เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ค้นพบอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ พิชิตแคงเกอร์ - ให้มะนาวผลดก
   
ปัญหา :
 
 

หลังจากวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เพื่อคิดค้นและวิจัยหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถเรียนรู้วิธีการปลูก มะนาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่สุดสามารถคิดค้นอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ได้สำเร็จ เมื่อนำมาฉีดพ่นต้นมะนาวทำให้ผลดกถึง 20% ผลมะนาวกลมใหญ่ ผิวเขียวมันเงางาม ผลการทดลองไม่พบรอยจุดนูนสีน้ำตาลตามผล และไม่ถูกทำร้ายจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคแคงเกอร์ในมะนาว แถมยังประหยัดต้นทุนถึง 75% อีกด้วย

                         ศ.ดร.จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บอกว่า จากการที่ราคาผลมะนาวในท้องตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้งราคาที่ผลละ 7-10 บาท เนื่องจากในช่วงหน้าแล้งอากาศร้อน แห้งแล้ง เกษตรกรไม่สามารถปลูกมะนาวและได้ผลผลิตตามความต้องการของตลาด แต่พอเข้าหน้าฝน ต้นมะนาวก็จะถูกรบกวนจากโรคแคงเกอร์ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นทุนการผลิตสูง ทางวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีฯ จึงได้ร่วมกับศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เพื่อคิดค้นและวิจัยแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถเรียนรู้วิธีการปลูก มะนาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดสามารถคิดค้นอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ใช้กับต้นมะนาวได้สำเร็จ จากนั้นนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในการฉีดพ่นที่ต้น มะนาวในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ระยะเวลาในการฉีดพ่นทุก 10-15 วันต่อครั้ง พบว่า เมื่อใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์สามารถทำให้ผลมะนาวที่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้น ผลกลมสวย ผิวเขียวมันเงางาม ไม่พบรอยจุดนูนสีน้ำตาลตามผล และไม่ถูกทำร้ายจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคแคงเกอร์ในมะนาวอีกต่อ ไป รวมถึงผลผลิตที่ได้มีปริมาณมากกว่าที่ไม่ได้ใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ถึง 20%

                         นอกจากนี้ยังทำให้ต้นทุนการปลูกมะนาวของเกษตรกรลดลงอีกด้วย เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีหลายชนิดในการป้องกันกำจัดโรคและแมลง ศัตรูพืช สารเคมีที่ชาวบ้านเรียกกันว่าสารเขียว หรือสารประกอบทองแดง เป็นสารเคมีที่นิยมกันมากในสวนมะนาว แต่สารเคมีประเภทนี้เป็นสารเคมีที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง หลังจากเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ฉีดพ่นแทนก็ไม่จำเป็นที่ จะต้องใช้สารเคมีเหล่านี้อีกต่อไป ทำให้ลดต้นทุนลงได้ และยังได้ผลมะนาวที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย

                         ด้าน ธนภร ธนภัทรอภิเดชา เกษตรกรผู้ปลูกสวนมะนาวใน อ.ด่านช้าง บอกว่า ปลูกมะนาวมานานแล้ว แต่หลังจากปี 2554 ประสบปัญหาหลายด้าน ทั้งโรคระบาด ทำให้ต้นทุนการปลูกสูง พอศูนย์วิจัยเกษตรฯด่านช้าง แจ้งมายังเกษตรกรว่า มีโครงการให้เกษตรกรได้มาเรียนรู้วิธีการปลูกมะนาวอย่างมีประสิทธิภาพ จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทันที และได้นำแปลงมะนาวจำนวนกว่า 60 ไร่ เข้ารับการทดลองปลูก โดยใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ฉีดพ่นสารเคมีแบบดั้งเดิมที่เคยใช้อยู่ ปรากฏว่าหลังจากเริ่มทดลองเพียง 3 เดือน เริ่มเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ผลผลิตที่ได้ทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ อีกทั้งลดต้นทุนด้วย จากเดิมมีต้นทุนในการดูแลต่อไร่ 100 บาท หลังจากมีการใช้อนุภาคนาโนฯ ทำให้ต้นทุนที่ใช้ลดลง เหลือเพียงไร่ละ 25 บาทเท่านั้น ส่งผลให้สวนของเขามีรายได้ตกเดือน 1 แสนบาท

                         ก็นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เป็นความหวังของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวในอนาคตได้ หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดที่วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบังกรุงเทพฯ หรือ โทร.0-2329-8000 ต่อ 3034 หรือศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรด่านช้าง โทร.0-2329-8000 ต่อ 3076

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันอังคารที่ 7 พ.ค.57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM