เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ตอน “มะนาว” ด้วย “กะปิ” ได้กิ่งพันธุ์ดี เป็นที่ต้องการ
   
ปัญหา :
 
 

การปลูกมะนาวสายพันธุ์ที่ดี นอกจากได้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว ยังสามารถขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกมะนาวได้อีกทาง ด้วย ซึ่งวิธีขยายพันธุ์มะนาวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันก็คือการตอน เป็นวิธีที่ง่าย ต้นหนึ่งขยายพันธุ์ได้หลายกิ่ง ใช้เวลาในการพักฟื้นต้นพันธุ์ไม่มาก และที่สำคัญทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรง พร้อมนำไปลงปลูกได้ทันที

วิธีการเริ่มจากการเตรียมตุ้มตอน นำขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้ 2-3 วัน จากนั้นนำขึ้นมาไส่ตระกร้าทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ให้พอหมาด ใช้เมธารัสซิลผสมน้ำในอัตรส่วน 1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบนขุยมะพร้าวเพื่อป้องกันเชื้อรา เสร็จแล้วนำมาใส่ถุงมัดไว้รอเพื่อนำไปตอน ซึ่งตุ้มตอนไม่ควรให้มีขนาดใหญ่ เพราะทำให้กิ่งมะนาวรับน้ำหนักมากเกินไปและอาจจะหักได้

ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกกิ่งตอน ควรเป็นกิ่งอ่อนเพราะรากจะเจริญได้เร็ว และนำไปปลูกต่อก็จะเจริญเติบโตได้ดี เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่ตอน ซึ่งห่างจากยอดกิ่งประมาณ 30 เซนติเมตร สังเกตใต้ตาใบที่กิ่งจะเห็นเป็นตุ้มซึ่งเป็นแหล่งสะสมอาหาร ให้ควั่นบริเวณใต้ตุ้มดังกล่าว 2 รอยห่างประมาณ 1 เซนติเมตร มีดต้องคมแผลตอนจะได้ไม่ช้ำ พร้อมลอกเปลือกออก ใช้มือลูบเมือกที่แผลออกให้หมด จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน ผู้ตอนอาจลืมว่ากิ่งไหนควั่นแล้ว อาจผูกเชือทำเป็นสัญลักษณ์เอาไว้กันลืม

ที่สวนคุณวโรชาจะไม่ใช้วิธีการขูดเนื้อเยื่อบริเวณแผลตอน เพราะทำให้แผลช้ำทั้งยังทำให้เกิดการระบาดของเชื้อโรคในสวนขึ้นได้ เนื่องจากเราไม่รู้ว่ากิ่งไหนเป็นโรคอยู่ ซึ่งการตอนอาจนำเชื้อโรคจากต้นหนึ่งไปสู่ต้นอื่น ๆ ที่สวนจึงใช้วิธีการควั่นทิ้งไว้เพื่อให้แสงแดดทำลายเนื้อเยื่อและท่อ ลำเลียงอาหารแทนการขูด และการควั่นทิ้งไว้ยังเหมือนเป็นการแกล้งให้กิ่งมะนาวหิว ให้กิ่งหาอาหารเองซึ่งก็สร้างปมเหลือง ๆ ขึ้นมาบริเวณแผลตอน เมื่อผูกตุ้มตอนก็ทำให้รากเดินได้เร็วขึ้น

หลังจากควั่นทิ้งไว้ 4-5 วัน ก็นำตุ้มตอนมาห่อ โดยผ่ากลางตุ้ม ใช้ปลายมีดเขี่ยกะปิขนาดเท่าหัวไม้ขีดมาใส้ไว้กลางตุ้ม แล้วนำไปมัดไว้ที่แผลตอน มัดด้วยตอกให้แน่น กะปิก็จะกระจายไปทั่วทั้งตุ้ม ซึ่งกะปิก็คือไคโตซาน มีคุณสมบัติเร่งการงอกของรากอีกทั้งยังเป็นอาหารสำรองให้กับกิ่งพันธุ์ด้วย ทำให้กิ่งพันธุ์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกเคล็บลับหนึ่งสำหรับการตอนให้ได้กิ่งพันธุ์ที่มีคุณภาพก็คือ หากเป็นหน้าร้อนควรหงายให้จุกตุ้มตอนอยู่ด้านบน แต่หากเป็นหน้าฝนให้จุกตุ้มตอนทิ่มลงด้านล่าง ซึ่งทำให้ความชื้นในตุ้มตอนเหมาะสมไม่แห้งหรือแฉะจนเกินไป

หลังจากตอนประมาณ 18-25 วัน ก็เริ่มเห็นรากเดินในตุ้มตอน แต่ถ้าเป็นหน้าหนาวก็ใช้เวลานานขึ้นเล็กน้อย จากนั้นก็ให้ตัดออกมา เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานเกินไปอาจมีปัญหาเชื้อราได้ นำปูดแดงทาไว้ที่แผลกิ่งบนต้นเพื่อป้องกันเชื้อโรค ส่วนกิ่งที่ตัดออกมา นำมาชำไว้ในถุงเพื่อให้รากเจริญเติบโตมากขึ้น โดยแกะพลาสติกที่ตุ้มตอนออก คลึงเบา ๆ เพื่อให้ขุยมะพร้าวที่รัดแน่นขยายออก และเหมือนเป็นการนวดเพื่อให้รากในขุยมะพร้าวแผ่ออกด้วย จากนั้นนำวัสดุชำใส่ถุงดำขนาด 5x6 นิ้ว ประมาณครึ่งถุง นำกิ่งพันธุ์ลงถุงแล้วใส่วัสดุปลูกให้พอดีกับคอตุ้มตอน รดน้ำที่ผสมเมธารัสซิล (1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร) ประมาณ 1 แก้ว นำไปพักไว้ที่ที่มีแสงแดดรำไร ประมาณ 2 สัปดาห์ก็สามารถนำไปลงปลูกในดินได้ แต่ไม่ควรปล่อยกิ่งพันธุ์ไว้ในถุงชำนานเกินไป เพราะทำให้รากขดงอ เมื่อนำไปลงปลูกทำให้เจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร

ผู้ที่ปลูกมะนาวควรศึกษาเทคนิควิธีการปลูกและการดูแลมะนาวจากหลาย ๆ แห่ง ที่ประสบความสำเร็จ แล้วนำมาประยุกต์ให้ให้เหมาะสมกับตัวเอง เพราะการเกษตรไม่มีอะไรตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาได้เสมอ

เกษตรกรท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายพันธุ์มะนาวและวิธี ปลูกมะนาวให้ได้ผลผลิตดี สามารถติดต่อได้ที่สวนมะนาววโรชา โทร. 08-6765-6845, 08-8118-8234, 08-7519-1288

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เกษตรกรก้าวหน้า
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM