เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีทำชาผักเชียงดา ตามวิถีชาวบ้าน
   
ปัญหา :
 
 

วิธีทำชาผักเชียงดา ตามวิถีชาวบ้าน

วิธีแก้ไข :
 

ต้นเชียงดาหรือผักเชียงดา (Gymnema Dence) แต่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกผักเชียงดา พืชชนิดนี้ เป็นชนิดกึ่งเถาเลื้อย อายุข้ามปี มีลำต้นสีเขียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 0.5-5.0 เซนติเมตรเมื่อเด็ด หรือเกิดรอยแผลจะมียางเหนียวสีขาวคล้ายนํ้านมไหลออกมาและเป็นพืชใบเดี่ยว แตกออกตามข้อ มีรูปกลมรี ปลายใบแหลม ยาว 3.5-6.0 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อสีขาวอมเขียว ดอกย่อยมีขนาดเล็กและกลม ผลเป็นฝัก รูปคล้ายผลมะม่วงอกร่อง แต่ผอมและยาวกว่าเล็กน้อยผักเชียงดา พบกระจายตัวอยู่ในอินเดียศรีลังกา มาเลเซีย จีนตอนใต้ ไทย และในแอฟริกาบางประเทศ ส่วนในประเทศไทยนิยมปลูกในแถบจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง

และพะเยา ซึ่งล้วนนิยมนำใบสดมาใช้ประกอบอาหารมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่นผักเพียงดา ผักกูด ผักม้วนไก่ ผักเซ็ง และเครื่องจันป่า จากผลงานวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า ในผักเชียงดา อุดมไปด้วยกรดจิมเนมิก สารเบต้าแคโรทีน และวิตามินเอ มีสรรพคุณช่วยลดปริมาณนํ้าตาลในเลือด ตามที่คุณถามมา บำบัดโรคเบาหวาน บำรุงสายตา แก้ไอและขับเสมหะได้ดี และเน้นว่าการนำใบอ่อนมาบริโภค

โดยไม่ผ่านความร้อน จะได้ปริมาณสารสำคัญสูงที่สุด

วิธีทำผักชาผักเชียงดา ในระดับครัวเรือน ใบอ่อนและยอดอ่อน ใช้ทำยาดีที่สุด เช่นเดียวกับชาจีน ที่นิยมนำยอดชาอ่อน 3 ใบ มาผลิตใบชา จะขายได้ราคาแพงที่สุด แต่ยอดอ่อนหรือใบ

อ่อนคงมีปริมาณไม่เพียงพอ ต้องผสมไปกับใบเพสลาดของผักเชียงดาเข้าไปด้วย เก็บใบได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ล้างนํ้าให้สะอาด จนยางเหนียวหมดไป และไม่มีฝุ่นละอองติดมาด้วย ใส่ลงในตะแกรงตาห่าง ให้สะเด็ดนํ้า ผึ่งลมไว้จนนํ้าที่เกาะอยู่ตามใบแห้งหมด จากนั้นนำมาซอยให้ละเอียดแล้วนวดเบาๆให้ทั่ว เพื่อให้เซลล์แตก สารสำคัญไหลออกมาเคลือบใบเชียงดาที่ซอยละเอียดแล้วนั้นผึ่งไว้อีกสักพักก่อนนำไปคั่วด้วยกระทะสะอาดบนเตาไฟถ้าเป็นเตาถ่านได้ยิ่งดี ให้ความร้อนระดับ

กลาง ไม่ควรร้อนเกินไป อ่อนเกินไป ใส่ถุงมือคลึงเบาๆกับกระทะ หากไม่สะดวกให้ใช้ไม้พาย คนและพลิกกลับไปมาให้ใบผักเชียงดาสัมผัสกับความร้อนอย่างทั่วถึงจนเห็นว่าแห้งดี และมีกลิ่นหอมเกิดขึ้นนับว่าใช้ได้ นำขึ้นผึ่งลมให้เย็นอีกครั้ง ก่อนบรรจุในถุงเก็บไว้บริโภคต่อไปต้องการซ้อมมือ ให้ติดต่อที่ กรมหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ เกษตรกลางบางเขน

ที่นี่มีการอบรมทำชาหม่อนอยู่เป็นประจำ ในวันและเวลาราชการครับ

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 19 ตุลาคม 2558
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM