เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
กล้วยหอมทองในแปลงเกษตรผสมผสาน
   
ปัญหา :
 
 
ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาอบรมดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เมื่อก่อนหน้านี้ ดู ทุกอย่างที่มีในศูนย์ฯ ตั้งแต่การปลูกพืชในรูปแบบต่าง ๆ ไปจนถึงการเลี้ยงสัตว์ 

นางเกศนี ชุมปัญญา เกษตรกรบ้านหนองปลาดุก ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร หนึ่งในเกษตรกรที่ได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงานและอบรมหลักสูตรทำการเกษตรจาก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร ที่วันนี้พื้นที่เพาะปลูกได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อการทำ การเกษตรแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ระบบผสมผสาน

ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีคณะเกษตรกรจากหลายพื้นที่เดินทางเข้ามาศึกษา ดูงานอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้ให้การต้อนรับคณะเยาวชนจากสถาบันการศึกษาพื้นที่ภาคอีสาน ในโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ จัดโดยสำนักงาน กปร. กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ

นางเกศนีเล่าให้เยาวชนเหล่านี้ฟังว่า ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาอบรมดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เมื่อก่อนหน้านี้ ดู ทุกอย่างที่มีในศูนย์ฯ ตั้งแต่การปลูกพืชในรูปแบบต่าง ๆ ไปจนถึงการเลี้ยงสัตว์ เมื่อกลับมาก็พิจารณาพื้นที่ของตนเองว่าควรจะทำอะไรดีตามที่ได้ไปเรียนรู้มา ก็พบว่าพื้นที่นั้นเหมาะสมกับการปลูกข้าวควบคู่กับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่แบบ ผสมผสาน และเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อเอาไข่และเนื้อไว้กินภายในครอบครัว

จึงจัดแบ่งพื้นที่เป็นที่พักอาศัยส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ที่เหลือแบ่งเป็นแปลงปลูกพืชและทำนาโดยพืชเลือกปลูกกล้วยหอมทอง ส่วนนาเลือกปลูกข้าวเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ดี จำหน่ายแก่เกษตรกรที่ทำนา เพราะปัจจุบันเมล็ดพันธุ์ข้าวดี ที่ไม่มีการเจือปนของข้าวดีดข้าวเด้งจะมีน้อย ที่สำคัญจะได้พันธุ์ข้าวที่ตรงตามสายพันธุ์

รายได้หลักของครอบครัวมาจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กับการปลูกกล้วยหอม ทอง ซึ่งได้ความรู้มาจากศูนย์ฯ ตั้งแต่การปลูก การบำรุงรักษาและการตลาด อย่างครบวงจร โดยตอนปลูกเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ จะเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด สอนการทำปุ๋ยบำรุงต้นกล้วย การตลาดก็แนะนำวิธีการต่อรองราคากับห้างสรรพสินค้าและร้านค้าทั่วไป โดยยืนยันและให้ผู้ซื้อเดินทางมาดูถึงแปลงว่าเป็นกล้วยหอมทองที่ปลูกตามขั้น ตอนที่ถูกต้องแบบการเกษตรอินทรีย์ทุกประการ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

“การปลูกแบบเกษตรอินทรีย์นั้นจะเริ่มที่การเตรียมดิน จะทำการปรับดินให้มีความสม่ำเสมอกัน แล้วขุดหลุมปลูก ลึก 50 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร ใช้ปูนขาวโรยนำปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยหมักรองก้นหลุม จากนั้นนำดินปลูกลงหลุมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำหน่อกล้วยลงปลูก ประมาณ 1 เดือน ต้นกล้วยจะเจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งช่วงนี้จะตัดแต่งกอกล้วยพร้อมใส่ปุ๋ยสูตรเดิมรอบที่ 2” นางเกศนี กล่าว

จากนั้นปล่อยไว้ 4 เดือน ระหว่างนั้นมีการตัดหญ้าในแปลงปลูกและแต่งใบ ซึ่งช่วงนี้หน่อกล้วยจะขึ้นรอบต้นที่นำลงปลูก ก็ตัดหน่อออกให้หมด เพื่อไม่ให้ขึ้นมาแย่งอาหารต้นแม่ เมื่อครบ 5 เดือน กล้วยจะเริ่มตั้งท้องก็ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับน้ำหมักชีวภาพ ถึงเดือนที่ 6 กล้วยจะออกปลี แล้วตัดปลีหลังจากนั้น 15 วัน เพื่อให้ลูกกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่แล้วรอตัดเครือ กล้วยที่ตัดจะส่งขายห้างสรรพสินค้าในตัวเมืองสกลนคร อาทิตย์ละประมาณ 200 หวี หวีละประมาณ 2 กิโลกรัม 2 ขีดขึ้นไป ส่งในราคา 45 บาท ส่วนร้านสะดวกซื้อจะเข้ามารับซื้อถึงแปลงที่ราคากิโลกรัมละ 15 บาท ปลูกครั้งหนึ่ง 600 ต้นต่อแปลง ในปี 2556 ที่ผ่านมาขายได้ประมาณ 78,000 บาท นอกจากนี้ยังสามารถนำหน่อออกขายในราคาหน่อละ 20 บาท กล้วย 1 กอ จะสามารถตัดขายได้ประมาณ 5-14 หน่อ จะมีเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมารับซื้อถึงแปลงปลูก

“ชีวิตในปัจจุบันเป็นการทำงานตลอดทั้งปี ที่ต่างจากอดีตที่ทำนาเพียงอย่างเดียวปีหนึ่งเมื่อเสร็จสิ้นฤดูทำนาก็หยุด พัก พร้อมกับรายได้ที่ไม่ได้เข้ามา แต่เมื่อทำการเกษตรแบบผสมผสานก็มีงานให้ทำต่อเนื่อง เมื่อหมดฤดูทำนาก็ปลูกผัก ดูแลกล้วย เมื่อถึงฤดูทำนาอีกก็ทำนา ขณะที่กล้วยแปลงผักก็ยังคงมีอยู่และสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ก็มีรายได้ทั้งปี ไม่ขัดสนไม่อดอยากเหมือนเมื่อก่อน มีเงินเก็บเพียงพอส่งลูกเรียน” นางเกศนี กล่าว.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สกลนคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิสว์ วันจันทร์ที่ 23 มิ.ย.57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM