จะเดินถือถุงกระสอบเดินให้พลาสติกคลุมแปลงออกมาจากปากกระสอบไปจน สุดแปลงปลูก เป็นต้น

 

การเก็บผลผลิตแตงโม

แตง โม เป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่ผลแก่แล้วไม่แสดงอาการว่าสุกงอมโดยการเปลี่ยนสีให้เห็นเหมือนผลมะเขือเทศ พริก ฯลฯ หรือ การส่งกลิ่นหอม เช่น กล้วยหอม ทุเรียน ละมุด ฯลฯ ฉะนั้นการดูว่าแตงโมแก่เก็บได้หรือยัง จึงต้องพิถีพิถันมากกว่าปกติอีกเล็กน้อย คือ

1. คาดคะเนการแก่ของผลแตงโมด้วยการนับอายุ ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของแตงโมที่นำมาปลูก โดยปกติมักจะมีฉลากบอกอายุการเก็บเกี่ยวไว้ข้างกระป๋อง แต่นั้นก็มีปัจจัยเรื่องของอุณหภูมิ ฤดูกาลของอากาศ เช่น อากาศร้อน แตงโมก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ตรงตามวันหรือเก็บเกี่ยวได้ก่อนกำหนดอายุ หรืออย่างช่วงอากาศหนาว แตงโมอาจจะชะลอการเจริญเติบโต แตงโมก็อาจจะยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปอีกหลายวัน

2. คาดคะเนการแก่ของผล ด้วยการดูลักษณะที่พบได้ทั่วไปเมื่อแตงโมแก่, มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุด เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน, วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีดฟังเสียง หรือตบผลเบาๆ ฟังเสียงดู, สังเกตนวลของผล ถ้าจางลงกว่าปกติแสดงว่าแตงเริ่มแก่

ทั้ง นี้ เกษตรกรควรมีการสุ่มแตงโมขึ้นมาผ่าดูว่าแก่แล้วหรือยัง ทดสอบดูถ้าแตงโมแก่แล้วจะให้รสหวาน และเมล็ดออกสีฟันควาย (สีเมล็ดออกลาย) ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว เกษตรกรผู้ปลูกไม่ควรเก็บผลแตงโมที่แก่จัดจนเกินไป ชาวสวนมักเรียกว่า แตงสุกเพราะจะทำให้อายุหลังการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่สามารถวางจำหน่ายบนแผงได้นานนัก

โดย พ่อค้าที่มารับซื้อมักจะเก็บเกี่ยวแตงโมที่ความแก่ 80-90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นพ่อค้าที่อยู่ไกล เช่น ภาคใต้ ที่ต้องใช้เวลาการขนส่งนานถึง 2-3 วัน มักจะเลือกตัดแตงโมที่ความแก่แค่ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเนื้อยังมีสีออกชมพู สียังไม่แดงจัด แต่เมื่อแตงโมเดินทางลงใต้ก็จะหวานและแดงพอดีขาย เป็นต้น

การ ปลูกแตงโม 1 ไร่ ลงทุนไร่ละ 10,000 บาท ใช้เวลา 65 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกและต่อๆ ไปอีกทุกๆ 7 วัน ก็เก็บเกี่ยวแตงโมขายได้อีกราว 2-4 ครั้ง ผลผลิตแต่ละลูกจะมีน้ำหนัก เฉลี่ย 3-8 กิโลกรัม (ขนาดผลขึ้นกับสายพันธุ์และการดูแล) เก็บเกี่ยวโดยรวมก็จะได้ผลผลิต 3,500 กิโลกรัม ต่อไร่

ถ้าขายแตงโมได้ราคา กิโลกรัม  5 บาท ขึ้นไป เกษตรกรก็สามารถอยู่ได้

แต่ปีนี้ขายได้ราคา 7-10 บาท หักค่าใช้จ่ายได้กำไร ไร่ละ 20,000-30,000 บาท ขึ้นอยู่กับราคาและคุณภาพของแตงโมที่ได้ด้วย

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 28 เมษายน 2557
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM