เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ถั่วดาวอินคา น่าสนใจแต่ข้อมูลยังไม่ชัดเจน
   
ปัญหา :
 
 

ได้รับการติดต่อให้ปลูกถั่วดาวอินคา โดยผู้มาติดต่อบอกว่า จะรับซื้อคืนทั้งหมด ในราคายุติธรรม พร้อมนำเมล็ดพันธุ์มาให้ และจะหักค่าใช้จ่ายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต และอธิบายว่า มีประโยชน์มากมาย ตลาดมีความต้องการสูง ไม่มีความมั่นใจ จึง จ.. มาขอคำปรึกษาคุณหมอเกษตร อีกทั้งยังไม่เคยรู้จักพืชชนิดนี้มาก่อน ขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

วิธีแก้ไข :
 

ถั่วดาวอินคา(Plukennetia volubilis Linneo) ความเป็นมาของชื่อ ด้วยมีผลเป็นแฉก คล้ายรูปดาว เมล็ดคล้ายเมล็ดถั่ว และมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่เปรู ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอินคา

จึงเรียกชื่อติดปากว่า ถั่วดาวอินคา ทั้งนี้ ชื่อดั้งเดิมเป็นภาษาฝรั่ง คือ ถั่วอินคา (Inca Peanut)ในความเป็นจริง พืชชนิดนี้ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว แต่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับยางพารา และสบู่ดำ ถั่ว

ดาวอินคา แม้ต้องการความชื้นสูง กลับทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ใบมีลักษณะคล้ายใบพลู ยาว10-12 เซนติเมตร และกว้าง 8-10 เซนติเมตร ใบเกิดตามข้อ อีกทั้งยังเป็นไม้เถาเลื้อย อายุยาว

นาน 50-70 ปี เจริญเติบโตได้ดี ความสูง 200-1,500 เมตร เหนือระดับนํ้าทะเลปานกลาง ออกดอกเมื่อมีอายุ 5 เดือน หลังจากปลูกลงดิน และผลสุกแก่ ใช้เวลาอีก 5 เดือนเท่ากัน เฉลี่ย

แล้วสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี ถั่วดาวอินคา ออกดอกเป็นช่อ ตามซอกใบ มีดอกย่อย 40-60 ดอก แต่จะมีดอกเพศเมียอยู่เพียง 1-3 ดอก ที่บริเวณโคนช่อดอกหลังผสมเกสรแล้ว ดอกมีการพัฒนาต่อไปเป็นผล รูปดาว มี 5 แฉก ใน 1 แฉก ให้เมล็ด 1 เมล็ดระยะแรก ผลมีสีเขียว ต่อมาเมื่อสุกแก่ ผลเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเข้ม เมล็ดมีลักษณะกลมรี และแบน คล้ายเมล็ดถั่ว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.0 เซนติเมตร การขยายพันธุ์ โดยใช้วิธีเพาะเมล็ด ได้ผลดี ต้นกล้าอายุ 60 วัน นำลงปลูกในแปลงได้ ด้วยถั่วดาวอินคา เป็นไม้เถา จำเป็นต้องทำค้าง หรือร้าน แบบเดียวกับค้างองุ่น ระยะปลูกที่นิยมกัน อยู่ที่ 2x2 หรือ 2x3 เมตร ปีแรกให้ผลผลิต เฉลี่ย 60 กิโลกรัม ต่อไร่ และในปีถัดไปจะให้ผลผลิต 120 กิโลกรัม ต่อไร่ องค์ประกอบสำคัญในเมล็ด มีไขมัน โปรตีน และแป้ง 42, 24 และ 30 เปอร์เซ็นต์ การนำไปใช้ประโยชน์ เน้นไปที่การผลิตเป็นเครื่องสำอาง ประเทืองผิว อีกทั้งนำไปประกอบอาหาร เช่น ทำถั่วอบแห้ง เป็นขนมขบเคี้ยวกรณีที่ได้รับการเชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการ ขอให้ศึกษาหนังสือสัญญาอย่างละเอียด สอบถาม

ว่ามีโรงงานแปรรูปตั้งอยู่ที่ไหน หรือเพียงส่งวัตถุดิบไปแปรรูปยังต่างประเทศ ที่น่าเป็นห่วงคือ

พืชชนิดนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดให้การรับรอง ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญ พืชใดก็ตาม ถ้าปลูกง่ายให้ผลผลิตเร็ว มักจะอ่อนไหวในเรื่องราคา ลองนำ ข้อคิดเห็นข้างต้นไปพิจารณาดูครับ ขอให้โชคดี ขอขอบคุณ ดร. สุนทร พิพิธแสง

 

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ตลาดขวัญ
อำเภอ / เขต :
ดอยสะเก็ด
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
50220
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 29 ก.ค.58
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM