เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกเพกาในวงบ่อ
   
ปัญหา :
 
 

นางบังอร ไชยเสนา เกษตรกรบ้านน้อยจอมศรี ตำบลฮางโฮง อำเภอเมืองสกลนคร เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่พลิกผันชีวิตจากไม่มีกินสู่มีกินมีใช้เหลือเก็บเป็น ทุน สำรองแก่ครอบครัวในปัจจุบัน

เดิมเช่าที่ทำนา จำนวน 10 ไร่ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะต้นทุนสูง ขณะที่ข้าวขายไม่ได้ราคา ก็เลิกล้มการทำนาหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเด่ียว ก็เช่นเดิมผลผลิตไม่ดี ขณะที่ต้นทุนสูง ในที่สุดก็ต้องเป็นหนี้ 

หลังจากเข้าศึกษาดูงานและอบรมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ จ.สกลนคร ก็นำความรู้มาทำในพื้นที่  โดยทำการเกษตรแบบผสมผสานปลูกพืชแบบหลากหลายชนิดที่กินได้ และพอจะขายได้ ควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ เช่น กบ ปลา เป็ด ไก่ จนเริ่มมีรายได้ผ่านไป 5 ปี สามารถเก็บเงินซื้อที่เป็นของตนเองจำนวน 5 ไร่ 

แต่เนื่องจากสภาพดินไม่ดีจึงต้องปลูกพืชทุกชนิดในรูปแบบวงบ่อ ตามที่ได้ไปเรียนรู้มาจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร  และหนึ่งในจำนวนพืชที่ปลูกก็มีเพกาที่ปลูกได้และให้ผลผลิตดี โดยปลูกผสมผสานกับต้นไม้ชนิดอื่น จำนวน 50 กว่าต้น ปัจจุบันสามารถเก็บฝักได้ทุกวันส่งขายในตลาดเมืองสกลนคร

นางบังอรเล่าให้ฟังถึงวิธีการปลูกเพกาในวงบ่อว่า  จะใช้ดินผสมปุ๋ยคอกใส่ในวงบ่อชั้นที่ 1 ตามด้วยเศษฟางข้าวเศษหญ้าแห้ง ทับด้วยปุ๋ยคอกผสมขี้เถ้าแกลบ และทับบนอีกชั้นด้วยดินผสมปุ๋ยคอก จากนั้นขุดเป็นหลุมในวงบ่อลึก 50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกต่อหลุมต่อต้น โดยคลุกเคล้ากับดินผสมด้วยเศษฟางหรือเศษใบไม้ด้วยก็ได้จะทำให้ต้นเพกาโตเร็ว ขึ้น จากนั้นนำต้นพันธุ์ที่ผ่านการเพาะแล้ว อายุประมาณ 2 เดือน ลงหลุมปลูก กลบดิน รดน้ำ แต่อย่าให้แฉะจนเกินไป เพราะต้นเพกาไม่ค่อยชอบน้ำ หลังปลูก 15 วัน ใส่ปุ๋ยคอกโดยโรยรอบทรงพุ่ม ครบ 30 วัน ใส่อีกครั้งในอัตราเท่าเดิมดูแลรดน้ำตามปกติ ถ้าปลูกแบบต้นที่เพาะจากกิ่งชำ ประมาณ 4-5 เดือน จะเริ่มออกดอก แต่ถ้าปลูกแบบต้นที่เพาะด้วยเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 1 ปี จะเริ่มออกดอก หลังจากที่เพกาออกดอกประมาณ 20-30 วัน จะเริ่มติดฝัก ระยะเวลา 1 ปี สามารถเก็บ      ฝักได้ประมาณ 2-3 รุ่น แล้วแต่ความสมบูรณ์ ของต้น

“ทุกวันนี้ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายประจำวันของลูกในการไปโรงเรียนก็ได้จากเพกาทั้งหมด โดยในช่วงเย็นหลังจากเลิกเรียน ลูกจะเก็บฝักเพกาไปขายให้กับแม่ค้าในตลาดที่เมืองสกลนคร ทุกวัน ก็ได้เงินมาทุกวันลูกจึงไม่อดมีกินมีเงินไปโรงเรียนและมีเงินเก็บเป็นค่า เล่าเรียนอย่างไม่ขัดสน” นางบังอร กล่าว

สำหรับเพกานั้นเป็นไม้ต้น สูง 3-12 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝักรูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว เพกายอดอ่อนและฝักอ่อนมีรสขม นิยมเผาหรือลวกสุก จะทำให้มีความขมลดลง เผาแล้วขูดเอาผิวออกให้หมด กินกับน้ำพริกต่าง ๆ เมล็ดเพกาเป็นส่วนประกอบในน้ำจับเลี้ยงที่ชาวจีนนิยมดื่ม ผลเพกามีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา เหมาะกับคนที่ขาดวิตามินเอ และมีเส้นใยอาหารมาก ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ทั้งเส้นใยยังช่วยลดการดูดซึมไขมันและน้ำตาลเข้าสู่กระแสโลหิตด้วย เมล็ดใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ โดยต้มเมล็ดหนึ่งกำมือกับน้ำ 300 ซีซี จนเดือดให้เนื้อยาออกมา จากนั้นนำไปดื่มวันละ 3 ครั้ง ต่อเนื่องประมาณ 5-7 วัน ฝักอ่อน ช่วยขับลมในท้อง ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย เปลือกและต้น แก้ท้องร่วง ร้อนใน สมานแผลลดการอักเสบ ลดอาการแพ้ บำรุงเลือด ขับเสมหะด้วย และยังเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพรแก้เบาหวาน แก้ริดสีดวงทวารอีกด้วย

จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเพกาจึงเป็นที่นิยมของผู้คนในการบริโภคขณะนี้ อันเป็นผลให้สามารถจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สกลนคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM