เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ใช้สารสกัดสะเดากับแปลงปลูก คุ้มทุนคุ้มชีวิต
   
ปัญหา :
 
 

อาจารย์พนา จันทร์ศิริ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี เป็นหนึ่งในผู้ที่ศึกษาทดลองการใช้สารสกัดสะเดาเพื่อทำลายแมลงศัตรูพืชกล่าว ว่า ที่ผ่านมาหากเกษตรกรผลิตสารสกัดสะเดาเพื่อการกำจัดแมลงศัตรูพืชใช้เองต้นทุน จะถูกกว่าการใช้สารเคมีแต่ถ้าซื้อสารสกัดสะเดาจากตลาดราคาก็จะใกล้เคียงกับ สารเคมี 

หากใช้ในระยะยาวจะถูกและคุ้มต่อต้น ทุนการผลิตซึ่งจะลดลง ที่สำคัญคุณภาพชีวิตและสิ่งแวด ล้อมก็จะดีขึ้นด้วย การใช้สารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สกัดจากสะเดา จะไม่เห็นผลเร็วเหมือนกับสารเคมี การใช้ให้ได้ผลจะต้องใช้ต่อเนื่องทุก 5-7 วันต่อครั้ง ในช่วงเดือนแรกของการเพาะปลูก จากนั้นในเดือนที่สองใช้ 10 วันต่อครั้ง เดือนที่สาม 15 วันต่อครั้ง จากนั้นใช้ติดต่อกันประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี แมลงศัตรูพืชจะลดลงแล้วหมดไปในที่สุด 

“จากการศึกษาทดลองในแปลงของเกษตรกรพบว่าในระยะยาวสารสกัดสะเดาจะเป็นผลดี ต่อต้นทุนการผลิต ประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา และแรงงาน ที่สำคัญไม่มีสารพิษตกค้างและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นับเป็นการถนอมชีวิตของทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ที่สำคัญยังไม่ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ วิทยาอีกด้วย” อาจารย์พนา กล่าว

ทางด้านนายสุทัศน์ เซ็นเสถียร เกษตรกรจังหวัดสระบุรี หนึ่งในผู้ใช้สารสกัดสะเดาเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชในสวนลำไยและมะม่วงที่ ปลูกกว่า 30 ไร่ กล่าวว่า ตนได้ใช้สารสกัดสะเดาในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชมาโดยตลอด ไม่ใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี ผลผลิตออกมาสวยงามไม่มีสารตกค้าง 

“การสัมมนาเกษตรกรที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันก่อน มีการตรวจเลือดเกษตรกรที่เข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน ผมเป็น 1 ใน 50 คน ที่ไม่มีสารพิษตกค้างในเลือดที่เหลือมีทั้งหมด เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า สารสกัดสะเดาปลอดภัยต่อร่างกาย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริง ๆ” นายสุทัศน์กล่าว

การใช้สารสกัดจากสะเดามากำจัดแมลงศัตรูพืชนั้นเป็นภูมิปัญญาไทย และได้ผลดีต่อการกำจัดหนอนชอนใบ หนอนกระทู้ หนอนหลอดหอม หนอนใยผัก หนอนม้วนใบ หนอนบุ้ง หนอนแก้วส้ม หนอนหัวกะโหลก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ ส่วนหนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะต้นกล้าถั่ว หนอนเจาะดอกกล้วยไม้ หนอนเจาะยอดคะน้า หนอนเจาะถั่วฝักยาว หนอนเจาะมะเขือ แมลงวันทอง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ไรแดง ใช้ได้ผลระดับปานกลาง

ทั้งนี้ในสะเดามีสารกลุ่ม อะซาไดแรกติน มีผลออกฤทธิ์ต่อระบบต่อมไร้ท่อ หรือระบบฮอร์โมนของแมลง รวมทั้งยับยั้งการกินอาหารของแมลง สามารถขับไล่แมลงได้และไม่พบสารตกค้าง มีความปลอดภัยทั้งต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปัจจุบันในท้องตลาดมีสารสกัดจากสะเดาจำหน่ายหลายยี่ห้อทางการค้า เกษตรกรควรตรวจสอบว่าผ่านมาตรฐานและได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการหรือ ไม่ก่อนนำมาใช้.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ลพบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 27 ต.ค.57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM