เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยง 'ปลาหมอ' สร้างเงิน ผลิตผลจาก 'ฟาร์มโปโล'
   
ปัญหา :
 
 
 ปลาหมอตัวละ 1 กก.เป็นความสำเร็จของเกษตรกรในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ที่ลองผิดลองถูกเกือบ 4 ปี นำปลาหมอพันธุ์พื้นบ้านผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอท้องตลาด ผ่านกระบวนการแปลงเพศจนเป็นสายพันธุ์ที่นิ่ง ไม่ข้ามสายพันธุ์ สร้างชื่อเสียงให้ โปโลฟาร์ม เป็นที่ยอมรับมายาวนานเกือบ 10 ปี จนเจ้าของ นิตยา กัณฑิศักดิ์ วัย 46 ปี มีเครือข่ายเป็นเกษตรกรเพาะเลี้ยงปลาหมอทั่วประเทศ และมีฟาร์มเพาะเลี้ยงของตัวเองกว่า 40 บ่อ 
 
                       ความอุดมสมบูรณ์ของบ้านโปโล ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ นับเป็นแหล่งเลี้ยงปลาหมอแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศ มีเกษตรกรเลี้ยงปลาหมอ 81 ราย อัตราเฉลี่ยปลาหมอสู่ตลาด 700-800 ตันต่อปี 
 
                       นิตยา กัณฑิศักดิ์ เจ้าของฟาร์มโปโล เล่าว่า เดิมทีได้เพาะเลี้ยงปลาดุกแต่เมื่อเกิดปลาดุกราคาตกต่ำ จึงมีแนวคิดที่จะหาพันธุ์ปลาใหม่ๆ มาเพาะเลี้ยง กระทั่งเห็นปลาหมอตามท้องนา ที่คนอีสานนิยมบริโภค เพราะเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ประกอบอาหารได้หลากเมนู อีกทั้ง ปลาหมอยังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วทุกภาค จึงเริ่มศึกษาหาความรู้เพื่อจะเริ่มเรียนรู้การเลี้ยงปลาหมอ จากทั้งสถานศึกษา เกษตรกรที่เคยเลี้ยงมาก่อนลองผิดลองถูกมานาน สุดท้ายเลยลองขยายพันธุ์เอง เอาปลาหมอตามท้องไร่ท้องนามาผสมพันธุ์กับปลาหมอที่ขายตามท้องตลาด กระทั่งประสบผลสำเร็จ สามารถนำปลาหมอที่อยู่ในช่วงอนุบาลมาแปลงเพศตามเทคนิควิธีการของทางฟาร์ม และเลี้ยงโดยอาหารปลาดุก ใช้เวลาเลี้ยงให้อาหารเช้าเย็นอยู่ 3 เดือน ก็ได้ปลาหมอไซส์ยักษ์จำหน่าย
 
                       “คุณสมบัติเด่นของปลาหมอจากฟาร์มโปโล จะมีโครงสร้างลำตัวคล้ายรูปใบโพธิ์ หัวเล็ก ขึ้นสัน ตัวสีเหลืองทองและมีไข่ทุกตัว ระยะเวลาเลี้ยง 90 วัน ปลาจะมีขนาด 300-400 กรัม หรือ 3 ตัว ต่อ 1 กก. ขณะที่การเลี้ยง 120 วัน จะมีขนาดตัวละ 1 กก.สำหรับบ่อจะมีขนาด 1 ไร่ ความลึกประมาณ 1.20-1.50 เมตร เลี้ยงปลาหมอได้ 1.5-2 หมื่นตัว อัตราการตายจะน้อยกว่าปลาอื่นๆ เพราะมีความอึด ความทนต่อภาวะแห้งแล้งน้ำน้อยเป็นอย่างดี"
 
                       นิตยา ระบุว่า ตอนนี้ปลาหมอขายกันที่ปากบ่อ ราคา กก.ละ 80-100 บาท ส่วนการจำหน่ายแบบปลาน็อกเพื่อส่งห้องเย็นเฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 100 บาท 1 บ่อจะได้ปลาสดวัย 3 เดือนอยู่ที่ 5,000-6,000 กก. ขณะที่ทางโปโลฟาร์มยังจำหน่ายพันธุ์ปลาหมอวัยอนุบาล ซึ่งมีเครือข่ายเกษตรกรอยู่ทั่วประเทศ แต่ตอนนี้ยอดจองพันธุ์ปลาหมอของทางฟาร์มคิวยาวถึงปีหน้า แต่ถ้าเกษตรกรสนใจสามารถมาชมการเพาะเลี้ยงและขอคำปรึกษาได้ที่ฟาร์ม 
 
                       อย่างไรก็ตาม สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจเพาะเลี้ยงปลาหมอเป็นอาชีพเสริมและอาชีพหลัก นิตยา บอกว่า มีข้อมูลสำคัญที่ต้องเสนอที่ขณะนี้ปลาหมอยังเป็นที่ต้องการของตลาด มีผู้นิยมบริโภคจำนวนมาก รวมถึงการส่งออกไปต่างประเทศในลักษณะเนื้อปลาสด ถือเป็นช่องทางโอกาสสำคัญที่จะสร้างรายได้และเม็ดเงินจากการทำประมงด้วยการ เลี้ยงปลาหมอ อย่างที่ฟาร์มโปโลได้ทำมาตลอดระยะเวลา 10 ปี ขณะที่ประชาชนทั่วไปก็อยากจะเชิญชวนให้ลองมาบริโภคปลาหมอดูบ้าง เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารเป็นสารพัดเมนูแสนอร่อยได้มากมาย แบบไม่มีสารตกค้าง เมนูยอดนิยมทั้งปลาจุ่ม ปลาลวกจิ้ม ปลาทอดแดดเดียว และฉู่ฉี่ เป็นต้น
 
                       ความสำเร็จของนิตยา กัณฑิศักดิ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาหมอ แม้ว่าวุฒิการศึกษาเพียง ม.6 แต่ด้วยการลองผิดลองถูก ความพยายาม ไม่ย่อท้อแม้จะพบอุปสรรคปัญหามามากมาย ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นที่โปโลฟาร์ม ฟาร์มชาวบ้านของเกษตรกรตัวเล็กๆ จึงถือเป็นต้นแบบของเกษตรกรที่ควรเอาอย่าง และพร้อมที่จะตอบแทนสังคมในการมอบโอกาสดีๆ ให้เกษตรกรไทยทั่วประเทศ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กาฬสินธุ์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก 11 มิ.ย.58
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM