เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สอนวิธีเพาะเลี้ยงปลาช่อนในบ่อ ใช้เวลาเพียง 4 เดือนได้เงินแสน
   
ปัญหา :
 
 
  ปัจจุบัน “ปลาช่อน” เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เนื่องจากรสชาติอร่อย ก้างน้อย สามารถนำไปประกอบอาหารหลายอย่าง แต่นับวันปลาช่อนในแหล่งธรรมชาติลดน้อยลง ทำให้กรมประมงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยเกษตร จัดโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาช่อนให้แก่เกษตรกรขึ้นมา โดยดึงหน่วยงานอื่นทำงานอย่างบูรณาการ ล่าสุดเริ่มแล้วในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เกษตรกรที่ร่วมโครงการสามารถนำไปประกอบอาชีพแล้ว
 
                      นายสนธิพันธ์ ผาสุขดี ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยเกษตร จัดโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาช่อนให้เกษตรกรในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร โดยมีการจัดทีมนักวิจัยจากกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ลงพื้นที่นำความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไปถ่ายทอดให้ เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายซึ่งก็ถือว่าโครงการดังกล่าวได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี เกษตรกรส่วนใหญ่สามารถเพาะเลี้ยงปลาช่อนเป็นรายได้หลักในการหาเลี้ยงครอบ ครัวได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    สำหรับโครงการนี้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาที่ดินที่ขุดบ่อเลี้ยงปลาให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบต.) มีการของบสร้างโรงเพาะฟักขนาดเล็กรวมทั้งยังของบในการสร้างบ่อเพาะไรแดง เพื่อที่จะนำมาเป็นอาหารในการอนุบาลปลา รวมถึงกรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่มีการจัดสรรปริมาณน้ำให้เกษตรกรมีน้ำเพียงพอใน การใช้งาน ทำให้มีแนวโน้มในการขายรวมถึงการขยายผลผลิตให้เพิ่มมากขึ้นต่อไปได้
 
                      ส่วนกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดในฐานะหน่วยงานหลักของกรมประมงที่รับผิดชอบ ดูแลโครงการดังกล่าว มีการคัดเลือกทีมนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้เข้ามาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการสาธิตวิธีการฉีดฮอร์โมนปลาช่อน การอนุบาลลูกปลาที่ถูกต้องรวมไปถึงเรื่องการบริหารจัดการคุณภาพน้ำและโรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสัตว์น้ำ
 
                      นอกจากนี้มีการแนะนำให้เกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรที่เลี้ยงปลาช่อนให้มีการ เลี้ยงปลาสลับชนิดพันธุ์กันเนื่องจากโรคสัตว์น้ำบางชนิดจะเกิดขึ้นกับปลา เกล็ด บางชนิดจะเกิดขึ้นกับปลาหนัง ดังนั้นจึงควรเลี้ยงสลับกันไปเพื่อเป็นการตัดวงจรโรคที่อาจจะเกิดขึ้น
ด้านนายวินัย จั่นทับทิม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมนักวิจัย บอกว่า การฝึกอบรมเกษตรกรในโครงการมีการแนะนำข้อมูลความรู้ถ่ายทอดให้เกษตรกรอย่าง ละเอียด โดยในการเลี้ยงปลานั้นจะแนะนำให้เกษตรกรเลี้ยงปลาช่อน 2 รุ่น รุ่นละ 4 เดือน หลังจากนั้นให้เลี้ยงปลาชนิดอื่น เช่น ปลานิล สลับกันไปมาเพื่อเป็นการตัดวงจรการเกิดโรคปลาช่อน อีกทั้งยังแนะนำให้เกษตรกรมีบ่อพักน้ำบำบัดด้วยพืชน้ำหมุนเวียน เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ได้ใหม่อีก ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรรุ่นที่ 1 ที่ผ่านการอบรม สามารถเพาะพันธุ์ปลาช่อนได้แล้วจำนวน 2 รุ่นและจำหน่ายลูกพันธุ์ให้กลุ่มสมาชิกราคาตัวละ 50 สตางค์ หรือขายให้เกษตรกรทั่วไปราคาตัวละ 1.50 บาท เกษตรกรนำไปเลี้ยงเพียง 4 เดือนจะได้เงินเป็นหลักแสนบาท
 
                      “ตอนนี้ท่าน ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมงมีนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในประเทศ ให้ประชาชนทุกระดับมีสัตว์น้ำไว้กินไว้ใช้ รวมถึงการสร้างอาชีพให้ประชาชนมีรายได้หาเลี้ยงครอบครัว โครงการนี้จึงเป็นโครงการที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับผลตอบรับเป็น อย่างดีจากเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรสามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาได้เอง ส่งผลให้ต้นทุนการเลี้ยงต่ำลง นอกจากนี้กรมประมงได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการลดต้นทุนอาหาร ด้วยการของบประมาณสำหรับงานวิจัยสูตรอาหารที่ใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นในการนำ มาผสมเป็นอาหาร อาทิ กากน้ำตาล หรือมันสำปะหลัง เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนให้กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาช่อนต่อไปในอนาคต อีกด้วย” นายวินัย กล่าว
 
                      นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ สำหรับเกษตรกร ให้มีช่องทางในการสร้างอาชีพที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กำแพงเพชร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก 11 ก.พ.59
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM