เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มะละกอ พันธุ์ขอนแก่น 80 ไม่ใช่มะละกอตัดแต่งพันธุกรรม
   
ปัญหา :
 
 
ปลูก มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 ไว้ 20 ต้น เพราะผลสุกเนื้อไม่เละ จึงปลูกไว้เพื่อขายผลสุก และต้นกล้าด้วย แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ฟังข่าวจากวิทยุ ทราบว่า ต่างประเทศกำลังเข้มงวดตรวจเข้ม พืชผัก และผลไม้จากประเทศไทย เพราะตรวจพบ มะละกอตัดแต่งพันธุกรรม และในข่าวระบุว่า สถานที่พบอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น แต่มั่นใจว่า พันธุ์ขอนแก่น 80 ไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะมีการเผยแพร่และมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ อีกประการหนึ่ง เคยอ่านพบในคำตอบของคุณหมอเกษตร ทองกวาว เกี่ยวกับมะละกอพันธุ์นี้  จึงขอรบกวน คุณหมอเกษตร กรุณาบอกรายละเอียดของมะละกอพันธุ์นี้อีกสักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้นำไปยืนยันกับลูกค้าต่อไป
วิธีแก้ไข :
 

ขอบ คุณที่ให้ความเชื่อมั่นกับหมอเกษตร ทองกวาว มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 ไม่ใช่มะละกอตัดแต่งพันธุกรรมหรือมะละกอจีเอ็ม อย่างแน่นอนครับ เลข 80 นั้น เป็นการเทอดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา และขอนแก่น เพื่อบอกว่าเป็นแหล่งปรับปรุงพันธุ์ จึงเป็นเรื่องทำเล่นไม่ได้ครับ

มะละกอ พันธุ์ขอนแก่น 80 เป็นลูกผสมระหว่างมะละกอพันธุ์ฟลอริด้า ทอเลอแลนด์ กับ พันธุ์แขกดำ มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ดอกเริ่มบาน เมื่ออายุ 74 วัน หลังปลูก ลำต้นสูง 132 เซนติเมตร เมื่ออายุครบ 7 เดือน ผลมีรูปทรงยาวรี ส่วนก้นป่องออกมามากกว่าส่วนหัว น้ำหนักเฉลี่ย ประมาณ 700 กรัม ต่อผล ผลสุกแก่ เนื้อสีแดงเข้ม รสหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ความหวานเฉลี่ยอยู่ที่ 13-14 องศาบริกซ์ ให้ผลผลิต 6,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้านทานโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดี จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยที่ใบ แต่ไม่ปรากฏให้เห็นที่ผล เปลือกหนา ผิวมัน ไม่บอบช้ำง่ายในขณะขนส่ง ด้วยมีขนาดผลเล็กพอเหมาะ วิธีรับประทาน ให้ผ่าซีก แล้วใช้ช้อนตักรับประทานได้ทันที

ดัง นั้น คุณชูศรี พบเห็นรูปร่างมะละกอดังกล่าว ให้มั่นใจได้เลยว่าเป็นพันธุ์ขอนแก่น 80 อย่างไรก็ตาม อย่าได้กลัวมะละกอจีเอ็ม มากเกินไป ผมเองรับประทานมาแล้วหลายครั้งหลายครา ปัจจุบันก็อยู่ได้เป็นปกติ เหมาะสมตามวัยครับ

 

 

ปลูกดาหลา แต่ไม่ยอมติดเมล็ด

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผม ปลูกดาหลาไว้หลายสายพันธุ์ และมีหลายสีหลายรูปทรง โดยนำมาปลูกไว้ที่จังหวัดปทุมธานี ทุกพันธุ์ออกดอกดี แต่กลับไม่ยอมติดเมล็ด แม้จะบำรุงอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม ทำให้การผสมเกสรที่ผมทำไว้ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ จึงขอเรียนถามคุณหมอเกษตรว่า เกิดจากสาเหตุใด และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ผมขอรบกวนถามปัญหาคุณหมอเกษตร เพียงเท่านี้ก่อนครับ

ด้วยความนับถืออย่างสูง

วิษณุ แก้วอภัย

เลขที่ 27/112 หมู่ที่ 13 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130

ตอบ คุณวิษณุ แก้วอภัย

ผม เคยนำดาหลามาปลูกที่กรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน แต่ไม่ยอมติดเมล็ด แม้ต้นจะสมบูรณ์ดีก็ตาม ผมจึงไปสอบถามนักวิชาการ ที่สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้รับคำตอบว่า สภาพแวดล้อมของกรุงเทพฯ และปริมณฑลไม่เหมาะกับต้นดาหลา เนื่องจากมีความชื้นในบรรยากาศมีไม่มากพอ อีกทั้งช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมไปจนถึงปลายเดือนเมษายน มีอากาศร้อน และแห้ง เป็นอุปสรรคในการผสมเกสรของดาหลา แต่นำไปปลูกในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป กลับติดเมล็ดได้ดี ดังนั้น แหล่งปรับปรุงพันธุ์ดาหลา ของกรมวิชาการเกษตรจึงอยู่ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง และศูนย์วิจัยยางยะลา จังหวัดยะลา ส่วนวิธีแก้ไขเพื่อให้ติดเมล็ดในแถบภาคกลางนั้น ยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุน คงต้องมีการค้นคว้าวิจัยต่อไปครับ

 

มะพร้าวกะทิลูกผสมชุมพร 84-2 ดีอย่างไร

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผม สนใจอยากปลูกมะพร้าวกะทิ ที่จังหวัดราชบุรี แต่ยังไม่ทราบว่าจะปลูกพันธุ์อะไรดี อีกทั้งผมจะต้องไปซื้อพันธุ์ที่ไหน ขอความกรุณาคุณหมอเกษตรให้คำแนะนำด้วย ผมจะติดตามข่าวในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านครับ

ด้วยความนับถือ

วิทยา บุญญารักษ์

เลขที่ 27/12 หมู่ที่ 15 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13260

ตอบ คุณวิทยา บุญญารักษ์

หน่วย งานที่ปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิในส่วนของราชการ อยู่ที่สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โดยใช้สถานที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

พันธุ์ มะพร้าวกะทิพันธุ์ใหม่ ผลงานของสถาบันวิจัยพืชสวน ที่เกษตรกรติดต่อขอซื้อพันธุ์จำนวนมากคือ พันธุ์ชุมพร 84-2 ลักษณะประจำพันธุ์ มีลำต้นตั้งตรง ทางใบแคบและยาว ขนาดใบย่อย กว้าง 5.9 เซนติเมตร ยาว 110 เซนติเมตร และความยาวของทางใบ 521 เซนติเมตร ก้านทางใบ ยาว 131 เซนติเมตร กว้าง 8.8 เซนติเมตร หนา 4.8 เซนติเมตร และวัดรอบโคนต้น ระดับเหนือพื้นดิน 70 เซนติเมตร ได้ 157 เซนติเมตร จั่นยาว 87 เซนติเมตร กาบหุ้มจั่นสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมน้ำตาลเมื่อใกล้สุกแก่ ระยะเวลาเริ่มออกจั่น เมื่อมีอายุ 31 เดือน หลังปลูกลงดิน ผลผลิตเฉลี่ยเมื่ออายุ 39 เดือน หลังปลูกลงดิน ผลผลิตเฉลี่ยเมื่ออายุ 39 เดือน อยู่ที่ 1,917 ผล ต่อไร่ เนื้อและน้ำมะพร้าวมีกลิ่นหอม ให้เนื้อมะพร้าว 55 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะเด่น คือจะให้ผลเป็นมะพร้าวกะทิทั้งต้น 25 เปอร์เซ็นต์ หมายถึง หากต้นมะพร้าวให้ผล 100 ผล จะเป็นมะพร้าวกะทิ 25 ผล

สำหรับแหล่งพันธุ์ ติดต่อสอบถามและสั่งจอง ที่สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ในวันและเวลาราชการ ขอกระซิบว่า คิวนี้ยาวครับ

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
หนองค้างพลู
อำเภอ / เขต :
หนองแขม
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10160
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 26 พ.ค.57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM