เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ยางรถยนต์เก่า รียูส( Reuse) ใช้เลี้ยงกบคอนโดฯร่วมกับปลาดุก ได้จริง!!!
   
ปัญหา :
 
 

"เมื่อก่อนนี้ การเลี้ยงกบมักมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ลงทุนสูง และกบมักกัดกินกันเอง แต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นหาวิธีการเลี้ยงกบให้คุ้มค่าและเหมาะสม โดยหาวัสดุในท้องถิ่นที่ใช้แล้วนำมาดัดแปลง และยางรถยนต์เก่าที่ใช้แล้ว ก็เป็นวัสดุที่นำมาใช้ในการเลี้ยงกบ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยนำมาวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายกับอาคารคอนโดมิเนียมที่ใช้พื้นที่น้อย แต่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์มาก"

วิธีการสร้างคอนโดฯ เลี้ยงกบร่วมกับปลาดุก


การคัดเลือกพื้นที่สำหรับสร้างคอนโดฯ ควรอยู่ใกล้บ่อปลาดุก เพื่อสะดวกในการวางท่อระบายอาหารและน้ำจากคอนโดฯ สู่บ่อปลาดุก สำหรับวิธีการสร้างคอนโดฯ มีขั้นตอน ดังนี้


1. วางระบบท่อระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำทิ้งจากคอนโดฯ สู่บ่อปลาดุก


2. นำยางรถยนต์มาวางทับกึ่งกลางท่อระบายน้ำ แล้วใช้ปูนซีเมนต์ยาแนวให้เป็นรูปก้นกระทะด้านล่างสุด เพื่อสะดวกในการให้อาหาร และระบายน้ำ (ถ้าเลือกได้ควรเป็นยางรถปิคอัพ 4 WD เพราะมีขนาดใหญ่ สามารถเลี้ยงกบได้จำนวนมาก)

 
3. ทิ้งปูนให้แห้ง แล้วเทน้ำใส่ให้ท่วมปูน ตัดต้นกล้วยเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาใส่เพื่อเจือจางความเป็นกรดและความเค็มของปูน จากนั้นระบายน้ำทิ้ง แล้วล้างออกด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์


4. ทำหลังคาซาแรนบังแดด เพื่อไม่ให้ยางถูกแสงแดดมากจนเกินไป ซึ่งจะทำความเสียหายกับกบได้


5. นำยางมาวางซ้อนกัน 3 ชั้น


6. ปล่อยกบอายุ 1-2 เดือน ลงเลี้ยงในคอนโดฯ คอนโดฯ ละ 150 ตัว


7. ใช้ฝาพัดลมเก่าปิดปากด้านบนคอนโดฯ เพื่อป้องกันกบกระโดดออก


วิธีการเลี้ยงกบคอนโดฯ


เมื่อปล่อยกบอายุ 1-2 เดือน ลงเลี้ยงในคอนโดฯ คอนโดฯ ละ 150 ตัว ระยะเดือนแรกให้อาหารปลาดุกเล็ก เดือนที่สองให้อาหารปลาดุกรุ่น และเดือนที่สามไปแล้วให้อาหารปลาดุกใหญ่ การให้อาหารจะต้องปิดรูระบายน้ำ เติมน้ำให้เต็มกระทะ โรยอาหารลงไปให้ลอยน้ำ กบจะลงมากินอาหารจนอิ่ม แล้วก็จะกลับเข้าไปหลบอาศัยอยู่ในวงยางตามเดิม ควรใส่น้ำในขอบวงยางเพื่อให้ความเย็น แก่กบและถ่ายน้ำทุกวัน เช้าและเย็นก่อนให้อาหาร โดยใช้ขวดน้ำกลั่นที่ใช้แล้ว ตัดเป็นกรวยตักน้ำออกจากวงยาง แล้วระบายน้ำลงสู่บ่อปลาดุก ซึ่งปลาดุกจะได้อาหารเหลือเหล่านั้น สำหรับการใช้ขวดน้ำกลั่นตัดเป็นกรวยตักน้ำเพราะมีความอ่อนสามารถตักน้ำจากวงยางได้หมด แม้จะตักถูกตัวกบก็ไม่ระคาย


การเลี้ยงกบคอนโดฯ นี้ ไม่แนะนำให้ใช้ไฟล่อแมลงให้กบกินกลางคืน เพราะกบไม่ได้พักผ่อน จะจ้องแต่กินแมลง และข้อสำคัญคือ เราไม่รู้ว่าแมลงบางชนิดมีพิษอยู่ในตัว หรือแมลงที่ถูกยากำจัดศัตรูพืชและไม่ตายในทันที เมื่อมาเล่นไฟและตกลงไปให้กบกิน กบกินพิษยากำจัดแมลงเข้าไปด้วยก็จะทำให้กบตายในที่สุด แต่ถ้าจะให้อาหารเสริม ควรจะเป็นหนอนหรือไส้เดือนที่เราสามารถเพาะเลี้ยงเองได้


การเลี้ยงกบคอนโดฯ ควรมีการคัดขนาดทุกๆ สัปดาห์ เพราะกบมีการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ถ้าไม่คัดขนาด จะเกิดปัญหากบกัดกินกันเอง และเมื่อเลี้ยงกบได้ 1 เดือน ควรคัดให้เหลือประมาณ 100 ตัว ต่อคอนโดฯ เพื่อไม่ให้แออัดเกินไป เลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้

 

สำหรับการเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก อัตราการเลี้ยงระหว่างกบกับปลาดุก คือ กบ 100 ตัว หรือ กบ 1 คอนโดฯ จะปล่อยปลาดุก 20 ตัว โดยไม่ต้องให้อาหารปลาดุก ปลาดุกจะกินเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยงกบคอนโดฯ ก็พอเพียงต่อการเจริญเติบโตแล้ว หรือถ้าต้องการให้ปลาดุกโตเร็วขึ้น ก็ให้อาหารเสริมบ้างก็ได้


ข้อดีของการเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก


1. เป็นการใช้อาหารอย่างคุ้มค่า ไม่สูญเปล่า เพราะเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยงกบ จะเป็นอาหารของปลาดุกอีกต่อหนึ่ง


2. ประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างบ่อเลี้ยงกบ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์จากสิ่งเหลือใช้ ได้แก่ ยางรถยนต์เก่า ฝาพัดลมเก่า เป็นต้น


3. การดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ลดปัญหาการเกิดโรค


4. ประหยัดน้ำในการล้างทำความสะอาดบ่อ


5. กบโตเร็ว น้ำหนักดี


6. ลดปัญหาเรื่องการกัดกินกันเอง ทำให้อัตราการรอดสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์


การเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก เกษตรกร/ผู้ว่างงานสามารถทำได้ ให้ผลเร็ว พออยู่พอกิน พึ่งตนเองได้ เหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันนี้


สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมศิลปาชีพภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 299-758


วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์มติชน 6 พ.ย.57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM