เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สถานการณ์การผลิตและการตลาด ของผลไม้ไทยในปัจจุบันและอนาคต
   
ปัญหา :
 
 

ผมเป็นชาวสวนมือใหม่ ปลูกผลไม้ไว้หลายชนิดในภาคตะวันออก ได้ลองถูกลองผิดมาหลายปี ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง แต่มีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผมยังขาดข้อมูลทั้งด้านปริมาณการผลิตและการตลาด ผลไม้หลักๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน เงาะ มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ และผลไม้อื่นๆ ทั้งปัจจุบัน และ

แนวโน้มในอนาคตเป็นอย่างไร หากได้ข้อมูลแล้ว ผมจะได้นำไปวางแผนการปลูกไม้ผลได้อย่างมั่นใจ ผมขอขอบคุณมาในโอกาสนี้

วิธีแก้ไข :
 

ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลไม้เขตร้อนรายใหญ่ของกลุ่มประเทศอาเซียน และอาจเป็นที่หนึ่งของเอเชียก็ไม่ผิด ด้วยสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยในการเพาะปลูก อีกทั้งประเทศไทยมีการพัฒนาไม้ผลเมืองร้อนมาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีประเทศมหาอำนาจ เจ้าอาณานิคมเข้ามาบีบบังคับให้เราผลิตพืชชนิดที่ตนต้องการนำกลับประเทศแม่ ทั้ง ชา กาแฟ มะพร้าว และอ้อย เป็นตัวอย่างผลการสำรวจสถานการณ์การผลิตและการตลาดผลไม้ไทย ในปี 2557ที่ผ่านมา ได้มีการสรุปไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ครับ

ทุเรียน มีพื้นที่เพาะปลูกที่ให้ผลผลิตแล้ว ประมาณ 570,425 ไร่

แหล่งปลูกสำคัญเรียงตามลำดับ คือ จังหวัดจันทบุรี ชุมพร และนครศรีธรรมราช การเพาะปลูกทุเรียน พื้นที่ลดลง เนื่องจากบางแห่งมีการตัดโค่นทุเรียนทิ้งเพื่อปลูกยางพาราและปาล์มนํ้ามันทดแทน อีกทั้งเกิดการระบาดของโรครากเน่า โคนเน่าในหลายพื้นที่ ด้วยสภาพอากาศปีที่ผ่านมาเอื้ออำนวยต่อ

การผลิต ทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบต่อหน่วยพื้นที่ได้ 631,632 ตัน โดยใช้บริโภคภายในประเทศ 238,622 ตัน ส่วนที่เหลือเป็นการส่งออก ลูกค้ารายใหญ่ มี ฮ่องกง จีน ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ส่วนออสเตรเลีย เป็น

ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพการนำเข้าสูง ประเทศคู่แข่งสำคัญมี เวียดนาม และมาเลเซีย 

เงาะ มีพื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 283,157 ไร่ ผลผลิตรวม 321,710 ตัน ใช้ บริโภคภายในประเทศ 309,589 ตัน ส่วนที่เหลือส่งออกไปต่างประเทศ แนว โน้มพื้นที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกยางพารา ปาล์มนํ้ามัน ขนุน กล้วยไข่ และลำไยทดแทน แต่ผลผลิตต่อหน่วยกลับเพิ่มขึ้นด้วยเหตุผล

เดียวกับทุเรียน ตลาดเงาะสดอยู่ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม และซาอุดีอาระเบีย ส่วนเงาะสอดไส้สับปะรดกระป๋อง มี สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เยอรมนี อินโดนีเซีย และเวียดนาม แหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่จันทบุรี  ชุมพร และนครศรีธรรมราช เช่นเดียวกับแหล่งผลิตทุเรียน มังคุด ราชินีผลไม้ มีพื้นที่เพาะปลูกที่ให้ผลผลิตแล้ว 412,605 ไร่ และ ได้ผลผลิตรวม 289,357 ตัน พื้นที่เพาะปลูกมังคุดเพิ่มขึ้น สวนทางกับทุเรียน

และเงาะ ปีที่ผ่านมาภาคเหนือและภาคใต้ ผลผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนภาคตะวันออก ผลผลิตกลับลดลง เนื่องจากปีที่แล้วให้ผลดกมาก ปีนี้ต้นไม้ฟื้นตัวไม่ทัน มังคุด เป็นผลไม้ที่ส่งออกไปต่างประเทศมากกว่าการบริโภคภายในประเทศ คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทั้งประเทศ มีเวียดนาม เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่

ปัจจุบัน นํ้ามังคุดพร้อมดื่มกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แหล่งปลูกมังคุดที่  สำคัญเช่นเดียวกับทุเรียน และเงาะ

ลองกอง พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 361,277 ไร่ ผลผลิตรวม 177,978 ตัน

ใช้บริโภคภายในประเทศ 95 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกลองกองลดลง ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกับทุเรียน อย่างไรก็ตาม ที่ภาคเหนือกลับมีการขยาย   พื้นที่เพิ่มขึ้น แหล่งผลิตที่นี่มีเป้าหมายเพื่อส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม

ประเทศที่มีศักยภาพในการส่งออก อยู่ที่ตะวันออกกลาง แหล่งปลูกลองกอง  สำคัญอยู่ที่จันทบุรี นราธิวาส และยะลา

ลำไย พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 1,057,111 ไร่ ผลผลิตรวม 995,108 ตัน  พื้นที่เพาะปลูกลำไย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากขายได้ราคาดี โดยเฉพาะผล  ผลิตที่บังคับให้ออกผลนอกฤดู ปัจจุบันมีตัวแทนหรือล้งชาวจีนและเวียดนาม

เข้ามารวบรวมและซื้อผลผลิตแล้วส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ปริมาณลำไยที่ ใช้บริโภคภายในประเทศมีเพียง 50,000 ตันเศษ ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังต่าง

ประเทศทั้งในรูปผลสด และอบแห้ง ตลาดสำคัญอยู่ที่ฮ่องกง จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนสหรัฐอเมริกามีข้อแม้ว่า การนำเข้าประเทศต้องผ่านการ

ฉายรังสีแกมมา เพื่อกำจัดแมลงศัตรูที่จะติดไปกับผลลำไยเสียก่อน ทั้งนี้ ตลาด    ตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป เป็นตลาดที่มีศักยภาพในการนำเข้าสูง

ลิ้นจี่ พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 131,649 ไร่ ผลผลิตรวม 69,560 ตัน ใช้  บริโภคภายในประเทศ 53,103 ตัน ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้งใน  รูปผลสดและบรรจุกระป๋อง จีน ฮ่องกง มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นำเข้าในรูปผลสด ส่วนผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋องมี นิวซีแลนด์ เป็นผู้นำเข้าราย

ใหญ่ สิ่งจำเป็นเร่งด่วน ต้องแนะนำให้เกษตรกรมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวช่น การรมควันกำจัดแมลง และรักษาสีผิวของเปลือกผลให้คงสภาพอยู่ได้ยาว  นานขึ้น มะม่วง พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 2,131,590 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 3,308,230

ตัน ใช้บริโภคภายในประเทศ 3,219,265 ตัน ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังต่าง ประเทศ พื้นที่ปลูกมะม่วงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผลจากการก่อตั้งสหกรณ์ผู้ผลิต  มะม่วง และวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงมีการ  พัฒนาการสูงขึ้น ทั้งผลผลิตและคุณภาพ มะม่วงนํ้าดอกไม้ พรีเมี่ยมเกรดส่วน

ใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นและเกาหลี ส่วนเขียวเสวย และฟ้าลั่น ส่งออกไปยังจีน เวียดนาม มาเลเซีย และลาว มะม่วงอบแห้ง มีตลาดอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง  และสหราชอาณาจักร ประเทศคู่แข่งของไทย มี อินเดียกับฟิลิปปินส์

กล้วยหอม พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 86,640 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในแถบ ภาคกลาง เช่น จังหวัดเพชรบุรี ผลผลิตรวม 235,747 ตัน พื้นที่เพาะปลูกยังอยู่ ในสภาพคงที่ แต่ผลผลิตกลับเพิ่มขึ้น ผลผลิต 90 เปอร์เซ็นต์ ส่งออกไปยัง  ประเทศญี่ปุ่น แต่มีแนวโน้มลดลง ด้วยสาเหตุของคุณภาพการผลิตไม่สมํ่าเสมอ ทางญี่ปุ่นจึงกำชับให้รักษาคุณภาพให้ได้ตามกำหนด โดยอนุญาตให้นำ

เข้าได้ 8,000 ตัน ในปี 2558 นี้ และยกเว้นภาษีให้ทั้งหมด หรือเป็นศูนย์  เปอร์เซ็นต์ แต่เงื่อนไขอยู่ที่ต้องผลิตให้ได้นํ้าหนัก 120 กรัม ต่อผล และ ส้มโอ พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 167,000 ไร่ ผลผลิตรวม 245,490 ตัน ใช้บริโภคภายในประเทศ 232,967 ตัน ที่เหลือส่งออกไปยังต่างประเทศ ปีที่ ผ่านมาผลผลิตส้มโอลดลง เนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์นํ้าท่วม ในปี 2554 อีกทั้งมีต้นทุนการผลิตสูง และขาดแคลนแรงงานใช้ดูแลสวน และเก็บผล

ผลิต เกษตรกรจำนวนไม่น้อยเลิกล้มการทำสวนส้มโอไป ตลาดส่งออกที่สำคัญ อยู่ที่ฮ่องกง โดยนำไปเป็นเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้า ตลาดรองลงไป มี จีนและแคนาดา ส่วนตลาดที่มีศักยภาพ มีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เวียดนาม

จะเห็นว่า ปีหนึ่งๆ ผลไม้ไทยสามารถส่งออกนำเงินตราเข้า

ประเทศ คำนวณแล้วมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท ในแต่ละปีหากนำมารวมกับการส่งออกข้าว ยางพารา และมันสำปะหลังแล้ว จะมีมูลค่ามหาศาลเลยทีเดียวครับ

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
สามเสนนอก
อำเภอ / เขต :
ห้วยขวาง
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10310
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 22 มิ.ย.58
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM