เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูก “มะนาว” ให้ถูกวิธี ได้ผลผลิตดี มีแต่กำไร
   
ปัญหา :
 
 

“เกษตรกรก้าวหน้า” มีโอกาสพูดคุยกับ คุณวโรชา จันทโชติ เจ้าของสวนมะนาววโรชา อยู่ที่ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปลูกและพัฒนาสายพันธุ์มะนาว ซึ่งคุณวโรชา บอกว่าการจะปลูกมะนาวให้ประสบผลสำเร็จ ต้องเริ่มจากสายพันธุ์ที่ดีให้ผลผลิตสูง ที่สำคัญต้องเป็นสายพันธุ์ที่ตลาดต้องการด้วย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ มีผลใหญ่ น้ำเยอะ เปลือกบาง มีรสชาติที่ดีและมีกลิ่นหอม

ปัจจุบันที่สวนคุณวโรชา มีสายพันธุ์มะนาวที่ให้ผลผลิตดีถึง 3 สายพันธุ์ คือ

1.พันธุ์แป้นวิเศษ จุดเด่นคือ เป็นมะนาวทวายที่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ลูกมีลักษณะแป้น มีน้ำมาก ผลใหญ่เต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 7-8 ลูกต่อกิโลกรัม ออกลูกปลายกิ่งเหมือนมะนาวทั่วไป น้ำมีกลิ่นหอม รสชาติเปรี้ยวจัดแต่ละมุนลิ้น โดยทางสวนได้คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพยิ่ง ขึ้น”

2.พันธุ์แป้นวโรชา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พัฒนามาจากพันธุ์แป้นวิเศษ จึงมีลักษณะคล้ายพันธุ์แป้นวิเศษทุกประการ แต่ที่แตกต่างคือมีรสหวานนิด ๆ อร่อยที่โคนลิ้น และที่สำคัญออกลูกตามตากิ่งทั่วต้นคล้ายมะยม ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น

3.พันธุ์แป้นวิเศษวโรชา เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากพันธุ์แป้นวิเศษเช่นกัน แต่จุดเด่นอยู่ที่การออกลูกกลางกิ่งเหมือนลองกอง ทำให้ได้ผลผลิตต่อต้นสูง อายุผลแค่ 2 เดือนก็ให้น้ำแล้ว มีผลใหญ่น้ำมากและรสชาติดี มีกลิ่นหอม เป็นที่ต้องการของตลาด

นอกจากสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาดแล้ว ยังได้พัฒนาวิธีการปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีตรงตามพันธุ์ด้วย โดยใช้วิธีการปลูกลงดินแต่ไม่ใช้ดิน กล่าวคือ ใช้หลุ่มดินเป็นเพียงภาชนะปลูก แล้วใช้วัสดุปลูกที่เหมาะสมกับความต้องการของมะนาว ซึ่งวิธีนี้สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ ทั้งยังทำให้ต้นมะนาวเจริญเติบโตได้ดี และมีสารอาหารครบถ้วน ส่งผลให้ได้ผลผลิตสูงและที่สำคัญการปลูกด้วยวิธีนี้มีต้นทุนต่ำมาก เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ไม่ยากด้วย

พันธุ์มะนาวที่นำมาปลูก ได้มาจากการตอนกิ่ง โดยนำมาชำไว้ในถุงพลาสติกประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งโครงสร้างใบจะสมบูรณ์ พร้อมที่จะแตกยอดตาอ่อนใหม่ ก็เตรียมปลูกลงดินได้ เริ่มจากขุดหลุมกว้างประมาณ 1x1 เมตร ลึก 30 เซนติเมตรเป็นรูปท้องกระทะ เตรียมวัสดุรองก้นหลุม เช่นผักตบชวา ต้นกล้วยหรือเศษไม้ใบหญ้าที่หาได้ในท้องถิ่น ตากแดดให้แห้งประมาณ 2 วัน รองก้นหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของความลึก

ส่วนวัสดุปลูกจะเลือกใช้วัสดุที่รากมะนาวสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดี ระบายน้ำได้ดี โดยใช้แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ ขุนมะพร้าว เศษไม้ใบหญ้า และมูลวัวในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน พร้อมใส่ปูนมาร์ล (ขอได้จากกรมพัฒนาที่ดี) เพื่อปรับสภาพประมาณ 1 กำมือ หากไม่มีใช้ปูนขาวแทนก็ได้ จากนั้นใช้น้ำหมักจุลินทรีย์จากสาร พด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน อัตราส่วน 5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตรและเมธารัสซิล 1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร รดในวัสดุปลูก ทิ้งไว้ในร่มประมาณ 15 วัน เพื่อให้กระบวนการหมักสมบูรณ์ แบบเดียวกับการทำปุ๋ยหมัก ระหว่างนี้ควรกลับกองวัสดุปลูกเป็นระยะเพื่อไม่ให้อุณหภูมิในกองวัสดุสูง เกินไปซึ่งอาจทำให้จุลินทรีย์ตายได้ เมื่อครบกำหนดสามารถนำไปใช้ปลูกมะนาวหรือพืชชนิดอื่น ๆ ก็ได้ อาจใช้ให้หมดในครั้งเดียวหรือเก็บไว้ใช้ครั้งต่อ ๆ ไปก็ได้เช่นกัน

“นำวัสดุปลูกที่เตรียมไว้ใส่ในหลุม ให้เสมอปากหลุมพอดี ใช้ไม่ไผ่ปักกลางหลุมเพื่อเป็นหลักยึด นำต้นมะนาวออกจากถุงชำแล้วลงปลูกในหลุม ซึ่งไม่ต้องให้ลึกเพียงแค่ให้วัสดุปลูกอยู่บริเวณคอต้นพอดี และไม่ต้องกดวัสดุให้แน่นมาก มัดยึดลำต้นกับหลักไม้ไผ่พอหลวม ๆ จากนั้นใช้เมธารัสซิล 1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร รดรอบหลุมเพื่อป้องกันเชื้อราจากดินลามเข้ามายังลำต้น รดน้ำวันละ 1 ครั้ง”

หลังจากลงปลูกได้ 10 วัน รากมะนาวก็จะเดินภายในวัสดุปลูก ก็ให้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 25-6-6 โดยหยอดห่างจากลำต้นประมาณ 1 คืบ จำนวน 3 จุด จุดละ 10 เม็ด รอบต้น ทำให้ปุ๋ยกระจายทั่ววัสดุปลูกและรากจะค่อย ๆ ดูดซึมอย่างพอดี แต่ข้อสำคัญคือการรดน้ำ ต้องรดครั้งละน้อย ๆ พอแค่ให้ดินชื้น ซึ่งจะทำให้ปุ๋ยละลายและรากก็ดูดซึมไปใช้ได้เนื่องจากรากมะนาวจะอยู่บริเวณ ผิวดินเท่านั้น ถ้าหากรดน้ำมากเกินไป ปุ๋ยก็จะร่วงลงด้านล่างหมด รากดูดซึมไม่ได้

“หลังจากปลูกได้ประมาณ 2 สัปดาห์ วัสดุรองพื้นก็เริ่มยุบตัวทำให้วัสดุปลูกในหลุมยุบเป็นรูปก้นกะทะ น้ำและสารอาหารต่าง ๆ ที่ให้ก็ไหลเข้าสู่โคนต้น ช่วยให้การดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ของมะนาวมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และเมื่อครบ 1 เดือน มะนาวเริ่มแตกยอดและขยายกิ่งก้านสาขา ก็เริ่มใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ฟาร์มใช้มูลนกกระทา ประมาณ 1 กำมือโรยรอบโคนต้น จากนั้นก็ใส่ทุก ๆ 10 วันไปตลอด พร้อมเพิ่มปริมาณการให้ตามขนาดของต้นมะนาวที่โตขึ้น หลังจากปลูกได้ประมาณ 6-7 เดือน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ ซึ่งการปลูกวิธีการนี้ทำให้ต้นมะนาวสมบูรณ์ แข็งแรงพร้อมให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ที่ส่วนวโรชา ได้ผลผลิตมากถึง 3,000 ลูกต่อต้นเลยทีเดียว

“อีกสิ่งที่สำคัญของการปลูกมะนาวคือการควบคุมและป้องกันโรค ซึ่งโรคที่สำคัญของมะนาวได้แก่ โรคแคงเกอร์หรือราสนิม ซึ่งถือเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มาคู่กับต้นมะนาว โรคเชื้อรา เป็นโรคที่ติดมาจากวัสดุปลูกต่าง ๆ และหนอนกินยอดอ่อนมะนาว ซึ่งทำให้ผลผลิตเสียหาย ดังนั้นผู้ปลูกมะนาวควรศึกษาถึงลักษณะและอาการของโรคต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดี เพื่อการควบคุมป้องกันจะได้มีประสิทธิภาพ”

เกษตรกรท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายพันธุ์มะนาวและวิธี ปลูกมะนาวให้ได้ผลผลิตดี สามารถติดต่อได้ที่สวนมะนาววโรชา โทร. 08-6765-6845, 08-8118-8234, 08-7519-1288

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
อ่างทอง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เกษตรกรก้าวหน้า
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM