เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
'เครื่องอบแห้งปลา' ผลิตปลาตากแห้ง
   
ปัญหา :
 
 
 การผลิตปลาตากแห้งที่อาศัยธรรมชาติ ส่วนใหญ่มักเจอปัญหาเรื่องขนย้ายหากสภาพภูมิอากาศไม่อำนวยแล้วยังต้องเจอพวก แมลงต่างๆ ที่เป็นพาหนะนำโรคมารบกวน ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ถูกสุขอนามัยก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค แต่จากนี้ไปคงหมดปัญหาเมื่อทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) สงขลาและคณะ ภายใต้การนำของอาจารย์วสันต์ จีนธาดา หัวหน้าทีมงานวิจัย และคณะ จากสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ในการผลิตปลาตากแห้ง ภายใต้ชื่อเครื่องอบแห้งปลาพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ เพื่อใช้การแก้ปัญหาดังกล่าว 
 
                           "ปกติแล้วการผลิตปลาตากแห้งมีด้วยกัน 2 แบบ คือปลาตากแห้งแดดเดียวและปลาตากแห้งจนความชื้นของปลาเหลือตามความต้องการของ ท้องตลาด ซึ่งในกระบวนการผลิตปลาตากแห้งจนความชื้นของปลาเหลือตามความต้องการของท้อง ตลาดนั้นจะนำปลามาตากแดดตอนเช้าและเก็บเข้าที่รมตอนเย็นทุกวัน ตากแดดประมาณ 2-3 วัน ปลาถึงจะแห้งตามความต้องการ แต่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย ซึ่งในขณะที่ทำการตากปลาแห้งนั้นก็ยังมีพวกแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำโรคและฝุ่นละออง มาสัมผัสกับปลาตากแห้งอาจทำให้ผู้บริโภคเจ็บป่วยได้"
 
                           หัวหน้าทีมงานวิจัยยอมรับว่าจากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีแนวคิดสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อนำมาใช้ผลิตปลาตาก แห้งแบบความชื้นของปลาเหลือตามความต้องการของท้องตลาดลดปัญหาเรื่องการขน ย้ายปลาตากแห้งในการนำปลามาตากแดดตอนเช้าแล้วเก็บปลาเข้าที่ร่มในตอนเย็นลด ปัญหาจากพวกแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำโรคและยังเป็นการส่งเสริมการนำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย 
 
                           "เครื่องอบแห้งปลาพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์นี้ เราได้นำมาทดลองการใช้งานในพื้นที่จริงด้วย โดยทดสอบกับกลุ่มชุมชนวังเขียววังขาว ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งผลิตปลาตากแห้งเป็นอาชีพหลักมีการนำออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดมาตั้งแต่อดีต จนปัจจุบัน"
 
                           อาจารย์วสันต์เผยต่อว่า การผลิตปลาแห้งตามความต้องการที่ท้องตลาดกำหนด คือ เฉลี่ย 30% มาตรฐานแห้ง ซึ่งในการวัดมาตรฐานดังกล่าวโดยทั่วไปกลุ่มชาวบ้านจะใช้วิธีการสัมผัสถึง ความนิ่มของเนื้อปลา แต่ในด้านการวิจัยจะมีเครื่องมือในการวัดอุณหภูมิ ซึ่งผลการทดลองผลิตปลาตากแห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ จนความชื้นของปลาเหลือ 30% มาตรฐานแห้งพบว่าจะใช้เวลาน้อยกว่าการผลิตปลาตากแห้งด้วยการตากแดดโดยตรง เฉลี่ย 2 ชั่วโมง เนื่องจากการทำปลาตากแห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์จะมี อุณหภูมิเฉลี่ย 52 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 38%
 
                           ในขณะที่การทำปลาตากแห้งด้วยการตากแดดโดยตรงมีอุณหภูมิเฉลี่ย 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 60% ส่วนคุณภาพของปลาตากแห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์พบว่า จะมีสีขุ่นกว่าปลาตากแห้งด้วยการตากแดดโดยตรงเนื่องจากปลาตากแห้งด้วย เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์มีอุณหภูมิสูง จึงส่งผลให้เนื้อปลาตากแห้งมีสีขุ่นแต่เมื่อน้ำปลาตากแห้งมาทอดพบว่าปลาตาก แห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์กับปลาตากแห้งด้วยการตาก แดดโดยตรงมีรสชาติและความกรอบเหมือนกัน
 
                           นับเป็นอีกนวัตกรรมที่จะช่วยย่นระยะเวลาให้ชาวบ้านในการประกอบอาชีพผลิตปลา ตากแห้ง อีกทั้งยังป้องกันปัญหาจากพวกแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่ปลาในขณะตากแห้งด้วย สนใจนวัตกรรมดังกล่าวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สาขาวิศวกรรม เครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สงขลา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก 6 ม.ค.58
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM