เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มะนาว'คาเวียร์'พืชทำเงินตัวใหม่รสเปรี้ยว-ใช้ปรุงอาหารหรู
   
ปัญหา :
 
 
 ในยุคโลกไร้พรมแดน ดูเหมือนว่าภาคการเกษตรของไทยได้มีการนำพืชชนิดใหม่ๆ จากต่างประเทศ ที่สามารถปลูกได้ และเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมาปลูกเป็นจำนวนมาก อย่าง "มะนาวคาเวียร์" หรือ "มะนาวมือ" ก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนำมาปลูก ถือเป็นพืชที่น่าจับตามอง เพราะมีคนปลูกน้อย ตลาดต้องการอีกมาก มีราคาแพง โดยเฉพาะร้านอาหารตามโรงแรมชั้นนำ ภัตตาคาร และร้านอาหารญี่ปุ่น อย่างนักสะสม และขยายพันธุ์ไม้

            "สมเจตน์น์ พิมพ์ทอง" เจ้าของฉายา "ทิดโส โม้ระเบิด" ก็อีกคนหนึ่งที่ได้ปรับปรุง "มะนาวคาเวียร์" ปลูกที่บ้าน ในซอยสุขุมวิท 93 ย่านบางจาก กรุงเทพฯ ปรากฏว่า สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการผลิตแทบไม่ทัน

            สมเจตน์ บอกว่า มะนาวมือนิยมปลูกในประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันมีเกษตรกรเริ่มสนใจปลูกมะนาวมือมากขึ้น อย่างในช่วงที่ผ่านมา มีลูกค้าต้องการกิ่งนับพันกิ่ง แต่ยังไม่สามารถผลิตได้ทัน ต้องทยอยส่งเท่าที่มีก่อน ล่าสุดต้องขยายพื้นที่ปลูกไปยัง จ.ลพบุรี เพื่อขยายกิ่งให้เพียงต่อความต้องการ ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการปลูกในวงท่อซีเมนต์ด้วยแล้ว เน้นการผลิตผล เนื่องจากตลาดต้องการสูง เพราะการนำเข้าราคาสูง ตก กก.ละ 2,700 บาท หากติดเป็นผลตกผลละ 200 บาท ปัจจุบันหากเกษตรกรปลูกและให้ผลผลิตเขายินดีที่รับซื้อไม่อั้น เพราะมีโรงแรมชั้นหนึ่งหลายแห่งมีความต้องการอยู่

            ลักษณะทั่วไปของมะนาวนิ้วมือ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเรียวเล็กคล้ายมะขวิด มะสัง มีหนามแหลม การแตกกิ่งแตกยอดจะออกรอบต้น ดอกเล็กๆ สีขาวเหมือนมะนาวทั่วไป ออกดอกตามซอกใบ ติดผลลักษณะเดี่ยว ไม่เป็นพวงเหมือนมะนาวทั่วไป รูปทรงผล เรียวยาวเหมือนนิ้วมือคน ขนาดเท่านิ้วชี้คน สีเปลือกหลากหลาย ทั้งเขียว แดง ชมพู ม่วง น้ำตาล เหลือง สีเนื้อ ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ม่วง เนื้อมะนาว มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ อัดแน่นอยู่ในผลคล้ายกินไข่ปลาคาเวียร์

            ปัจจุบันมะนาวนิ้วมือที่นิยมปลูกมี 16 สายพันธุ์ แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ Red Champagne เปลือกสีแดง เนื้อสีแดง, Crimson Tide เปลือกสีม่วง เนื้อสีแดง, Mia Rose เปลือกสีม่วงแดง เนื้อชมพูเข้ม, Jali Red เปลือกสีม่วง เนื้อชมพู, Rick Red เปลือกสีแดง เนื้อชมพู, Byron Sunrise เปลือกม่วงแดง เนื้อชมพู, Judy Everbearing เปลือกสีม่วง เนื้อชมพูอ่อน เป็นต้น

            "ที่จริงมะนาวนิ้วมือนิยมปลูกในประเทศออสเตรเลีย แต่เติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ตอนนี้ที่บ้านเราราคาแพงมาก นิยมนำไปใช้สำหรับปรุงอาหารในภัตตาคารชั้นนำ ร้านอาหารของโรงแรม และร้านอาหารญี่ปุ่น เวลาใช้คือจะขูดเนื้อออกจากผล มาคลุกเคล้าหรือวางประดับหน้าอาหาร เวลาเคี้ยวจะแตกดังเป๊าะในปาก คล้ายกินไข่ปลาคาเวียร์ รสเปรี้ยว เหมือนมะนาวทั่วไป มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาวแป้นผสมเลมอน เพื่อเพิ่มความสวยงามและรสชาติให้อาหารต่างๆ หรืออาจจะนำไปผสมกับเครื่องดื่มให้มีรสชาติดียิ่งขึ้น บ้างก็นำไปเพิ่มความหอมให้ขนมและของหวานต่างๆ อาทิ ไอศกรีม ที่จะนำมะนาวนิ้วมือสีเทสตี้กรีน ไปแช่แข็งแล้วนำมาฝนลงในไอศกรีมเพื่อเพิ่มความหอมของมะนาว" สมเจตน์ กล่าว

            สำหรับการปลูกและบำรุงรักษา สมเจตน์ บอกว่า เหมือนมะนาวทั่วไป ชอบดินร่วน รดน้ำตามปกติ ไม่ชอบชื้นแฉะ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ทางออสเตรเลียจะพักต้น ซึ่งหากปล่อยตามปกติ ทางเมืองไทยจะเริ่มติดดอก ดังนั้น เมื่อนำมาปลูกและดูแลอย่างดี สามารถทำให้เป็นมะนาวนอกฤดูของทางออสเตรเลีย หากมีปริมาณที่เพียงจะส่งออกไปออสเตรเลียได้ในอนาคต

            สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ โทร.09-9254-6542
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันพฤหัสที่ 5 มี.ค.58
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM