เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการปลูกพริกเชิงพาณิชย์
   
ปัญหา :
 
 

ปัจจัยสำคัญก่อนตัดสินใจลงทุนปลูกพริก จะต้องวางแผนช่วงเวลาที่จะผลิตพริก ให้ผลผลิตออกมาตามความต้องการของตลาดซึ่งถือเป็นหัวใจที่มีความสำคัญ หรืออาจจะกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า ใช้หลักการ   การตลาดนำหน้าการผลิต  ประการต่อมาเกษตรกรจะต้องคัดเลือกพันธุ์พริกที่จะปลูก ที่ตลาดต้องการ  การคัดเลือกพื้นที่ปลูก ถ้าเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมหรือทำเลที่ดี โอกาส

ประสบความสำเร็จมีไปแล้วครึ่งหนึ่งในเรื่องของสภาพพื้นที่ปลูกพริกนั้น จะเน้นในเรื่องของการระบายนํ้าที่ดีเป็นหลัก ประการสุดท้ายคือ เรื่องเงินทุนในการปลูกพริกแต่ละรุ่น เกษตรกรจะต้องมี

แหล่งเงินทุนสำรองให้ใช้ในการซื้อปัจจัยการผลิตต่างๆ ซึ่งในแต่ละรุ่นของการ ปลูกจะใช้เวลาเฉลี่ย อย่างน้อย 90-120 วัน 

การเตรียมพื้นที่ปลูกพริก

สำหรับเกษตรกรที่เริ่มต้นปลูกพริกในที่ดินใหม่ จะต้องเก็บตัวอย่างดินไปตรวจ วิเคราะห์ อย่างน้อยที่สุดควรตรวจค่าความเป็น กรด-ด่าง ของดิน ดินที่เหมาะ ต่อการปลูกพริก ควรมีค่า pH = 6.0-6.8

ถ้าสภาพดินเป็นกรด จะต้องมีการปรับสภาพของดินโดยใช้โดโลไมท์ หรือปูน ขาว ในการใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ในแต่ละครั้ง ไม่ควรเกิน 300 กิโลกรัม ต่อไร่ ในการเตรียมพื้นที่ก่อนที่จะไถดิน ให้ใส่ปุ๋ยคอก อย่างน้อย ไร่ละ 1,000 กิโลกรัม หรือ 1 ตัน เมื่อไถดินเสร็จ ให้ตากดินทิ้งไว้นาน 3-7 วัน หลังจากตากดินเสร็จ ก็จะเป็นขั้นตอนของการยกแปลงปลูก โดยแปลงปลูกควรจะสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ความยาวของแปลงขึ้นกับสภาพพื้นที่ แต่ความยาวของแปลงไม่ควรเกิน 50 เมตร

ในการขึ้นแปลงจะใช้รถไถติดผาล 7 ขึ้นแปลงไป-กลับ 4 รอบ เมื่อขึ้นรอบที่ 5  ให้ใช้เกรดรถไถปรับหลังแปลงให้เรียบเป็นแปลงพริก (ไม่ต้องเสียเวลาใช้แรงงานคน)

จากนั้นอาจจะปูพลาสติกและวางสายนํ้าหยด หรือจัดระบบการให้นํ้าตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

การเพาะเมล็ดพริก

เป็นการเริ่มต้นที่มีความสำคัญสภาพความเป็นจริงในการเพาะเมล็ดพริกมีอยู่หลายวิธี แต่ขั้นตอนสำคัญลำดับแรกที่เป็นคำแนะนำที่สำคัญของทางราชการก็คือ จะต้องนำเมล็ดพันธุ์พริกมาแช่ในนํ้าอุ่น   วิธีการทำนํ้าอุ่น ใช้นํ้าร้อนเทลงไปในภาชนะก่อน 1 ส่วน และเทนํ้าเย็นลงไปอีก1 ส่วน (วิธีการทดสอบอุณหภูมิของนํ้า ใช้มือจุ่มลงไป ถ้ามือของเราพอที่จะทนได้ เป็นอันว่านํ้าอุ่นของเราใช้ได้) แช่เมล็ดพริกในนํ้าอุ่นนาน 30 นาที แล้วเอาเมล็ดพริกมามัดไว้ในผ้าขาวบาง บ่มเมล็ดพันธุ์พริกไว้ 1 คืน เพื่อนำไปเพาะต่อไปในการเพาะเมล็ดพริกของไร่ช้างขาว จะต้องเพาะในปริมาณมาก เนื่องจากเนื้อที่ปลูก 200 ไร่ จะต้องใช้ต้นกล้าพริกมากถึง 640,000 ต้น ต้องแบ่งการเพาะเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 320,000 ต้นการเพาะเมล็ดพริกที่เกษตรกรไทยนิยมปฏิบัติกัน จะแบ่งออกได้ 3 วิธี คือ

1. หยอดเมล็ดลงในถาดเพาะโดยตรง ซึ่งจัดเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกที่สุด

2. หว่านในตะกร้าพลาสติกที่ใช้ทรายเป็นวัสดุปลูก แนะนำให้ใช้ทรายขี้เป็ดชนิดหยาบเป็นวัสดุเพาะ ขั้นตอนสำคัญจะต้องนำทรายไปต้มเพื่อฆ่าเชื้อโรคเสียก่อนรอให้ทรายเย็นลงแล้วนำมาใส่ในตะกร้าพลาสติก (อย่าลืมรองก้นตะกร้าด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์)หลังจากหว่านเมล็ดพริกลงตะกร้าแล้ว ให้กลบด้วยปุ๋ยหมักอินทรีย์หรือขุยมะพร้าวที่ร่อนเอากากออกแล้ว รดนํ้าและพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันโรคโคนเน่าการรดนํ้า อย่าให้แฉะจนเกินไป เพราะจะทำให้เมล็ดพริกเน่าได้

สำหรับการเพาะเมล็ดพริกในฤดูร้อน หลังจากเพาะไปได้ 7-10 วัน ย้ายต้นกล้าลงถาดหลุม แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 วัน ถึงจะย้ายต้นกล้าลงถาดหลุมได้ เพื่อย้ายลงปลูกในแปลงต่อไป

3. ใช้แปลงเพาะ เป็นวิธีการที่เกษตรกรไทยนิยมมากที่สุด เนื่องจากประหยัดต้นทุนการผลิต ขนาดของแปลงเพาะมีความกว้าง 2 เมตร ความยาว 5-10 เมตรเริ่มต้นจากการขุดพลิกดินและตากดินไว้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากนั้น ย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง ใส่ปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมักอินทรีย์ อัตรา 25  กิโลกรัม ต่อแปลง คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันจนร่วนซุย เกลี่ยดินให้เรียบ นำเมล็ดพริกมาเพาะ โดยใช้อัตราพริก นํ้าหนัก 50 กรัม ต่อพื้นที่ปลูกพริก 1 ไร่  จะต้องโรยเมล็ดให้ลึก ประมาณ 0.5 เซนติเมตร เป็นแถวตามความกว้างของแปลง แต่ละแถวห่างกัน ประมาณ 10 เซนติเมตร เสร็จแล้วให้กลบดินบางๆ ให้ เสมอผิวดินเดิม แล้วใช้ฟางข้าวคลุมแปลงเพาะบางๆ รดนํ้าที่ผสมสารป้องกันและกำจัดเชื้อรา เมื่อเห็นต้นกล้างอกขึ้นมาเหนือพื้นดิน ค่อยๆ ดึงฟางออกให้บางลง เพื่อต้นกล้า จะได้เจริญเติบโตได้ดี  ต้นกล้ามีจำนวนใบจริง 4-5 ใบ จะต้องพ่นสารป้องกันและกำจัดแมลงร่วมกับ สารเคมีป้องกันโรคโคนเน่า อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง  ต้นกล้าพริกที่มีอายุเฉลี่ย 25-30 วัน มีความสมบูรณ์และต้นแข็งแรง ไม่มีโรครบกวน ให้ย้ายลงปลูกในแปลงได้

การย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนหลังจากที่เตรียมขุดหลุมตามระยะปลูก เรียบร้อยแล้ว มีเทคนิคที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่เกษตรกรมักจะมองข้ามคือ การย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาก ขณะที่จับต้นกล้าพริกออกจากถาดหลุม

จะต้องจับบริเวณเหนือใบเลี้ยง (ใบคู่แรก) เพื่อป้องกันการบอบชํ้าของเนื้อเยื่อบริเวณโคนต้นกล้า

ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นส่วนที่เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เป็นสาเหตุหลักของโรคเน่าคอดินตามมา

หลังจากย้ายกล้าลงหลุมเสร็จภายในวันเดียวกัน หรืออย่างช้าวันรุ่งขึ้นจะต้องฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดเชื้อราในกลุ่มสารเมทาแลคซิล หรือใช้ยาอาลีเอทก็ได้  หลังจากที่ย้ายต้นกล้าพริกลงหลุมปลูกแล้ว การใช้ไม้หลักปักคํ้าต้นพริกมีความ  จำเป็นและสำคัญเช่นกัน ถ้าหากปักหลักต้นพริกช้าเกินไป รอจนรากของต้นพริกเดินกระจายทั่วแล้ว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหี่ยวที่เกิดจาก

แบคทีเรีย เพราะหลักที่นำไปปักทีหลังหรือปักช้าเกินไปนั้น ไปโดนกับส่วนของ รากเสียหายและเกิดบาดแผล เชื้อเข้าทำลายระบบท่อนํ้าและท่ออาหารได้ ดังนั้น เกษตรกรที่จะปลูกพริกในเชิงพาณิชย์ จะต้องมีการเตรียมไม้หลักไว้ล่วงหน้า โดยคำนวณจากต้นพริกที่ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกแบบแถวคู่ จะมีจำนวน  ต้น ประมาณ 3,200 ต้น ก็เตรียมไม้หลักจำนวนเท่ากันปกติขนาดของไม้หลัก ควรจะมีความสูง 60-80 เซนติเมตร ใช้ไม้ไผ่ก็ได้  หลังจากปลูกพริกไปได้ 50-70 วัน จะต้องมีการปักไม้หาบต้นพริก เพื่อช่วยพยุง ต้นพริกไม่ให้หักโค่น หรือกิ่งฉีกหักจากการรับนํ้าหนักของผลผลิตที่มีความดกแนะนำให้ใช้ไม้ไผ่ที่มีความยาว 1.20 เมตร ปักคู่กันระหว่างต้นพริกด้านซ้าย

และด้านขวา จากนั้นใช้ไม้อีกอันหนึ่งวางขวางด้านบนสุด มัดด้วยลวดหรือเชือกฟางให้แน่น โดยจะทิ้งช่วงของการปักไม้เป็นระยะ ทุกๆ 3 เมตร จากนั้นก็มัดเชือกฟางทั้งข้างซ้ายและข้างขวาให้ยาวตลอดแนวแถวแปลงพริก ดึงเชือกให้ตึงในแต่ละช่วง จะช่วยให้ต้นพริกไม่โค่นล้มได้ง่าย

ปุ๋ย ต้องเรียนรู้เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต

การใช้ปุ๋ยในการปลูกพริก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่มีความจำเป็นในการปลูกพริกทุกครั้ง ใส่เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน ช่วยให้ร่วนซุย ที่ไร่ช้างขาวจะมีการใส่ปุ๋ยคอกก่อนการไถพรวน ในอัตรา อย่างน้อย 1 ตัน ต่อไร่ และจะใส่ปุ๋ยหมักอินทรีย์รองก้นหลุมก่อนปลูก

พริกในอัตรา 250 กิโลกรัม ต่อไร่  ในส่วนที่ 2 คือ ปุ๋ยเคมี ทางดินจะให้อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง สูตรที่ใช้ยืนพื้น  คือ สูตร 25-7-7 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นและใบ ซึ่งจะใช้สลับกับสูตร

เสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หรือ 19-19-19 อาจจะบวกปุ๋ยบางสูตร เช่น แคลเซียมไนเตรต (สูตร 15-0-0) เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดธาตุแคลเซียม วิธีการสังเกตต้นพริกที่ให้ผลผลิตดกเกินไป อาจจะพบอาการขั้วนิ่ม ปลายผล เหลืองและร่วง หรือที่หลายคนเรียกกันว่าอาการกุ้งแห้งเทียมแสดงว่าต้นพริก ขาดธาตุแคลเซียม  ในส่วนของปุ๋ยทางใบ มักจะมีการฉีดพ่นควบคู่กับการฉีดพ่นสารปราบศัตรูพืช  เนื่องจากในการปลูกพริกของที่นี่มีเนื้อที่มากจะลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยทางใบ ด้วยการซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมตามอัตราส่วนที่เราต้องการ วิธีการผสมปุ๋ยทางใบไว้ใช้เอง มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนในการผลิตได้มาก และสูตรปุ๋ยทางใบที่ใช้ในการฉีดพ่นให้กับต้นพริกจะเน้นตามความต้องการและ  ระยะของการเจริญเติบโต  ถ้าเร่งการเจริญเติบโตทางต้นและใบ จะเน้นฉีดพ่น สูตร 3:2:1 ถ้าฉีดเพื่อขยาย  ผลในระยะติดผล จะใช้สูตร 1:1:1 เป็นต้น  ระบบการให้นํ้าพริก เป็นพืชที่มีความต้องการนํ้าสมํ่าเสมอ แต่พริกมีนิสัยไม่ทนต่อนํ้าท่วมขัง เลย การให้นํ้าพริกมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ งบประมาณ ความสะดวก ประสิทธิภาพ และสภาพพื้นที่ปลูกแต่การปลูกพริกในเชิงพาณิชย์นั้น ถ้าปลูกในสภาพแปลงที่มีพื้นที่ราบเรียบ (ไม่ใช่เนินเขา) จะเลือกระบบการสูบนํ้าด้วยการปล่อยนํ้าเข้าในร่องแปลงก็เพียงพอแล้ว ซึ่งเป็นวิธีการที่เกษตรกรไทยที่ปลูกพริกหลังฤดูกาลทำนาปฏิบัติกันอยู่แล้ว ซึ่งไม่มีต้นทุนในเรื่องอุปกรณ์ระบบนํ้าแต่ในการปล่อยนํ้าเข้าร่องจะต้องมีการระบายนํ้าออกได้ดีด้วย ในแปลงปลูกพริกที่มีสภาพดินปลูกเป็นดินทราย มีปริมาณนํ้าน้อย แนะนำให้ใช้วิธีการให้นํ้าระบบนํ้าหยดจะเหมาะสม ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนค่าอุปกรณ์ระบบนํ้า

สูง ในพื้นที่ปลูก ที่เป็นดินร่วนปนทรายและมีพื้นที่อยู่เนินเขาและมีแหล่งนํ้าพอเพียงจะติดตั้งระบบการให้นํ้าแบบสปริงเกลอร์จะประหยัดกว่าระบบนํ้าหยดหรับการให้นํ้าพริก จะใช้หัวสปริงเกลอร์ขนาดใหญ่ ที่เรียกกันว่า “Big Gun”ที่มีรัศมีการให้นํ้าได้ถึง 1.2 ไร่ ต่อหัวเหตุผลที่ใช้ระบบนํ้าแบบนี้ นอกจากจะเป็นการปลูกพริกในแปลงขนาดใหญ่แล้ว เมื่อคิดในเรื่องของต้นทุนจะประหยัดกว่าระบบสปริงเกลอร์และเป็นระบบที่ใช้งานง่ายยิ่งไปกว่านั้นมีประสิทธิภาพในการพ่นละอองนํ้าได้เป็นอย่างดี มีส่วนช่วยในการลดปัญหาเพลี้ยไฟซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของการปลูกพริกได้ส่วนหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่ใช้ระบบการให้นํ้าแบบ “Big Gun” นั้น จะต้องมีแหล่งนํ้าที่

สมบูรณ์และมีเครื่องสูบนํ้าที่มีประสิทธิภาพ

แนวทางป้องกันโรคแอนแทรกโนส

เกษตรกรที่มีอาชีพในการปลูกพริกต่างก็ทราบดีว่า เมื่อพบการระบาดของโรคแอนแทรกโนสในแปลงปลูกพริกแล้ว ผลผลิตของการปลูกพริกในฤดูกาลนั้นมีโอกาสที่จะได้รับความเสียหายมากจนขาดทุนได้แนะนำว่า การป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ถ้าปล่อยให้มีการระบาดแล้วยากต่อการควบคุมสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการเกิดโรคคือ การฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดให้ถูกจังหวะเกษตรกรจะต้องเป็นคนที่หมั่นสังเกตว่า เมื่อเริ่มมีโรคแอนแทรกโนสเข้ามารบกวน ต้นพริกจะเริ่มแสดงอาการบางอย่างออกมาให้เห็น เช่น เริ่มมีใบจุดเล็กๆ บนใบพริก หรือบริเวณโคนต้น

หลังจากฝนตกหนัก มีหมอกลงจัด หลังการให้นํ้าหรือแปลงปลูกพริกข้างเคียงเป็นโรคนี้ ก็ให้พึงระวังและเตรียมป้องกันว่าในแปลงพริกของท่านมีโอกาสที่จะมีการระบาดของโรคแอนแทรกโนส

เกษตรกรจะต้องมีการเริ่มฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมทันที อาจจะใช้ยาเชื้อราที่มีราคาไม่แพงนัก เช่น ยาแอนทราโคล เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ปริมาณของเชื้อมีปริมาณมากขึ้นจนก่อให้เกิดโรคได้รายละเอียดเกี่ยวกับพันธุ์พริก ติดต่อได้ที่ สวนคุณลี โทร. (081) 901-3760

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 22 ต.ค.57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM