เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกมะนาวในกระถางมีกินเพียงพอในครอบครัว
   
ปัญหา :
 
 
หลายปีที่ผ่านมามะนาวจะมีราคาค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อ เนื่อง โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนด้วยเป็นช่วงที่มะนาวติดผลน้อย ขณะที่ตลาดยังมีความต้องการเท่าเดิม 

หลายปีที่ผ่านมามะนาวจะมีราคาค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มที่จะ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนด้วยเป็นช่วงที่มะนาวติดผลน้อย ขณะที่ตลาดยังมีความต้องการเท่าเดิม ที่สำคัญคนไทยกับมะนาวนั้นนับเป็นสิ่งที่คู่กันในเรื่องของรสชาติ 

หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกมะนาวกันมาก ขึ้นและในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการเพาะปลูกเพื่อบังคับการออกลูกนอกฤดูกาล เช่น การปลูกในวงบ่อซีเมนต์ เป็นต้น 

สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีพื้นที่น้อยแต่สนใจที่จะปลูกมะนาวเพื่อเก็บผล ไว้บริโภคเองภายในครัวเรือนประเภทตู้กับข้าวข้างบ้าน เช่นบริเวณระเบียงบ้าน หรือข้างบ้านแบบในเมืองหลวง และสามารถบังคับให้ออกผลตามที่ต้องการได้ วันนี้มีแนวทางที่จะทำได้แล้ว โดยที่ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ได้ศึกษาแนวทางการเพาะปลูกในรูปแบบดังกล่าวและประสบความสำเร็จสามารถขยายผล สู่การปลูกของผู้คนโดยทั่วไปได้

วันก่อนเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ ได้อธิบายถึงวิธีการในการปลูกมะนาวในภาชนะทั่วไปหรือกระถางให้กับคณะเยาวชน ในโครงการค่ายอาสา สืบสานพระราชดำริ ที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้ร่วมกับศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์จัดขึ้น  โดยการเปิดโอกาสให้เยาวชนจากสถาบันการศึกษาพื้นที่ภาคอีสานมาศึกษาเรียนรู้ งานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริภายในศูนย์ฯ เพื่อนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ในสถาบันการศึกษาและการประกอบอาชีพของตนเองใน อนาคต ว่าการปลูกมะนาวในกระถางนั้นทำกันอย่างไร ขั้นต้นเจ้าหน้าที่แนะนำว่าควรใช้กระถางที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 18-20 นิ้ว ขึ้นไป

เมื่อได้กระถางแล้วก็นำมาใส่ดินปลูกที่ผสมด้วยดินธรรมดากับปุ๋ยคอก ขี้เถ้า แกลบในอัตราส่วนเท่ากัน คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำต้นกล้าที่เพาะมาหรือกิ่งตอนก็ได้ นำลงปลูก ปิดทับด้วยดินปลูกคลุมด้วยฟางข้าวหรือเศษหญ้าแห้ง รดน้ำทันทีให้ชุ่ม ส่วนพันธุ์แนะนำในการปลูกแบบนี้เจ้าหน้าที่บอกว่าควรเป็นพันธุ์ตาอิติ หรือแป้นพิจิตรเพราะทนต่อโรคแคงเกอร์ศัตรูร้ายของมะนาว หากชอบมะนาวที่ไม่มีเมล็ดก็เป็นพันธุ์ตาอิติ หากต้องการผิวเปลือกบางให้กลิ่นมะนาวและน้ำดีก็ควรเป็นแป้นพิจิตร 

ส่วนแมลงศัตรูพืชอาจจะมีหนอนชอนใบหรือหนอนที่กินใบอ่อนของมะนาวเข้ามา ทำลายได้ ก็ไม่ต้องตกใจสามารถป้องกันและแก้ไขได้แบบภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย โดยการใช้ยาฉุน ที่คนชนบทนำมามวลใบตองแห้งหรือใบจากสูบเป็นบุรี่จำนวน 1 จับ แช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง แล้วกรองเอาน้ำที่เป็นสีชามาผสมกับเหล้าขาว 35 ดีกรี จำนวน 1 เป๊ก กวนให้เข้ากันใส่ป๊อกเกอร์ ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งใบและกิ่ง โดยฉีดวันเว้นวัน จนครบ 7 วัน จึงหยุด กลิ่นยาฉุนจะรบกวนแมลงไม่อยากเข้าใกล้ ส่วนเหล้าขาวจะช่วยให้สารจากยาฉุนจับเกาะใบและเร่งปฏิกิริยาในยาฉุนให้ออก ฤทธิ์ดียิ่งขึ้น สูตรนี้ไม่อันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้  แต่หากนำมาดื่มตรงนี้อันตราย

จากนั้นนำกระถางที่ปลูกมะนาวเรียบร้อยแล้วไปวางในที่ที่สามารถรับแสงแดด ได้อย่างน้อยวันละ 4-6 ชั่วโมง รดน้ำเช้า-เย็นให้ชุ่ม แต่ในช่วงที่มีเป้าหมายเพื่อการบังคับดอกให้งดน้ำ ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อการบำรุงต้นเพียงอย่างเดียว ต้นละประมาณ 1 กำมือ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพราะพื้นที่หากินของรากมีน้อยด้วยอยู่ในกระถาง  ประมาณ  7-8 เดือนมะนาวจะเริ่มให้ผลผลิต แต่ถ้า 2 ปีขึ้นไปจะให้ลูกได้อย่างเต็มที่ 

ส่วนการเจริญเติบโตด้วยการปลูกในกระถางจะยืนยาวได้ประมาณ 5 ปีหลังจากนั้นรากมะนาวจะออกมาเต็มพื้นที่ปลูกเบียดเสียดกันในภาชนะทำให้ อาหารที่ใส่ลงไปไม่เพียงพอแก่ความต้องการ มะนาวก็จะเริ่มเฉาและไม่ให้ลูก แม้จะใส่ปุ๋ยคอกอย่างต่อเนื่องและจำนวนมากก็ตาม แก้ได้ทางเดียวคือรื้อออกแล้วปลูกต้นใหม่ดินใหม่ในภาชนะเดิม.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 28 สิงหาคม 2557
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM