ปัจจุบัน โรคไวรัสจุดวงแหวนมะละกอ เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง การระบาดของโรคนี้ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะการปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ และปลูกซํ้าที่เดิมติดต่อกัน การระบาดของโรคเกิดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ ระยะวัยอ่อน ยอดด่างหงิกงอ ระยะติดผลทำให้ติดผลน้อย และ
ระยะผลโต จะมีรอยวงกลมขนาดเล็ก ขอบนูนขึ้น คล้ายยางหนังสติ๊ก ขอบสีเขียวเข้มกระจายอยู่ทั่วผล เมื่อสุกแก่รอยนูนทำให้เนื้อในแข็งเป็นไต ชํ้า กินไม่อร่อย ขายก็ไม่ได้ราคา
วิธีลดความรุนแรง และป้องกันโรค นำเมล็ดพันธุ์ดีปราศจากเชื้อ
โรคติดมาด้วย เพาะในภาชนะเพาะชำที่แยกให้ห่างจากแปลงปลูก หรือที่เคยปลูกมะละกอมาก่อน เมื่อต้นกล้าอายุ 4-6 เดือน จึงปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้ด้วยขุดฟื้นดินตากแดดไว้จนแห้งดี แล้วย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 1-2
ตัน ต่อไร่ คลุกเคล้าลงดินก่อนปลูก จะให้ดีหว่านปูนขาว อัตรา 200-400 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกต้นกล้ามะละกอแล้ว ให้ปลูกแซมหรือสลับด้วยกล้วยนํ้าว้า เพื่อให้เกิดมีความหลากหลายของพันธุกรรมพืชในแปลงเดียวกัน ประการสำคัญ ห้ามปลูกพืชตระกูลพริก มะเขือ ฟัก แฟง และแตงโม ไว้ในบริเวณใกล้
เคียง หากพบต้นที่เริ่มแสดงอาการของโรค ให้ตัดแล้วฝัง หรือเผาทำลาย และ ต้องล้างทำความสะอาดมีด หรือกรรไกร หลังใช้งานแล้ว คอยระวังอย่าให้ เพลี้ยไฟบินเข้ามาในแปลงปลูก เพราะว่าแมลงชนิดนี้เป็นพาหะนำโรค ดังกล่าว การใช้สารเคมีกำจัดแมลงให้เป็นทางเลือกสุดท้าย และใช้เท่า ที่จำเป็นเท่านั้น หากทำได้ตามคำแนะนำ คุณจะปลูกมะละกอได้ผลใน
ระดับที่น่าพอใจ การปลูกมะละกอ จีเอ็มโอ ในบ้านเรานั้น คงต้องใช้เวลาอีกนานครับ