เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูก “สับปะรดสวี” เสริมรายได้ในสวนยาง ที่ชุมพร
   
ปัญหา :
 
 

สับปะรด นับเป็นผลไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญเชิงเศรษฐกิจ และมากคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากมีสารอาหารอยู่ในสับปะรดจำนวนมากแถมมีสรรพคุณทางยาสูง ช่วยย่อยอาหารจำพวกเนื้อ เสริมการดูดซึมอาหารดับร้อนแก้กระหาย สับปะรดยังมีสารจำพวกนํ้าตาล กรด วิตามิน อยู่หลายชนิดการรับประทานสับปะรดเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคไตอักเสบ ความดันโลหิต

สูง หลอดลมอักเสบ ฯลฯ

ล่องใต้ครั้งก่อน ผู้เขียนไปเจอสับปะรดสายพันธุ์ดีของจังหวัดชุมพร คือ สับปะรดสวี ซึ่งเป็นสินค้าสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP productchampion) รางวัล 3 ดาว ประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร ระดับภาค ประจำปี 2546 ในครั้งนี้ พี่บุญเกื้อ ทองแท้ โทร. (089) 546-4197 เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ให้เกียรติสละเวลาพาผู้เขียนไปชมการปลูก

สับปะรดสวี ซึ่งไม่ได้ปลูกกันเป็นไร่ๆ เหมือนสับปะรดทั่วไป แต่จะปลูกเป็นพืชแซมไว้ในสวนมะพร้าว และสวนยาง

ที่มาของ สับปะรดสวี

ก่อนอื่นขอเล่าประวัติความเป็นมาของสับปะรดสวีสักเล็กน้อย สับปะรดสายพันธุ์นี้มาจากประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่เมื่อ 100 ปีที่แล้ว โดยพระยาจรูญโภคากรอดีตเจ้าเมืองหลังสวน เป็นผู้นำเข้าจากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย โดยนำพันธุ์สับปะรดมาแจกจ่ายให้ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรก่อน ชาวบ้านที่ได้รับแจกพันธุ์นำไปปลูกแซมสวนมะพร้าวและยางพารา ระยะแรกชาว

บ้านเรียกสับปะรดชนิดนี้ตามสำเนียงท้องถิ่นว่า หยานัดหรังหรือ สับปะรดฝรั่งนั่นเอง

เนื่องจากมะพร้าวและยางพาราประสบภาวะราคาตกตํ่า ชาวบ้านจึงหันมาปลูกสับปะรดแซมในสวนมะพร้าวและสวนยางพาราเพื่อเป็นช่องทางสร้างรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัว ภายหลังมีการปลูกอย่างแพร่หลายในพื้นที่อำเภอสวี ผู้บริโภคจึงเรียกชื่อสับปะรดชนิดนี้กันตามแหล่งที่ปลูกว่า สับปะรดสวีจนถึงทุกวันนี้

สับปะรดสวี มีผลเล็ก ทรงกระบอก นํ้าหนัก ประมาณ 1 กิโลกรัม มีจุดเด่นตรงจุกตั้งยาวขึ้น ผลสุกมีเนื้อเหลือง กลิ่นหอม เยื่อใยมีน้อย และรสหวาน กรอบแกนยังกินได้ นับเป็นสับปะรดที่มีรสชาติดีที่สุดพันธุ์หนึ่ง หาซื้อได้ตามแผงขายผลไม้ที่อำเภอสวีและอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร วิธีเลือกซื้อ เลือกลูกที่มีเปลือกแน่นตึงสีเหลืองอมส้มสด ไม่เหี่ยวคลํ้า กดดูยังแน่น จุกมีสีเขียวตั้งแข็ง

ไม่ห่อห้อยลงลักษณะเด่น ของ สับปะรดสวีสับปะรดสวีจัดเป็นสับปะรดกลุ่มควีน (Queen) ที่มีลักษณะเด่นคือ ขอบใบที่ต้นและขอบใบที่จุกผลมีหนามสั้นๆ แหลมคม ทรงโค้ง สีนํ้าตาลแดง ผลเป็นรูปทรงกระบอก ผิวเปลือกเมื่อแก่สุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม หรือเหลืองส้ม ตา

ใหญ่ ร่องตาลึก เปลือกหนา ตาลึก ทนทานต่อการขนย้าย สับปะรดสายพันธุ์นี้จะมีผลขนาดเล็กและสามารถปลูกได้ตลอดปี ผล ขนาดเล็ก เนื้อสีทอง กลิ่นหอม แกนสับปะรดกรอบความจริงแล้ว สับปะรดพันธุ์ภูเก็ต และพันธุ์สวี ที่นิยมปลูกแพร่หลายในภาคใต้บริเวณจังหวัดภูเก็ตและชุมพร ต่างเป็นกลุ่มสับปะรดควีนเช่นเดียวกัน สังเกตได้จากเป็นพันธุ์ที่มีใบแคบและยาว ใบสีเขียวอ่อน และมีแถบสีแดงตอนกลางใบขอบใบเต็มไปด้วยหนามสีแดง ผลมีขนาดเล็ก ผลย่อยนูน ตาลึก เนื้อมีสีเหลืองรสหวาน กรอบ และมีกลิ่นหอม  พี่บุญเกื้อ กล่าวว่า พื้นที่อำเภอสวีแห่งนี้ นับเป็นต้นกำเนิดดั้งเดิมของการทำไร่สับปะรดสวีพันธุ์แท้มาตั้งแต่สมัยอดีต ชาวบ้านในท้องถิ่นนิยมปลูกสับปะรด

พันธุ์สวีและพันธุ์ภูเก็ต ทั้งสองสายพันธุ์มีจุดเด่นที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดโดยสับปะรดภูเก็ตมีขนาดผลยาวกว่า มีตาถี่กว่า ส่วนสับปะรดสวีขนาดหัวใหญ่และมีปลายแหลม นอกจากนี้ ชาวบ้านบางส่วนยังนิยมปลูกสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง หรือเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า สับปะรดพันธุ์ตาดำ เนื่องจากมีจุดเด่นคือตาดำ ลักษณะฉํ่านํ้าปลูกสับปะรดแซมสวนยาง ที่อำเภอสวี  พี่เกื้อ พาผู้เขียนไปแวะชมการปลูกสับปะรดแซมสวนยาง บนเนื้อที่ 10 ไร่ ของครอบครัว ศุภสวัสดิ์ที่ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 1 ตำบลสวี อำเภอสวีจังหวัดชุมพร คุณอารีรัตน์ ศุภสวัสดิ์ เจ้าของไร่สับปะรดแห่งนี้ เล่าว่า พื้นที่แห่งนี้เป็นที่ดินมรดกจาก คุณแม่เขียว ศุภสวัสดิ์ ตั้งแต่คุณอารีรัตน์จำความได้ก็เห็นแม่ปลูกสับปะรดแซมสวนมะพร้าวมาตลอด สมัยก่อนปลูกสับปะรดเป็นกอใหญ่ๆ จนแทบไม่มีที่ดิน เวลาเก็บผลผลิตออกขาย จะต้องเอาทางมะพร้าวปูเป็นทางเดิน เพื่อเข้าไปตัดสับปะรด ตอนหลังคุณแม่เขียวตัดสินใจรื้อแปลงปลูกสับปะรด โดยนำช้างมาปล่อยเพื่อให้กินสับปะรดจนหมด ก่อนลงทุนปลูกสับปะรดรอบใหม่ที่นี่ ปลูกสับปะรดพันธุ์สวีแท้ ต้องคอยตัดหน่อออกและปลูกใหม่ มิฉะนั้นต้นสับปะรดจะแตกหน่อเยอะมาก และมีผลขนาดเล็ก ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ขณะนี้ที่ดินดังกล่าวเปลี่ยนมาอยู่ในความดูแลของคุณอารีรัตน์ก็สืบทอดอาชีพการปลูกสับปะรดแซมสวนมะพร้าวมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งคุณอารีรัตน์ตัดสินใจโค่นสวนมะพร้าว เมื่อ 4 ปีที่แล้ว และเปลี่ยนมาปลูกยาง คุณอารีรัตน์ก็ยังคงปลูกสับปะรดแซมในสวนยางเช่นเดิมคุณอารีรัตน์ เล่าว่า แม้สับปะรดสวีจะมีอายุยืนยาว 3-4 ปี แต่ชาวบ้านนิยมรื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่ทุกปี เพราะให้ผลผลิตคุ้มค่ากว่า โดยทั่วไปนิยมปลูกสับปะรดสวี ในระยะห่าง ประมาณ 50-100 เซนติเมตร เพื่อให้สับปะรดมีขนาดผลที่สวยงาม สำหรับพื้นที่ 1 ไร่จะปลูกสับปะรดพันธุ์ทั่วไปได้ ประมาณ 5000

กว่าต้น แต่สับปะรดสายพันธุ์สวีปลูกแถวเดี่ยวได้ ประมาณ 7,000 ต้น การปลูกสับปะรดอาจกระทำได้เกือบตลอดปี ยกเว้นเฉพาะในช่วงที่มีฝนชุกหนัก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในเรื่องการระบายนํ้าและโรคระบาด ซึ่งมักจะติดตามมาหลังจากเกิดฝนชุกติดต่อกัน ชาวบ้านนิยมปลูกสับปะรดสวีพันธุ์แท้ จะเสียค่าหน่อพันธุ์ ต้นละ 2 บาท ประมาณเดือนกว่าๆ ก็ต้องเสียค่าจ้างกำจัดวัชพืชการเตรียมแปลงปลูก หากไม่มีปัญหาวัชพืช ก็จะขุดหลุมปลูกเลย หากมี ก็ฉีดยาฆ่าหญ้าสักครั้ง ใช้ปุ๋ยยูเรีย ใส่ต้นละ ประมาณ 0.50 ช้อนชา หลังจากปลูกดูแลไปได้ปีเศษ ก็จะเก็บผลผลิตรุ่นแรกออกขายได้ โดยจะมีพ่อค้าแม่ค้าเข้ามารับซื้อผลผลิตถึงไร่ ช่วงที่ขายสับปะรดได้ราคาดี จะอยู่ในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น

เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ ช่วงตรุษจีน สับปะรดผลใหญ่จะขายได้ในราคา ผลละ 20-25 บาท ส่วนช่วงเวลาปกติจะขายผลผลิตได้ในราคา ผลละ18-20 บาทคุณอารีรัตน์ บอกว่า เกษตรกรบางรายไม่อยากสูญเสียโอกาสการขายสินค้าในช่วงเทศกาลสำคัญๆ ก็จะเลือกใช้วิธีการหยอดยา ซึ่งเป็นแก๊สบ่มผลไม้ ขนาดก้อนเล็กๆ มาหยอดใส่บริเวณยอดสับปะรด เพื่อให้ยอดเน่า วิธีนี้จะช่วยกระตุ้น

ให้ต้นสับปะรดขึ้นดอกไวกว่าปกติ และมีผลผลิตออกขายภายในระยะ 5 เดือนหลังจากหยอดแก๊ส

พี่เกื้อ กล่าวเสริมว่า หลังจากปลูกสับปะรด เกษตรกรสามารถเริ่มต้นหยอดยาครั้งแรกได้ เมื่อต้นสับปะรดมีอายุครบ 8 เดือน หลังจากหยอดยา รอไปอีก 5เดือน เมื่อต้นสับปะรดอายุครบ 13 เดือน ก็จะตัดผลผลิตรุ่นแรกออกขายได้สมัยก่อน เกษตรกรจะใช้แก๊สหยอดบริเวณยอดสับปะรด เนื่องจากสับปะรดแต่ละหน่อจะมีจุดต่อต้านไม่เท่ากัน ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดไม่พร้อมกัน ระยะ

หลังเกษตรกรเริ่มหันมาใช้ฮอร์โมนแทน เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้ต้นสับปะรดออกดอกได้พร้อมกันทั้งไร่เมื่อถามถึงปัญหาอุปสรรคในการเพาะปลูก คุณอารีรัตน์ บอกว่า หากสับปะรด

เจอฝนจะทำให้ผลผลิตเน่าเสียได้ง่าย นอกจากนี้ ในช่วงฤดูผลไม้ มีผลไม้เข้าตลาดเป็นจำนวนมาก เท่ากับมีคู่แข่งขันในตลาดมากขึ้น โอกาสการขายก็จะน้อยลง จึงต้องขายสินค้าในราคาถูกๆ

การปลูกสับปะรดสวีในวันนี้พี่เกื้อ บอกว่า ปัจจุบันพื้นที่การปลูกสับปะรดสวีมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับในอดีต ชาวบ้านนิยมปลูกสับปะรดกลางสวนมะพร้าวเป็นจำนวนมาก แต่ทุกวันนี้สวนมะพร้าวในพื้นที่อำเภอสวีไม่ค่อยมีแล้ว เพราะปรับมาเป็นพื้นที่ปลูกสวนยาง สวนปาล์มนํ้ามัน ชาวบ้านปลูกสับปะรดสวีได้ในสวนยางต้นเล็กเท่านั้นเนื่องจากสับปะรดสวีมีขนาดเล็ก ในระยะหลังชาวบ้านก็ไม่ค่อยนิยมปลูก แต่หันไปปลูกสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง ที่มีขนาดผลใหญ่แทน

คุณอารีรัตน์ บอกว่า ลักษณะเด่นของสับปะรดสวี ที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ มีอายุการใช้งานที่นานกว่าสับปะรดพันธุ์อื่นๆ สับปะรดสวีที่ตัดออกจากต้น หากไม่โดนฝนจะมีลักษณะเนื้อแห้ง ทำให้มีอายุการใช้งานได้นานเกือบ 2 สัปดาห์ ขณะที่สับปะรดพันธุ์ตราดสีทองจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า เพียง 7-8 วัน เท่านั้น

สับปะรดสวี มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมของผู้บริโภค หากปลูกเป็นแสนต้น ก็จะมีรายได้หลักแสนเช่นเดียวกัน ทำให้เกษตรกรบางรายตัดสินใจปลูกสับปะรดสวี ในลักษณะแปลงใหญ่ เก็บผลผลิตแต่ละวันสร้างรายได้ทะลุหลักหมื่น เรียกได้ว่า สับปะรดสวี เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้สูงไม่แพ้ไม้ผลชนิดอื่น ระยะนี้ราคายางอยู่ในเกณฑ์ตํ่า ทำให้เกษตรกรบางรายที่ปลูกสับปะรดสวีแซมสวนยาง ตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้ง เพื่อเปิดรับแสงให้ต้นสับปะรดสามารถเติบโตได้อย่าง

เต็มที่ เพราะวันนี้ปลูกสับปะรดสวี โกยรายได้ดีกว่าทำสวนยางแล้วนั่นเองคุณอารีรัตน์ ศุภสวัสดิ์ กล่าวในที่สุด

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ชุมพร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 13 ต.ค.57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM