เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
คุณภาพน้ำที่เหมาะสำหรับรดกล้วยไม้
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเป็นผู้สนใจกล้วยไม้คนหนึ่ง และได้ทดลองปลูกไว้ดูเล่นที่บ้านจำนวนหนึ่ง แต่ต้นกล้วยไม้ไม่งามสมใจ อาจเนื่องมาจากการใช้น้ำประปารดก็เป็นได้ หากเกิดจากปัญหาเรื่องน้ำ ผมควรจะแก้ไขอย่างไร ขอเรียนถามเพียงเท่านี้ก่อนครับ
วิธีแก้ไข :
 
    น้ำ มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เริ่มจากเป็นองค์ประกอบหนึ่งในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต น้ำช่วยรักษาระดับอุณหภูมิภายในให้อยู่ในระดับปกติ และที่สำคัญน้ำทำหน้าที่ละลายธาตุอาหาร เช่น ปุ๋ย ให้ต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ดี น้ำที่เหมาะสำหรับนำมารดต้นไม้ นั้น ต้องสะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษกับต้นกล้วยไม้ละลายปะปนอยู่ และควรมีความเป็นกรด-ด่าง ที่ 6-7 หากน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้มีความเป็นกรดที่ระดับ 5.5 จำเป็นต้องยกระดับให้สูงขึ้น โดยเก็บกักน้ำไว้ในภาชนะและเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงอย่างช้าๆ แล้วคนให้ทั่ว จากนั้นตรวจสอบด้วยพีเฮสมีเตอร์ หรือกระดาษลิสมัสอย่างใดอย่างหนึ่ง จนได้ระดับที่ต้องการ เปิดฝาภาชนะทิ้งไว้อีก 2-3 วัน จึงนำไปรดต้นกล้วยไม้ได้ กรณีที่น้ำมีฤทธิ์เป็นด่าง หรือมีค่าเกิน 7 ต้องปรับให้น้ำมีความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 6-7 ด้วยการเติมด้วย กรดไนตริก ลงในน้ำอย่างช้าๆ พร้อมกับคนให้เข้ากัน แล้ววัดค่าด้วยอุปกรณ์ที่กล่าวมาแล้ว จนได้ความเป็นกรด-ด่างที่ระดับ 6-7 ตามต้องการ ปล่อยทิ้งไว้อีก 2-3 วัน จึงนำน้ำไปรดกล้วยไม้ได้ น้ำฝน เป็นน้ำที่สะอาดใช้รดต้นกล้วยไม้ได้ผลดีที่สุด หากที่รองรับการเก็บน้ำฝนที่สะอาด ก็จะได้น้ำสะอาด มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนที่ระดับความเป็นกรด-ด่างที่ 6.5 แต่ข้อจำกัดของการใช้น้ำฝนก็คือ หากเป็นฟาร์มขนาดใหญ่คงเป็นไปไม่ได้ที่จะกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้อย่างพอเพียง น้ำประปา เป็นน้ำสะอาดและจัดหาได้ง่าย และผ่านการปรุงแต่งมาแล้วเป็นอย่างดี เชื่อมั่นได้ว่าไม่มีสารพิษเจือปน มีเพียงสิ่งเดียวคือ คลอรีน สำหรับใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ซึ่งกล้วยไม้ไม่ต้องการ วิธีแก้ไข ให้สำรองน้ำเก็บในภาชนะที่เปิดฝา ปล่อยทิ้งไว้อีก 2-3 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยไปจนหมด จากนั้นนำน้ำไปรดกล้วยไม้ได้ นับว่าได้ผลดีใกล้เคียงกับการใช้น้ำฝน น้ำจากลำคลอง เป็นแหล่งน้ำหาง่าย แต่ควรห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งปศุสัตว์ ประการสำคัญน้ำในคลองหรือแม่น้ำต้องมีการไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา จุดอ่อนของน้ำคลองคือ บางฤดูกาลมักจะขุ่น เนื่องจากมีตะกอนดินขนาดเล็กละลายไหลมากับน้ำ ดังนั้น ก่อนนำไปรดกล้วยไม้ควรกรองด้วยตะแกรงตาถี่ หรือผ้าขาวบาง และข้อเสียอีกประการหนึ่ง เมื่อนำมารดกล้วยไม้แล้วมักมีตะไคร่น้ำเกาะติดอยู่กับกระถางหรือเครื่องปลูกมากกว่า น้ำฝนและน้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล ส่วนใหญ่น้ำที่ได้จากบ่อบาดาลหรือเรียกว่า น้ำใต้ดิน จะมีฤทธิ์เป็นด่าง และมีหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ ซึ่งเกลือแร่ชนิดนี้เมื่อละลายปุ๋ยเคมีมักจะจับธาตุฟอสฟอรัสไว้และสะสมอยู่ส่วนปลายรากของต้นกล้วยไม้ มีผลทำให้รากเกิดอาการไหม้และเน่าลงในที่สุด ดังนั้น ต้องปรับให้มีความเป็นกรด-ด่างที่ระดับ 6-7 ด้วยการเติมกรดไนตริกตามที่อธิบายมาแล้ว กวนหรือคนให้เข้ากันและวัดด้วยเครื่องมือจนได้ระดับที่ต้องการ ก่อนนำไปใช้รดกล้วยไม้ การให้น้ำกล้วยไม้ ควรให้ในช่วงที่อากาศเย็น ไม่มีแสงแดดจ้า เช่น ในช่วง 06.00-09.00 น. หรือช่วง 16.00-17.00 น. วิธีรดน้ำอย่างถูกวิธีต้องรดเฉพาะที่รากและเครื่องปลูกเท่านั้น ระวังอย่าให้น้ำไปถูกเรือนยอด โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดขนาดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า และสกุลช้าง เพราะน้ำที่ตกค้างอยู่บริเวณเรือนยอดจะทำให้ยอดและใบของกล้วยไม้เน่าเสียหายได้ง่าย
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
12
ตำบล / แขวง :
รัษฎา
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ภูเก็ต
รหัสไปรษณีย์ :
83000
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 381
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM