เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
โรครากเน่าโคนเน่า ของ ทุเรียน ป้องกันได้
   
ปัญหา :
 
 
ได้อ่านหนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 พบว่ามีคนปลูกทุเรียนหมอนทองกว่า 200 ต้น ที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ต่อมาเมื่อทุเรียนมีอายุ 7 ปี เกิดเป็นโรครากเน่าโคนเน่า ทุเรียนเริ่มตาย จึงตัดสินใจโค่นทุเรียนทั้งหมดลง แล้วปลูกพืชชนิดอื่นแทน น่าเสียดายมาก อยากทราบสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีป้องกัน จึงเขียน จ.ม. มาถามปัญหากับ หมอเกษตร เพราะกังวลใจอยู่มาก เนื่องจากปลูกทุเรียนพันธุ์ก้านยาว นนทบุรี และหมอนทอง รวม 10 ต้น นำไปปลูกไว้ที่ ตำบลหมูสี  อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปลูกไว้ประมาณ 2 ปีมาแล้ว พื้นที่ปลูก
นํ้าไม่ท่วม เดิมเคยปลูกน้อยหน่า ซึ่งก็ได้ผลดีมาก ผมจะรออ่านคำตอบจาก  ในหนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน ขอขอบพระคุณครับ
วิธีแก้ไข :
 

ก่อนอื่นผมขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรครากเน่า โคนเน่าของทุเรียน เพื่อเข้าใจเป็นเบื้องต้น สาเหตุจากเชื้อราชนิดหนึ่งมีความสามารถเข้าทำลายได้ในทุกส่วนของต้นทุเรียนการเกิดโรคที่โคนต้น ระยะแรก มีอาการคล้ายคราบนํ้าปรากฏที่เปลือกต้นทุเรียน เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนํ้าออก จะพบเนื้อเยื่อที่เปลือกด้านในเป็น
แผลสีนํ้าตาล ต่อมาแผลขยายไปรอบต้น มีผลทำให้ใบทุเรียนร่วงหล่นทั้งต้นและจะยืนต้นตายในที่สุด การเกิดโรคที่ราก ผลปรากฏให้เห็นชัดที่ใบ คือใบสลดหมองไม่เป็นมัน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดแล้วหลุดร่วง ดูที่รากฝอยและรากแขนง พบมีจุดเล็กๆ สีนํ้าตาลดำที่ปลายราก ต่อมาจะเน่า และอาการที่ผล มีจุดเล็กๆ สีนํ้าตาลดำที่ปลายหนาม หรือซอกหนาม ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น มองเห็นชัดเจนขณะอยู่บนต้นยังไม่ร่วงหล่นลงมา ช่วงการระบาดรุนแรงเกิดขึ้นในฤดูฝน มีฝนตกชุกและมีความชื้นในบรรยากาศ
สูง อาการของโรคปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นหลังหมดช่วงฤดูฝนไปแล้ว วิธี
ป้องกันและกำจัดโรค ที่บริเวณโคนต้น ให้ขูดหรือถากผิวเปลือกออกเผาทำลาย แล้วทาแผลด้วยปูนแดง หรือเมทาแลกซิล 15 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 50-60 กรัม ต่อนํ้า 1 ลิตร โรคเกิดที่ใบ ให้ฉีดพ่นด้วยเมทาแลกซิล 25  เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ให้ทั่วทรงพุ่ม และโรคเกิดที่กิ่ง ให้ตัดกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้ง หากกิ่งที่ไม่สามารถตัดทิ้งได้ทั้งหมด ให้เฉือนเปลือกออกเผาทำลายเช่นเดียวกัน แล้วทาแผลด้วยคอปเปอร์
ออกซี่คลอไรด์ 85 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 45-60 กรัม ละลายในนํ้า 1  ปี๊บ ที่บริเวณมีการระบาดของโรค ประการสำคัญ ระวังอย่าให้นํ้าท่วมขังที่แปลงปลูกในช่วงที่มีฝนตก และไม่ควรใส่ปุ๋ยมากเกินความต้องการของต้นทุเรียนทั้งนี้ทั้งนั้น คุณไม่ควรวิตกกังวลในปัญหาดังกล่าว เนื่องจาก ตำบลหมูสี เป็นเขตอับฝน การเกิดโรคดังกล่าวจึงมีโอกาสน้อยกว่าทุเรียนที่ปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออกครับ

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ปูนซิเมนต์ไทย
ตำบล / แขวง :
ลาดยาว
อำเภอ / เขต :
จตุจักร
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10900
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 14 กรกฏาคม 2557
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM