เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แนะเกษตรกรปลูกข้าวโพดหวานแทนทำนาปรังในช่วงฤดูแล้ง สร้างรายได้เฉลี่ย 10,000 บาทต่อไร่
   
ปัญหา :
 
 
21 ม.ค.58 ที่แปลงเกษตรบ้านใคร่นุ่น ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เกษตรกรจากบ้านกุดร่องหมู่ 5 ,บ้านใคร่นุ่น หมู่ 10 และ หมู่ 14 หันมาปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวเพื่อขายเป็นรายได้เสริม โดยปลูกมากในช่วงฤดูแล้ง ทำรายได้ให้เกษตรกรเฉลี่ย 10,000 บาทต่อไร่ และหากต้มขายด้วยจะมีรายได้เพิ่มอีก 7,000-8,000 บาท ดังนั้น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยสำนักงานเกษตรอำเภอกันทรวิชัย ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม และเทศบาลตำบลท่าขอนยาง จึงร่วมกันจัดงาน “ข้าวโพดดีที่กันทรวิชัย” ช่วยชาวบ้านงดทำนาปรัง หันมาปลูกข้าวโพดอินทรีย์สร้างรายได้
 
             นายอำพน ศิริคำ เกษตรอำเภอกันทรวิชัย กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีน้ำใช้ในการเกษตรไม่พอทำนาปรัง จึงรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวและผักปลอดสารพิษในทุกตำบล ทดแทนข้าวนาปรังที่ใช้น้ำมาก ทั้งนี้ได้ขอรับการสนับสนุนกากน้ำตาลจากโรงงานน้ำตาลวังขนาย จำนวน 700กิโลกรัม เพื่อทำกับดักผีเสื้อหนอนและทำน้ำหมักชีวภาพ โดยร่วมมือกับส่วนราชการ ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งมีนักศึกษาและคณาจารย์กว่า35,000 คน มาสนับสนุนการตลาด ภายใต้แนวคิด “ นักศึกษา... คณาจารย์ , ทานข้าวโพดคนละฝัก...และผักปลอดสาร ช่วยชาวบ้าน...งดทำนาปรัง ”
 
             โดยงานข้าวโพดดีที่กันทรวิชัย” มีกิจกรรมสาธิตการต้มข้าวโพด จัดคาราวานรถข้าวโพดต้มสู่ผู้บริโภค , สาธิตการควบคุมศัตรูข้าวโพดโดยวิธีผสมผสาน ,การแปรรูปข้าวโพดโดยกำนันสุบัน ชุ่มอภัย ,สาธิตการใช้กังหันลมผันน้ำเพื่อการเกษตร, และการไถกลบตอซังให้เกษตรกรฟรีพื้นที่ 30 ไร่ ส่วนกิจกรรมสร้างสีสัน คือ การประกวดคนฟันหรอ ภายใต้แนวคิดถึงคนจะฟันหลอแต่ข้าวโพดฟันไม่หลอ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตัวแทนจากหมู่บ้านต่างๆที่มีฟันหลอ โดยเฉพาะฟันบริเวณฟันด้านหน้า มาเดินโชว์ตัวถือข้าวโพดฝักงามเมล็ดเต็ม ผลผลิตของเกษตรกรอำเภอกันทรวิชัย ที่มีรสชาติทั้งหวานกรอบและเหนียวนุ่ม  ซึ่งนางทองเคลือบ อินทรส เป็นผู้ชนะการประกวด จากนั้นก็ให้ผู้เข้าประกวดคนฟันหลอมาแสดงเทคนิควิธีการกินข้าวโพด แสดงให้เห็นว่าแม้ฟันจะหลอแต่ก็กินข้าวโพดได้จนหมดฝัก
 
             นอกจากนี้มีการจับคู่แข่งขันกินข้าวโพด รุ่นทั่วไปทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยคนที่ใช้ผ้าปิดตาเป็นผู้ถือฝักข้าวโพดป้อนให้คู่ของตัวเองกินจำนวน 3 ฝัก ส่วนใหญ่วิธีการแทะวนรอบจนหมดฝัก ท่ามกลางชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆที่คอยส่งเสียงเชียร์ให้กำลังใจตัวแทนหมู่ บ้านของตัวเองด้วยความสนุกสนาน
 
             นายสุบรรณ ชนะมาร เกษตรกรบ้านกุดร่อง หมู่ 5 ตำบลท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย บอกว่า ปลูกข้าวมานานกว่า 10 ปี ควบคู่กับการทำนา โดยปลูก 3 สายพันธุ์ มีพันธุ์ข้าวเหนียว พันธุ์สีเหลือง และพันธุ์สีดำ ได้รับความนิยมบริโภคทั้ง 3 สายพันธุ์ ครอบครัวตนเองมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ 5 - 6 ไร่ พื้นที่ทำนาประมาณ 9 ไร่ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในแต่ละแปลง ได้ผลผลิตเป็นฝักข้าวโพดสดขายให้กับลูกค้าไร่ละกว่า 10,000 บาท ขณะที่บางส่วนตนเองนำข้าวโพดมาต้มขายเพิ่มมูลค่า โดยจะนำไปขายที่ตลาดในเมืองมหาสารคาม และตามงานเทศกาลต่างๆ ราคาขายถ้าเป็นฝักใหญ่ ขาย 3 ฝัก 20 บาท ฝักเล็ก 4 - 5 ฝัก ราคา 20 บาท ทุกสายพันธุ์ ทำให้มีรายได้เพิ่มอีก 7,000-8,000 บาท ทำให้ตนมีรายได้จากการปลูกข้าวสลับกับการปลูกข้าวโพดเช่นนี้ตลอดทั้งปี
 
             สำหรับอาชีพปลูกข้าวโพดยังมั่นใจว่าเป็นอาชีพที่ดี ถ้าทำถูกวิธี จะดีกว่าทำนา เพราะมีราคาขายมาตรฐาน ไม่เหมือนข้าว ซึ่งมีราคาไม่แน่นอนและใช้ต้นทุนค่าปุ๋ยสูง ใช้น้ำมากและดูแลยากกว่า ส่วนการปลูกข้าวโพดใช้ต้นทุนไม่เกิน 2,000 บาทต่อไร่ ใช้ปุ๋ยน้อย น้ำน้อย ทุนเมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 700 - 800 ร้อยบาทต่อไร่  สามารถแบ่งพื้นที่ทำสลับหมุนเวียนทุกฤดู ให้มีผลผลิตออกตลาดทุกวัน โดยไม่จำเป็นต้องขายผ่านพ่อค้าคนกลาง มีรายได้สามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
มหาสารคาม
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก 21 ม.ค.2558
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM