เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มะระโอกินาวาปลูกได้แล้วในเมืองไทย
   
ปัญหา :
 
 

ที่เกาะโอกินาวาเชื่อกันมาแต่สมัยโบราณว่าความขมของมะระจะช่วยทำให้เลือด สะอาดและช่วยเรื่องความดันเลือดให้คงที่ ด้วยความที่มะระมีวิตามินซีสูง มีมากกว่ามะนาว 2-3 เท่าตัว

คนญี่ปุ่นบนเกาะโอกินาวามีอายุยืน ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าคนโอกินาวา เป็นคนชอบผ่อนคลายไม่เครียด และมักจะบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่ง 3 อันดับแรกของอาหารโอกินาวาที่บริโภคแล้วสุขภาพดี คือ 1. โกยะ จัมปุรุ คือผัดมะระโอกินาวา 2. คูบุอิริจิ คือผัดสาหร่ายคอนบุ และ 3. ชีกัวชา คือน้ำส้มโอกินาวา

โดยเฉพาะโกยะ จัมปุรุ หรือผัดมะระโอกินาวา จัดเป็นอาหารยอดนิยมของจังหวัดโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่นก็ว่าได้ หลายคนที่เดินทางไปแล้วต้องทานให้ได้ ในบรรดาผักสีเหลืองเขียว มะระนั้นถือว่ามีวิตามินซีสูงในลำดับต้น ๆ ส่วนรสขมในมะระเกิดจากสารที่เรียกว่า “โมโมดิซิน” ซึ่งให้รสขม มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร และเป็นยาระบายอ่อน ๆ และชาแลนทินที่อยู่ในเปลือก มีสรรพคุณทางยาในการลดน้ำตาลในเลือด และรักษาโรคเบาหวาน

ที่เกาะโอกิ นาวาเชื่อกันมาแต่สมัยโบราณว่าความขมของมะระจะช่วยทำให้เลือดสะอาดและช่วย เรื่องความดันเลือดให้คงที่ ด้วยความที่มะระมีวิตามินซีสูง มีมากกว่ามะนาว 2-3 เท่าตัว มากกว่าผักตระกูลกะหล่ำถึง 4 เท่า ทำให้มะระเป็นตัวแทนอาหารของโอกินาวามายาวนาน นอกจากวิตามินซีแล้วยังมีวิตามินอี และแร่ธาตุต่าง ๆ ตลอดถึงใยอาหารอยู่มากเหมาะสำหรับการป้องกันความอ่อนเพลียที่เกิดในหน้าร้อน

ใน ประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์ “มะระโอกินาวา” มาปลูกที่ จ.พิจิตร พบว่ามีการเจริญเติบโตดีออกดอก ติดผลดกและรสชาติดี โดยจุดเด่นของมะระโอกินาวาคือรสชาติไม่ขมมาก นำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเช่นเดียวกับมะระทั่วไป

การปลูกเริ่มจาก เพาะกล้ามะระโอกินาวา นำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่น ประมาณ 1 คืน แล้วนำมาห่อกับผ้าชุบน้ำหมาด ๆ หรือวางบนกระดาษทิซชูเปียกน้ำหมาด ๆ บ่มเมล็ดประมาณ 2-3 วันในกระติกน้ำ กล่องโฟมหรือกล่องพลาสติกเพื่อให้รากงอกได้ดี เมื่อเริ่มมีรากงอกออกมาให้เห็น เมล็ดที่พร้อมย้ายคือมีรากงอกออกมา เปลือกแตกเป็นสองซีก รากไม่ควรยาวเกิน 1 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้รากหักเวลาย้ายปลูก วัสดุปลูกคือ แกลบดำ ดินร่วน และขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:1:1 ย้ายเมล็ดลงถาดหลุมหรือถุงดำขนาดเล็ก เมื่อกล้ามีใบจริง 3-5 ใบ ก็สามารถย้ายปลูกลงถุงดำใบใหญ่หรือปลูกลงแปลงได้

ควร ย้ายปลูกในตอนเย็นเพราะอากาศไม่ร้อนมากนัก หลังปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่ม การรดน้ำต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะมะระโอกินาวายิ่งโตยิ่งต้องการน้ำมาก โดยเฉพาะช่วงออกดอกติดผลไม่ควรให้ต้นขาดน้ำ โดยสามารถวางระบบเป็นน้ำสายน้ำหยดหรือลากสายยางเดินรดน้ำได้ตามสะดวก มะระเป็นพืชเถามีมือเกาะ จำต้องทำค้างไม้ไผ่ให้ต้นมะระสามารถเลื้อยเกาะเกี่ยวในการเจริญเติบโต การให้ปุ๋ยเน้นการให้ปุ๋ยคอกโดยใช้รวมกับปุ๋ยเคมีสูตรเสมอเช่นสูตร 16-16-16 ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบและปุ๋ยชีวภาพตามระยะการเจริญเติบโต แมลงศัตรูในพื้นที่ที่มีแมลงวันทองระบาด ควรจะมีการห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือถุงห่อ โดยเริ่มห่อเมื่อมะระติดผลขนาดผลใหญ่กว่านิ้วโป้ง หรือความยาวผลประมาณ 2-3 นิ้ว ใช้กระดาษทำเป็นถุงขนาดกว้าง ประมาณ 15 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร ปากถุงให้แขวนอยู่บนก้านของผล

การห่อผลไว้เช่นนี้จะช่วยให้ผลมะระไม่ ถูกรบกวนจากแมลงมากนัก และเมื่อเวลาผ่านไปราว 10 วัน ผลจะมีขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร สีเขียวเข้มก็พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวนำไปรับประทานหรือจำหน่ายได้.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
พิจิตร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 12 มีนาคม 2558
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM