เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มาทำปุ๋ยหมัก อย่างง่ายๆ ไว้ใช้เอง
   
ปัญหา :
 
 

คุณประโยชน์ ของปุ๋ยหมัก อาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

หนึ่ง ช่วยปรับปรุงสมบัติต่างๆ ของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช กรณีดินนั้นเป็นดินเนื้อละเอียดอัดตัวกันแน่น เช่น ดินเหนียว ปุ๋ยหมักก็จะช่วยทำให้ดินนั้นมีสภาพร่วนซุยมากขึ้น ไม่อัดตัวกันแน่นทึบ ทำให้ดินมีสภาพการระบายนํ้า ระบายอากาศดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มนํ้า หรือดูดซับนํ้าที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชไว้ได้มากขึ้น คุณสมบัติในข้อนี้

เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของปุ๋ยหมัก เพราะดินที่มีลักษณะร่วนซุย ระบายนํ้าระบายอากาศได้ดีนั้น จะทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้รวดเร็วแข็งแรง แตกแขนงได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ จึงดูดซับแร่ธาตุอาหารหรือนํ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพส่วนในกรณีที่ดินเป็นดินเนื้อหยาบ เช่น ดินทราย ดินร่วนปนทราย ซึ่งส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า มีอินทรียวัตถุอยู่น้อย ไม่อุ้มนํ้า การใส่ปุ๋ยหมัก ก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และทำให้ดินเหล่านั้นอุ้มนํ้า หรือดูดซับความชื้นไว้ให้พืชได้มากขึ้น ในดินเนื้อหยาบจึงควรต้องใส่ปุ๋ยหมักให้มากกว่าปกติ

สอง ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในแง่ของการช่วยเพิ่มความ อุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้าๆ และสมํ่าเสมอ

โดยทั่วไปแล้ว ปุ๋ยหมักจะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชที่สำคัญดังนี้คือธาตุไนโตรเจนทั้งหมด ประมาณ 0.4-2.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ประมาณ 0.2-2.5 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียมในรูปที่ละลายนํ้าได้ ประมาณ 0.5-1.8 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแร่ธาตุอาหารดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเศษพืชที่นำมาหมัก และวัสดุอื่นๆ ที่ใส่ลงไปในกองปุ๋ย

ถึงแม้ปุ๋ยหมักจะมีธาตุอาหารหลักดังกล่าวอยู่น้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยหมักมีข้อดีกว่าตรงที่นอกจากธาตุอาหารทั้ง 3 ธาตุ ที่กล่าวมาแล้ว ปุ๋ยหมักยังมีธาตุอาหารพืชชนิดอื่นๆ อีก เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก สังกะสี แมงกานีส โบรอน ทองแดง โมลิบดีนัม ฯลฯ ซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะไม่มีหรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้นแร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก เพียงแต่ต้นพืชต้องการในปริมาณน้อยเท่านั้นเองปุ๋ยหมักยังมีคุณค่าในแง่ของการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์อีกหลายๆ อย่าง เช่น ช่วยทำให้แร่ธาตุอาหารของพืชที่มีอยู่ในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ช่วยดูดซับแร่ธาตุอาหารพืชเอาไว้ไม่ให้ถูกนํ้าฝนหรือนํ้าชลประทานชะล้าง สูญหายไปได้ง่าย เป็นการช่วยถนอมรักษาแร่ธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้อีกทางหนึ่ง เป็นต้นจากคุณสมบัติดังที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า แม้ปุ๋ยหมักจะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารในปุ๋ยไม่เข้มข้นเหมือนปุ๋ยเคมี แต่ก็มีลักษณะอื่นๆ ที่ช่วยรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เป็นอย่างดีการทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักอย่างง่าย ดังนี้

หนึ่ง นำกิ่งไม้ ใบไม้หรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เปลือก ถั่ว แกลบดิบ ซังข้าวโพด ฯลฯ ใส่ในถังตาข่าย สูงประมาณ 15 เซนติเมตร

สอง นำขี้วัวมาเททับใบไม้ สูงประมาณ 5 เซนติเมตร

สาม รดนํ้าให้ชุ่ม (นํ้า ประมาณ 5 ลิตร)

สี่ ทำซํ้า ข้อ 1-3 อีก 3 ครั้ง จะได้กองปุ๋ยหมัก สูงประมาณ 80  เซนติเมตร

ห้า นำใบไม้ที่ย่อยแล้วมาเททับขี้วัว สูงประมาณ 5 เซนติเมตร

หก รดนํ้าให้ชุ่ม (นํ้า ประมาณ 5 ลิตร)

เจ็ด นำพลาสติกใสมาพันรอบถังตาข่าย โดยพันให้สูงจากขอบล่าง ของถังตาข่าย ประมาณ 10 เซนติเมตร (ถ้าไม่มีพลาสติกก็ไม่ต้องนำมาพันรอบถังก็ได้ แต่ต้องพยายามรดนํ้ารอบถังตาข่ายเพื่อเพิ่มความชื้นให้แก่กองปุ๋ย อย่าปล่อยให้แห้ง)

แปด รดนํ้าทุกๆ 5-7 วัน ทำโดยใช้ไม้หรือเหล็กแทงเข้าไปในกองปุ๋ยให้เป็นรู เพื่อที่จะกรอกนํ้าลงไป เนื่องจากเมื่อปุ๋ยยุบตัวลงจะมีความแน่นมากขึ้นการรดนํ้าจะทำให้นํ้าซึมลงไปเฉพาะด้านบนของกองปุ๋ย ส่วนด้านล่างกองปุ๋ยจะไม่ได้รับนํ้า การใช้ไม้หรือเหล็กแทงเข้าไปในกองปุ๋ยนอกจากจะเป็นการเติมนํ้าแล้วยังเป็นการช่วยเติมอากาศเข้าไปในกองปุ๋ยอีกด้วย

เก้า ใบไม้จะกลายเป็นปุ๋ยหมัก ในช่วงเวลาประมาณ 45-60 วัน (สังเกตกองปุ๋ยหมักจะยุบตัวลง ประมาณ 30-40 เซนติเมตร และปุ๋ยหมักจะมีสีดำ ถ้าขุดลงไปจะไม่พบใบไม้ แต่ใบไม้จะกลายเป็นปุ๋ยหมดแล้ว)

สิบ ปุ๋ยหมักสามารถนำไปใช้ได้เลย

สิบเอ็ด ถ้าต้องการนำไปบรรจุถุง ต้องล้มกองปุ๋ยหมักแล้วตากแดดประมาณ 2-3 วัน ก็จะได้ปุ๋ยที่แห้งสามารถบรรจุถุงได้ แต่ถ้าปุ๋ยหมักยังมีขนาดใหญ่อยู่ก็นำไปบดย่อยก่อนบรรจุลงถุงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

สิบสอง การทำปุ๋ยหมักครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องซื้อขี้วัวอีกก็ได้ เราสามารถใช้ปุ๋ยหมักที่เราทำไว้แทนขี้วัวได้เลยทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่เหลือใช้ในครัวเรือนในวงบ่อซีเมนต์นำบ่อปูนซีเมนต์ มาวางบนอิฐหรือลูกปูน ให้ขอบล่างของบ่อปูนซีเมนต์อยู่สูงจากพื้นดิน 15 เซนติเมตร นำใบไม้หรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใส่ในบ่อปูนซีเมนต์ให้สูง 40 เซนติเมตร จากนั้นนำเศษอาหารมาเทใส่โดยความสูงของเศษอาหารไม่ควรเกิน 30 เซนติเมตร แล้วนำใบไม้มาเททับอีกครั้ง โดยให้มีความสูง 15-20 เซนติเมตรในระหว่างช่วงเวลาการหมัก กองปุ๋ยจะยุบตัวลง ให้นำเศษอาหารมา

เติมลงไปแล้วนำกิ่งไม้ ใบไม้มาเททับ เพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวันมาตอม

ขั้นตอนต่อมาคือ การรดนํ้าด้วยนํ้าหมักชีวภาพหรือใช้สารเร่ง พด.ของกรมพัฒนาที่ดิน ผสมนํ้ารดเพื่อเร่งการย่อยสลาย จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 30วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมัก ใช้พลั่วตักปุ๋ยหมักซึ่งกองอยู่ด้านล่างของบ่อปูนซีเมนต์ไปใช้งานได้เลย โดยด้านบนสามารถนำเศษอาหารมาเติมได้ตลอด

เครื่องทำปุ๋ยหมักในครัวเรือน นวัตกรรมใหม่จากไต้หวันถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของไต้หวันที่ผลิตเครื่องทำปุ๋ยหมักในครัวเรือนเพื่อลดปัญหาขยะภายในบ้านและสร้างให้เกิดประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้เหล่านี้โดยตัวเครื่องถูกออกแบบวิธีมาให้ง่ายต่อการใช้งาน รองรับขยะหรือเศษอาหารเศษผลไม้ในครัวเรือนได้วันละ 2 กิโลกรัมตัวเครื่องจะมีการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมแล้ว ในตัวเครื่องยังมีใบพัดเหล็กที่คอยหมุนให้เศษอาหารคลุกเคล้ากันอยู่ตลอดเวลาหรือทุกครั้งที่เรา

เปิด-ปิดฝา

โดยจากข้อมูลพบว่า เครื่องทำปุ๋ยหมักในครัวเรือนดังกล่าวประหยัดไฟมาก ในไต้หวันขณะนี้เครื่องดังกล่าวถูกไปใช้ในบ้านเรือนเรื่องเรียนหน่วยงานต่างๆ ที่เห็นถึงความสำคัญของปุ๋ยหมัก ลดปริมาณขยะและลดภาวะโลกร้อน

ขั้นตอนในการทำปุ๋ยหมักจากเครื่องทำปุ๋ยหมักในครัวเรือน ประกอบ

ด้วย ถุงหัวเชื้อจุลินทรีย์ ถุงเศษไม้ย่อยละเอียดและถุงเศษไม้ย่อยหยาบ (วัสดุตั้งต้นจะมาพร้อมกับตัวเครื่อง)

นำเศษอาหาร เศษผลไม้ที่เหลือทิ้งในครัวเรือน นํ้าหนักประมาณ 2กิโลกรัม แกะถุงเศษไม้ย่อยหยาบและละเอียดคลุกเคล้าเข้าด้วยกันทั้งหมดแกะซองหัวเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้เพียง 1 ใน 6 ของปริมาณที่บรรจุในซอง จากนั้นนำนํ้าสะอาดประมาณ 2 ลิตร มาละลายเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อกระตุ้นการมีชีวิต นำ

หัวเชื้อจุลินทรีย์ไปคลุกเคล้าเศษไม้ที่เตรียมไว้ก่อนหน้านี้ เคล้าให้เข้ากันแล้วนำเศษไม้ที่มีเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดใส่ในถังของตัวเครื่องเพื่อจะบ่มเลี้ยงจุลินทรีย์ให้เพิ่มจำนวนเสียก่อน ประมาณ 2 วัน ก่อนที่จะใส่เศษอาหารลงไปในตัวเครื่องเมื่อปล่อยให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตในวัสดุ คือเศษไม้ไว้แล้ว 2 วัน ก็จะพร้อมให้เศษอาหารที่เหลือใช้ในครัวเรือน ได้ครั้งละประมาณ 2 กิโลกรัม

หลังใส่เศษอาหารให้ปิดฝา ตัวเครื่องจะปรับอุณหภูมิให้ร้อนขึ้น ประมาณ 60 องศา พร้อมใบพัดเหล็กในตัวเครื่องจะหมุนให้เศษวัสดุที่มีจุลินทรีย์และเศษอาหารคลุกเคล้ากัน ทำให้เกิดกระบวนการหมักย่อย ซึ่งทุกๆ วัน โดยก่อนเติมเข้าไปใหม่หากสังเกตว่าเศษอาหารชุดก่อนหน้านี้ดูย่อยสลายแล้วให้นำไปใช้หรือเอาออกจากตัวเครื่อง 2 ใน 3 ส่วน โดยให้เหลือไว้ในตัวเครื่องสัก 1 ส่วน เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์ยังคงเหลือย่อยเศษอาหารต่อไปเรื่อยๆ อีกราว 5-10 วัน เศษอาหาร

ก็จะกลายเป็นปุ๋ยหมักพร้อมนำไปใช้ใส่ต้นไม้หรือนำไปใช้ประโยชน์

สนใจเครื่องทำปุ๋ยหมักในครัวเรือน ติดต่อได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้

ทางการเกษตร โทร. (081) 901-3760

 

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 8 มิ.ย.58
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM