เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ชาวบ้านหนองสิม มหาสารคาม ปลูกขมิ้นชันสร้างรายได้เสริม
   
ปัญหา :
 
 

ขมิ้น นอกจากจะช่วยปรุงแต่งรสชาติและทำให้นํ้าแกงมีสีสวยน่ารับประทานแล้ว ที่สำคัญยังมี

สรรพคุณเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรคได้มากมายชนิดครอบจักรวาลเลยเชียว เพราะจากข้อมูล

งานวิจัยพบว่า ขมิ้นชันยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระคู

เคอร์มินที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งตับอีกทั้งยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง หรือใครที่มีแผลอักเสบ ขมิ้นชันก็มีสรรพคุณช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เพราะมีฤทธิ์ไปลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง และหากรับประทานขมิ้นชันทุกวัน ตามเวลาจะช่วยให้ความจำดีขึ้น ไม่อ่อนเพลียยามตื่นนอน และช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย เหตุนี้เองขมิ้นจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากมาย

ในวงการความสวยความงาม ยังสามารถนำผลิตภัณฑ์จากผงขมิ้นมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญใน

การผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมความงามอื่นๆ เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ และครีมขัดผิว และ

เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ฉะนั้น ขมิ้นสดที่มี

คุณภาพจึงมีความต้องการสูง

ด้วยความที่ขมิ้นเป็นพืชที่ปลูกง่าย มีคุณสมบัติชอบอากาศค่อนข้างร้อนชื้น ชอบดินร่วนปนทราย

ระบายนํ้าดี ไม่ชอบดินเหนียวและดินลูกรัง ต้องการความชุ่มชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในที่กลางแจ้ง

เติบโตได้ดีในที่ดอน เป็นพืชปลูกง่ายสามารถปลูกขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย ปัญหาของโรคแมลงรบกวนน้อย อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 8-9 เดือน ทำให้เป็นที่สนใจของเกษตรกรในการปลูกขมิ้นชันเป็นรายได้เสริมกันทั่วทุกภาคของประเทศ และส่วนใหญ่จะปลูกขมิ้นชันเป็นพืชสวนครัวหลังบ้านในปริมาณไม่มากนัก

คุณอรัญญา พันธุระ เป็นชาวบ้านอยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 10 บ้านพงสว่าง ตำบลหนองสิม อำเภอ

บรบือ จังหวัดมหาสารคาม จากอดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และปัจจุบันเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วน

ตำบลหนองสิม เพิ่งปลูกขมิ้นชันบนเนื้อที่ 1 ไร่ ได้ปีกว่า เพราะเป็นพืชสมุนไพรที่ทางเกษตรอำเภอ

กำลังส่งเสริม ในโครงการ 1 ไร่ 1 หมู่บ้าน

คุณอรัญญาบอกว่า ขมิ้นชันเป็นพืชที่ปลูกง่ายมาก พอเป็นหัวแล้วปล่อยได้จนถึงเวลาเก็บ ปลูกได้ทุกพื้นที่ เพียงแต่อย่าให้ดินชุ่มนํ้ามาก อาจทำให้หัวเน่าได้ง่าย ทั้งนี้ ขมิ้นชันเป็นพืชตระกูลหัวและชอบดินแห้งแบบดินทรายคุณอรัญญาอธิบายวิธีการปลูกขมิ้นชันแบบคร่าวๆ ว่า เริ่มต้นจากการเตรียมดินด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยคอกเพียงเล็กน้อย จะไม่ใช้สารเคมีเลย จะต้องพรวนดินทิ้งไว้ ประมาณ 2 ครั้ง แล้วให้ยกแปลงปลูกขึ้นเล็กน้อย จากนั้นให้หักขมิ้นชันขนาดยาวประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ ให้เลือกขมิ้นที่มีขนาดปานกลาง ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป แล้วนำขมิ้นไปใส่ในหลุมฝังลงไปไม่ลึก ระยะระหว่างหลุมประมาณคืบเศษ แล้วจึงรดนํ้าตาม ขมิ้นชันไม่ชอบนํ้ามาก จึงไม่จำเป็นต้องรดนํ้าบ่อย สามารถปลูกแบบปล่อยโดยไม่จำเป็นต้องใส่ใจมาก

ในชุมชนบ้านพงสว่าง มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกขมิ้นชันอยู่จำนวนทั้งสิ้น 14 ราย และมักปลูกกันในช่วงเดือนมิถุนายน จากนั้นนับไปอีกประมาณ 9 เดือน จึงสามารถเก็บได้เพราะเป็นช่วงที่พอเหมาะเมื่อแตกใบแล้วผ่านไประยะหนึ่งใบจะแห้ง แต่จะมีหัวขมิ้นอยู่ใต้ดิน ยังไม่ต้องทำอะไร เพียงแต่รอให้ถึงเวลาเก็บเท่านั้น และคาดว่าน่าจะเก็บได้ประมาณเดือนมีนาคม 2557

จากนั้นจะถอนต้นออกพร้อมกัน โดยใช้เสียมค่อยๆ แซะหัวขึ้นมา ใน 1 ต้น ได้หัวขมิ้นที่มีนํ้าหนัก

ประมาณ 2 ขีด และมีจำนวน 8-10 แง่ง หลังจากเก็บทั้งหมดแล้วให้นำมาผึ่งลมในร่มก่อน เพื่อรอให้

คนมาซื้อ ราคารับซื้อหัวสด กิโลกรัมละ 20 บาท

หลังจากที่รื้อแปลงเก่าแล้ว ถ้าต้องการปลูกซํ้าแปลงเดิม ควรตรวจสอบว่าดินยังคงดีและมีคุณภาพก็

สามารถปลูกต่อได้ แต่ถ้าดูแล้วไม่ดีก็ไม่ควรปลูกซํ้าแปลงเดิม แล้วควรย้ายไปปลูกแปลงใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้มีผลผลิตในรุ่นต่อไปดีมีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ในทางวิชาการแนะว่าไม่ควรปลูกซํ้าแปลงเดิมเพราะเป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดโรคสำหรับรุ่นต่อไปเกษตรกรรายนี้แนะว่าควรปลูกช่วงต้นฝนน่าจะเหมาะมาก เพราะเมื่อช่วงแตกหัว เป็นระยะเดียวกับหมดฝนพอดี ทำให้ไม่ต้องพะวงเรื่องการให้นํ้า แล้วยังช่วยลดต้นทุนได้ ส่วนปัญหาโรค/แมลงที่ผ่านมายังไม่พบ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการทำให้ดินมีความชื้นสูงเพราะจะทำให้เกิดโรคเชื้อรา สร้างความเสียหาย

คุณอรัญญาบอกถึงการลงทุนปลูกขมิ้นชัน คงมีเพียงแค่ซื้อต้นพันธุ์เท่านั้น แต่ในรุ่นต่อไปอาจเก็บต้นพันธุ์ไว้เพื่อปลูกในรุ่นต่อไป อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้นของการส่งเสริมยังไม่ต้องซื้อ เพราะทางเกษตรจังหวัด, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสาธารณสุขมหาสารคามนำเข้ามาส่งเสริม ซึ่งจัดเป็นโครงการตลาดกลางวัตถุดิบสมุนไพรคุณสุศฤงคาร แก้วทาสี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอบรบือจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะเป็นอีกหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมชาวบ้านปลูกขมิ้นชันในครั้งนี้กล่าวว่า แนวคิดของสำนักงานเกษตรอำเภอคือ พยายามส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชที่มีอายุสั้นและยาวสลับกันหรือควบคู่กัน ไม่ควรปลูกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรอเก็บผลผลิตอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะว่าเกษตรกรจะได้มีรายได้เข้ามาตลอดอย่างต่อเนื่อง

อย่างกรณีการส่งเสริมปลูกขมิ้นชันในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งอาจเป็นเรื่องใหม่ และคาดว่ารุ่นนี้ซึ่งยังเป็นมือใหม่อาจได้ผลผลิตรวมไม่เกิน 130 ตัน ของจำนวนชาวบ้านที่ปลูกทั้งหมด 14 ราย เพราะเป็นโครงการที่มารวดเร็วจนชาวบ้านยังไม่ทันตั้งหลัก ยังไม่ได้เรียนรู้หรืออบรมกันอย่างเต็มที่ แต่คาดว่าในรุ่นต่อไปนํ้าหนักคงต้องเพิ่มขึ้น เพราะทุกรายต่างเข้าใจถึงวิธีการปลูก การดูแลกันอย่างดีแล้ว มีการเตรียมใส่ปุ๋ยคอกล่วงหน้า ก็คาดว่าน่าจะดีขึ้นนักวิชาการกล่าวนักวิชาการส่งเสริมเกษตรเผยว่า เรื่องการตลาดคงไม่ต้องห่วง เพราะเป็นการทำข้อตกลงกับพันธมิตรหลายหน่วยงานว่ายินดีรับซื้อทั้งหมดในระยะเวลาที่มีการตกลงกัน แต่ทั้งนี้เกรงว่าของจะไม่พอส่งเข้ามากกว่า พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าการปลูกขมิ้นชันตามโครงการจะต้องปลอดสารเคมีอย่างเด็ดขาดเพราะเงื่อนไขสำคัญมากที่สุดคือห้ามใช้สารเคมีเด็ดขาด ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการสุ่มตรวจหาสารเคมีทุกครั้งที่ส่ง ดังนั้น หากรายใดมีการใช้สารเคมีอาจถูกปฏิเสธการรับซื้อทันที

คุณอรัญญากล่าวฝากว่า สำหรับเกษตรกรในพื้นที่หากใครสนใจจะปลูกขมิ้นชันเป็นรายได้เสริมยัง

ยินดีต้อนรับเข้าร่วมกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ก่อนจะตัดสินใจปลูกควรมองหาตลาดรับซื้อไว้ก่อน อีกทั้งควรเป็นตลาดที่มีความแน่นอนและไม่ไกลจากแหล่งปลูกมากสนใจสอบถามรายละเอียดการปลูกขมิ้นชันกับกลุ่มของ คุณอรัญญา พันธุระ โทรศัพท์(089) 862-7196__

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
มหาสารคาม
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 22 ต.ค.57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM