เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์เชิงพาณิชย์
   
ปัญหา :
 
 

สำหรับเกษตรกรที่สนใจในเรื่องนี้ขั้นต้นคือเลือกสถานที่สร้างบ่อซึ่งควรอยู่ ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก อยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาจะไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่าย น้ำได้สะดวก

ประโยชน์การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ คือใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่ ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90-120 วัน สามารถเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้โดยการใช้พันธ์ุปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี เลี้ยงและดูแลรักษาได้สะดวกมาเลี้ยง

สำหรับเกษตรกรที่สนใจในเรื่องนี้ ขั้นต้นคือเลือกสถานที่สร้างบ่อซึ่งควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก อยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาจะไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่าย น้ำได้สะดวก

หลังจากสร้างบ่อเสร็จ ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อนใส่ลงไปในบ่อ เติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ 3-5 วัน เปลี่ยนต้นกล้วยแล้วแช่ไว้อีกครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนขาว แล้วล้างบ่อให้สะอาด ตรวจสอบสภาพน้ำให้เป็นกลางหมดฤทธิ์ของปูน ถ้ามีตะไคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อปูนก็จะดี น้ำที่จะใช้เลี้ยงคือน้ำจากคลอง หนอง บึง ควรตรวจสอบว่ามีศัตรูปลาเข้ามาในบ่อด้วยหรือเปล่า หากเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำประปา ต้องพักน้ำไว้ประมาณ 3-5 วัน ก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลา

ปลา ที่นำมาปล่อยควรมีความยาวประมาณ 5-7 ซม. อัตราการปล่อยลงเลี้ยงคำนวณจากเส้นผ่าศูนย์กลางของบ่อที่ 1 เมตร ลึก 40 ซม. ใช้ลูกปลาประมาณ 80-100 ตัว หากเลี้ยงเชิงพาณิชย์ขนาดบ่อและปริมาณบ่อก็เพิ่มมากขึ้นตามกำลังของผู้ เลี้ยง ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรใส่เกลือแกงประมาณ 2-3 ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ ระดับน้ำที่ปล่อยปลาครั้งแรก

10-15 ซม. ควรปล่อยในตอนเช้า โดยนำถุงปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงแช่ในบ่อประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงปลาและน้ำในบ่อไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตาย ควรมีวัสดุให้ปลาหลบซ่อนภายในบ่อ เช่นท่อพีวีซีตัดเป็นท่อนหรือกระบอกไม้ไผ่ เพราะปลาตัวใหญ่จะกวนปลาตัวเล็ก ควรมีการคัดขนาดปลา เมื่อมีอายุประมาณ 15-20 วัน โดยแยกบ่อให้ชัดเจนระหว่างตัวเล็กกับตัวใหญ่

เมื่อเลี้ยง ไปได้ 10 -15 วัน เพิ่มระดับน้ำแต่ไม่เกิน 40 ซม. ถ่ายเทน้ำทุก 5-7 วัน แต่ละครั้งไม่ควรถ่ายจนหมด ถ่ายน้ำประมาณ 1 ส่วน 3 ของน้ำในบ่อ ขณะถ่ายเทน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาตกใจเพราะปลาจะไม่กินอาหาร 2-3 วัน ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นเกินไปและไม่ให้อาหารมากจนเกินไป พร้อมทั้งรักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสม

สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือ เข้าศึกษาดูงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่

หรือ ในช่วงระหว่าง 23-29 มกราคม 2558 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้ร่วมกับสำนักงาน กปร. จังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมภายในศูนย์ฯ จะจัดงาน 32 ปี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้น ซึ่งภายในงานจะมีการสาธิตการเลี้ยงปลาในรูปแบบดังกล่าวให้ได้รับชมด้วย.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 16 ม.ค.58
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM