เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
พาไปดูการเลี้ยงหอยหวาน หอยราคาแพง ตลาดมีแต่โตกับโต
   
ปัญหา :
 
 

สมัยเด็กๆ วันใดได้กินหอยแครงลวก หรือหอยแมลงภู่นึ่ง ก็ถือเป็นเมนูอาหารที่อร่อยเลิศแล้ว เมื่อโตขึ้นมา จึงรู้ว่า หอยนางรมหลายคนนิยมกินดิบกับนํ้าจิ้มซีฟู้ด เพื่อเป็นยาโป๊วบำรุงกำลัง และนำมาทำหอยทอด ออส่วน ก็อร่อย หอยตลับและ หอยหลอดนำมาทำต้มยำ ผัด หรือลวกก็ได้ หอยชักตีนนำมาเผาแล้วกินกับนํ้าจิ้มซีฟู้ด

ก็อร่อย นอกจากนี้ ยังมี หอยหวานบางท้องถิ่นเรียกว่า หอยตุ๊กแกเมื่อนำมาเผาจะมีรสหวานอร่อยสุดยอด แต่ทุกวันนี้ หอยหวาน หากินยาก แถมมีราคาสูงอีกต่างหาก

หากใครอยากเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงหอยหวาน และอยากกินหอยหวานคุณภาพดี สด รสอร่อยขอแนะนำให้ไปกินถึงแหล่งผลิต ที่ ซันเซ็ทฟาร์มหอยหวานตั้งอยู่ เลขที่ 228/4 หมู่ที่ 4 ซอยนาจอมเทียน 22 ถนนสุขุมวิท ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โทร. (086)

906-6907, (094) 941-9951 หรือเยี่ยมชมข้อมูลได้ทางหน้าเว็บไซต์

www.sunsetseashellfarm.com หรือเฟซบุ๊ก ซันเซ็ทฟาร์มหอยหวาน ซันเซ็ทฟาร์มหอยหวานการเดินทางไป ซันเซ็ทฟาร์มหอยหวานสะดวกสบายและหาไม่ยาก เพราะอยู่ห่างจากพัทยาประมาณ 10 กิโลเมตรเมื่อขับรถถึงหลักกิโลเมตรที่ 158 ให้เตรียมตัวชิดขวากลับรถ เข้าซอยไป200 เมตร ก็ถึงตัวร้าน ที่นี่เปิดทำการตั้งแต่ เวลา 11.00-22.00 . ทุกวัน ภายในฟาร์มมีบ่อสาธิตการเลี้ยงหอยหวาน และแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเปิดเป็นร้านอาหารสารพัดเมนูจากหอยหวานให้ได้ลิ้มลอง และได้รับการรับรองคุณภาพจาก สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ว่า เป็นฟาร์มหอยหวานที่ได้มาตรฐานแห่งเดียวของประเทศไทย และเป็นผู้นำเทคโนโลยี QR code มาใช้ในการตามสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบในร้านอาหารจุดเริ่มต้นกิจการ

ซันเซ็ทฟาร์มหอยหวาน ถือกำเนิดเมื่อปี 2542 โดย คุณภานุรักษ์ ตริยางกูรศรี อดีตหนุ่มนักอสังหาริมทรัพย์ที่ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพมาเช่าที่ดิน 1 ไร่ ใกล้ชายหาดจอมเทียน พัทยา เพื่อทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยหวาน เนื่องจากเขาขาดประสบการณ์ ในช่วงแรกของการทำฟาร์มจึง

ประสบปัญหาต่างๆ มากมาย คุณภานุรักษ์ พยายามแก้ไขปัญหาโดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการทำฟาร์มหอยหวานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าชายฝั่งกรมประมง จังหวัดชลบุรี สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบัน

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

คุณภานุรักษ์ สะสมความรู้ด้านวิชาการและไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงหอยหวานอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ปัจจุบัน ซันเซ็ทฟาร์ม เป็นฟาร์มหอยหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นฟาร์มหอยหวานแห่งเดียวที่ดำเนินกิจการแบบครบวงจรตั้งแต่จัดหาพ่อแม่พันธุ์ กระตุ้นไข่ อนุบาล เลี้ยงตัวอ่อน และทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยหวานเชิงการค้าผ่านการรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์นํ้าที่ดี (GAP) และเขาลงทุนทำร้านอาหาร เพื่อ

แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มหอยหวานออกจำหน่าย และขยายการลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงหอยหวานอีกแห่ง ที่แหลมแม่พิมพ์ อำเภอแกลง จังหวัดระยองคุณปทิตตา บุญพันธ์ หนึ่งในผู้บริหารของ ซันเซ็ทฟาร์มหอยหวานเล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้ปริมาณความต้องการบริโภคหอยหวานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณหอยหวานที่จับจากชายทะเลตามธรรมชาติกลับมีจำนวนลดลง เพราะหอยหวานเติบโตไม่ทันกับความต้องการของมนุษย์ โดยปกติชาวประมงจะจับหอยหวานออกขายปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงต้นฝน โดยมีหอยหวานเข้าสู่ตลาดมากในระยะนี้ ส่วนช่วงปลายฤดูหนาวก็มีผลผลิตเข้าตลาดบ้างแต่เป็นจำนวนน้อยหอยหวานมีจุดเด่นด้านรสชาติหวาน อร่อย แต่ต้องนำหอยหวานที่มีชีวิตมาปรุงเป็นอาหารเท่านั้น หากปล่อยให้หอยตาย เนื้อจะเน่าทันทีภายในระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง ทุกวันนี้ทางฟาร์มเน้นขายหอยหวานคุณภาพ เกรด เอ ในราคากิโลกรัมละ 800 บาท (เฉลี่ย 80 ตัว ต่อกิโลกรัม)แม้หอยหวานจะมีราคาแพง แต่เป็นสินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลาดหอยหวานมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 40 เปอร์เซ็นต์ หอยหวานจึงนับเป็นสัตว์นํ้าเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจับตามอง ปัจจุบันมีผู้สนใจลงทุนทำฟาร์มหอยหวานกัน

มากขึ้น แต่การทำฟาร์มให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยการเรียนรู้และเงินลงทุนที่มากพอสมควร

เทคนิคบริหารจัดการฟาร์ม

โรงเรือนเลี้ยงหอยหวานของ ซันเซ็ทฟาร์มมีสภาพโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ทางฟาร์มเลี้ยงหอยหวานแบบระบบเปิดบนบกในบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 1 เมตร ยาว 5 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร ติดตาข่ายรอบๆ บ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้หอยหวานปีนออกนอกบ่อได้ รองก้นบ่อด้วยทราย สูบนํ้าทะเลขึ้นมาใช้เลี้ยงหอยในบ่อ โดยให้มีระดับความเค็มประมาณ 28-35 พีพีทีปล่อยนํ้าด้วยหัวฉีดนํ้า มีท่อนํ้าล้นให้นํ้าหมุนเวียน และเพิ่มออกซิเจนตลอดเวลา สำหรับบ่อสาธิตการเลี้ยงหอยหวานของที่นี่ แบ่งเลี้ยงตามช่วงอายุของหอยตั้งแต่หอยตัวเล็กเท่าเม็ดทรายจนถึงหอยตัวโตที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ ต้องใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 15 เดือนโดยธรรมชาติ หอยหวานจะอยู่อาศัยเป็นกลุ่มใหญ่ ฝังตัวหลบอยู่ใต้พื้นทรายนับแสนตัวเพื่อความปลอดภัย ช่วยกันหาอาหาร และผสมพันธุ์ เมื่อเหยื่อประเภท ปู ปลา กุ้ง หลงว่ายเข้ามาในถิ่นที่อยู่ หอยหวานจะขึ้นมารุมกินจนเหยื่อไม่สามารถว่ายหนีได้ หอยหวานเป็นสัตว์นํ้าที่มีอุปนิสัยเรียบง่าย กินตรงไหนจะนอนตรงนั้น จะโผล่ขึ้นมาผิวนํ้าเฉพาะเวลากินอาหารเท่านั้นทางฟาร์มจะใช้เนื้อปลาสด หัวกุ้ง ฯลฯ เป็นอาหารเลี้ยงหอยหวานในบ่อเลี้ยง ต้นทุนค่าอาหาร

ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของฟาร์ม เพราะปลาสดมีราคาค่อนข้างแพง เช่น ปลาข้างเหลือง ซื้อในราคากิโลกรัมละ 80 บาท ทางฟาร์มจะให้อาหารหอยหวานเฉลี่ยบ่อละ 1 กิโลกรัม ต่อวัน และเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นเพื่อใช้บำบัดนํ้าเสียในบ่อเลี้ยงหอยหวาน หอยหวานจะเริ่มผสมพันธุ์เมื่อ

อายุ 1 ปีขึ้นไป ให้ไข่ครั้งหนึ่งประมาณ 50,000 ตัว แต่อัตราการรอดตายเพียง 3% เท่านั้นสำหรับพันธุ์หอยหวานที่ซื้อขายในท้องตลาด เฉลี่ยตัวละ 40 สตางค์ทุกวันนี้ หอยหวานสามารถวางไข่ในโรงเพาะฟักได้ตลอดทั้งปี โดยช่วงที่หอยหวานวางไข่มากที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม สำหรับบ่อขยายจะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยหวาน ประมาณ

1,400 ตัว ต่อบ่อ พื้นบ่อปกคลุมด้วยทรายหยาบ หนา 5 เซนติเมตร และมีนํ้าทะเลไหลผ่านตลอด อัตราการไหล ประมาณ 300 ลิตร ต่อชั่วโมง ระดับความลึกของนํ้าในบ่อเลี้ยง ประมาณ30-50 เซนติเมตร ใช้ปลาข้างเหลืองเป็นอาหาร วันละ 1 ครั้ง ปล่อยให้หอยหวานวางไข่เองในบ่อ

ตามธรรมชาติ โดยสังเกตการณ์วางไข่ในบ่อพ่อแม่พันธุ์เป็นประจำทุกวันในเวลาเช้าโดยทั่วไป แม่พันธุ์หอยหวานแต่ละตัวจะไข่ออกมาประมาณ 30-50 ฝัก แต่ละฝักก็จะมีไข่เม็ดเล็กๆ อยู่ข้างใน ประมาณ 1,000 เม็ด (ดูในภาพประกอบ) วงจรชีวิตหอยหวาน โดยคร่าวๆ ที่

เห็นเป็นจุดสีนํ้าตาลคือ ลูกหอยแต่ละตัว 1 จุด คือ 1 ชีวิต ไข่หอยหวานอายุ 3 วัน จะเริ่มแบ่งตัวออกเป็นหลายเซลล์ หลังจากแม่หอยวางไข่แล้ว ประมาณ 5-7 วัน ลูกหอยระยะ Veliger จะออกจากฝักไข่ และดำรงชีวิตแบบแพลงตอนล่องลอยในนํ้า ลักษณะเด่นของลูกหอยระยะนี้คือ มี

อวัยวะที่เรียกว่า Velum มองเห็นคล้ายปีกผีเสื้อ ทำหน้าที่โบกพัดนํ้าเพื่อการเคลื่อนที่อย่างช้าๆและโบกพัดอาหาร ลูกหอยระยะนี้จึงถูกเรียกว่า ระยะหอยบินตัวหอยบินอายุ 14 วัน จะกินแพลงตอนเป็นอาหาร หลังจากนั้น จะใช้เวลาแปลงกายจากตัวบินมาเป็นลูกหอยหวาน ในระยะเวลาเพียง 1 วัน พอเป็นลูกหอย ก็จะกินแต่เนื้อ เลี้ยงต่ออีก 2

เดือน ก็จะได้หอยขนาด 1 เซนต์ เรียกง่ายๆ ว่า หอยเซนต์ทางฟาร์มจะนำหอยเซนต์เลี้ยงในบ่อใหญ่ เรียกว่าขั้นตอนขุนหอย ไม่ตํ่ากว่า 10-12 เดือน จึงเริ่มจับหอยออกขายได้ ปัจจุบันฟาร์มแห่งนี้มีกำลังการผลิตหอยหวานประมาณเดือนละ 100 กิโลกรัม ส่วนฟาร์มที่จังหวัด

ระยอง มีกำลังผลิตต่อเดือน เฉลี่ย 1 ตันกว่าคุณปทิตตา บอกว่า หากใครสนใจอยากเลี้ยงหอยหวานเชิงพาณิชย์ สิ่งสำคัญประการแรกคือ

ต้องมีที่ดินติดชายทะเลประมาณ 1-2 ไร่ เพราะต้องใช้นํ้าทะเลในการเลี้ยงหอยหวาน มีเงินทุนมากพอสมควร หากต้องการบ่อเลี้ยงในลักษณะบ่อซีเมนต์ ต้องใช้เงินลงทุนประมาณบ่อละ30,000 บาท ต่อบ่อ หากเป็นบ่อผ้าใบ เฉลี่ยบ่อละ 5,000 บาท ข้อเสียของบ่อผ้าใบคือ สภาพ

อุณหภูมิจะปรับเปลี่ยนตามสภาพฤดูกาล ทำให้หอยหวานเติบโตไม่คงที่ เมื่อเทียบกับการเลี้ยงในสภาพบ่อปูน ที่มีสภาพอุณหภูมิคงที่ หอยหวานสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องมากกว่า

ปัญหาอุปสรรค

ก่อนหน้านี้ ทางฟาร์มประสบปัญหาผลผลิตขาดช่วงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดเนื่องจากนํ้าทะเลค่อนข้างมีปัญหามาก เพราะเจอปัญหาฝนตกชุก ทำให้นํ้าทะเลมีระดับความเค็มลดลง ไม่เพียงพอสำหรับการเพาะเลี้ยงหอยหวาน แถมเกิดปรากฏการณ์แพลงตอนบูม หรือที่เรียกว่าขี้ปลาวาฬบ่อยมาก ในระยะหลังเฉลี่ยเดือนละ 2-3 รอบ เป็นอุปสรรคต่อการเพาะขยายพันธุ์ และการเพาะอาหารสำหรับลูกหอย ทำให้มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยกว่าปกติ และหอยหวานเติบโตค่อนข้างช้ามาก ต้องใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 15 เดือน จึงได้ขนาดที่ตลาดต้องการ

แถมเจอปัญหาคนงานดูแลบ่อเลี้ยงไม่สะอาดเพียงพอ ทำให้เกิดโรคงวงบวม หอยหวานเจ็บป่วยไม่กินอาหาร และตายในที่สุด ทางฟาร์มได้ขอคำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาจากชาวประมงในท้องถิ่นและนักวิชาการ จนได้ข้อสรุปว่า ต้องใช้นํ้าหมักชีวภาพ สูตรที่ทางฟาร์มคิดค้นขึ้นมาใช้บำบัดนํ้าในบ่อเลี้ยงหอย เริ่มจากเตรียมวัตถุดิบ คือ เปลือกสับปะรด กากนํ้าตาล กล้วยนํ้าว้า ลูกยอฟ้าทลายโจร อัตราส่วน อย่างละ 20 กิโลกรัม กากนํ้าตาล 30 กิโลกรัม และหัวเชื้อจุลินทรีย์(ปม.1) ของกรมประมง จำนวน 2 ซอง นำวัตถุดิบที่เตรียมไว้ทั้งหมดใส่ในถังหมัก เทนํ้าใส่ให้

ท่วม หมักนาน 1 เดือน จึงใช้เป็นหัวเชื้อนํ้าหมักไปใช้ในบ่อเลี้ยง โดยทั่วไปโรคชนิดนี้มักเกิดในช่วงที่ดูแลบ่อเลี้ยงไม่สะอาดเพียงพอทำให้เกิดโรคขึ้นได้ แต่หลังจากใช้นํ้าหมักชีวภาพก็สามารถแก้ไขปัญหาโรคงวงบวมได้อย่างเด็ดขาด

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ชลบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 20 ม.ค.59
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM