เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกผักในถุงดำ ทำเงิน สูตรสำเร็จชาวบ้านสำโรง
   
ปัญหา :
 
 
บ้านสำโรง ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นชุมชนขนาดกลาง มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 183 ครัวเรือน ประชากร 763 คน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก จากที่เคยทำเพื่อยังชีพก็กลายมาเป็นเพื่อสร้างรายได้  ด้วยโครงการบ้านสำโรงน่าอยู่ “ปลูกผักปลอดสารพิษในตะกร้าหรือถุงดำ” ภายใต้โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ของสำนักงานกองทุนสนับ สนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
                    จากข้อมูลพบว่าชาวบ้านสำโรงปลูกผักเป็นอาชีพหลักมากถึง 67 ครัวเรือน และปลูกเพื่อจำหน่าย 21 ราย ซึ่งแต่ก่อนพบว่าใช้สารเคมีปริมาณสูง เฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายสำหรับสารเคมีมากถึงปีละ 1.2 ล้านบาท แล้วยังมีผู้เสียชีวิตจากจากสารพิษตกค้างด้วย จึงมีการส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อการจำหน่ายและบริโภคในครัวเรือน  โดยการปลูกผักในตะกร้าหรือถุงดำ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา  สามารถปลูกได้ในบ้านที่มีพื้นที่จำกัด หรือคอนโดแคบๆ ได้ การดูแลไม่ยุ่งยาก เหมาะกับชีวิตไลฟ์สไตล์ของคนเมืองใหญ่ อย่างเช่น แก่นแก้ว หอมนวล ชาวบ้านสำโรงที่ใช้เวลาว่างหลังจากงานประจำแล้วทำเกษตรแบบพอเพียงและปลูกผัก ทั้งแบบลงดินลงในถุงไว้เก็บกิน อันไหนเหลือก็เก็บขายสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง โดยจุดเปลี่ยนที่มาปลูกผักในถุงดำนั้น
 
                    แก่นแก้วบอกว่า ด้วยความที่หมั่นศึกษาหาความรู้สิ่งแปลกๆ ใหม่ จึงได้ไปค้นคว้าในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการปลูกพืชแนวใหม่ ซึ่งสนใจการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และผักการปลูกผักในภาชนะต่างๆ โดยเฉพาะผักถุง ซึ่งถือว่าเป็นระบบเกษตรแบบใหม่ เพราะต้องการทำอะไรที่ไม่เหมือนกับคนอื่นที่ทำๆ กัน และจากการศึกษาก็พบว่า การปลูกผังในถุงมีข้อดีกว่าการปลูกลงดินหลายอย่าง คือสามารถปลูกในพื้นที่จำกัดได้ เช่น คนที่อาศัยอยู่คอนโดสามารถวางเป็นชั้นๆ ได้ ซึ่งพื้นที่เพียง 1 ตารางเมตร สามารถปลูกผักได้ถึง 10 ชนิด และสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายไปวางไว้ตรงไหนก็ได้ หรือจะเอาผักถุงมาวางตกแต่งบ้านได้เช่นกัน คนปลูกสามารถปลูกไว้เก็บกินช่วยประหยัดรายจ่ายในครัวเรือน
 
                    สำหรับขั้นตอนการปลูกผักในถุง เริ่มจากจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ได้แก่ ถุงดำ หน้าดิน ปุ๋ยหมัก ขุยมะพร้าวสับละเอียด เมล็ดพันธุ์สำหรับการผสมดินใช้สูตร 2-1-1 คือ ดิน 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ขุยมะพร้าวสับ 1 ส่วน คลุกผสมให้เข้ากัน หรือถ้ามีขี้วัวก็ใช้ได้แต่อย่าใส่เยอะ ผสมแล้วต้องจำด้วยแล้วดูว่าพืชเป็นอย่างไรค่อยปรับใช้ในอัตราส่วนที่จะเพิ่ม หรือลดหลั่น จากนั้นกรอกดินลงในถุงเสร็จแล้วโรยเมล็ดพันธุ์ผักที่ต้องการ รดน้ำพอชุ่มชื้นรอจนผักเติบโตขึ้น ก็ค่อยๆ รดน้ำ เช้า-เย็น หรือวันละครั้งก็ได้
 
                    “ผักที่เหมาะกับการปลูกในถุงจะเน้นที่พืชอายุสั้น ได้แก่ ผักที่ลำต้นไม่ใหญ่มาก ประเภทกินใบได้ทุกประเภท เช่น โหระพา แมงลัก คะน้า กะเพรา ตะไคร้ หรือผักมีผลก็ได้ เช่น พริก มะเขือม่วง มะเขือเทศ เป็นต้น เพราะผักจำพวกนี้โตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว ไม่เป็นโรคง่าย ถ้าให้ดีแนะนำปลูกพริก เพราะราคาดี ลงมือปลูกแค่ 3 เดือนก็ออกผลแล้ว” 
 
                    สำหรับช่องทางการตลาดของผักถุงนั้น เขามองว่าส่วนใหญ่จะขายให้ผู้ที่มาศึกษาดูงานที่บ้านสำโรงแบบยกถุงหิ้วกลับ ไปทั้งถุง ราคาตั้งแต่ 50- 200 บาท ส่วนไหนที่ไม่ได้ขายก็ไว้เก็บกินในครัวเรือน ถ้าเหลือมากค่อยเก็บไปขายรวมกับผักอื่นๆ ที่ปลูกในสวนกว่า 10 ชนิด
 
                    โดยเก็บอย่างละนิดอย่างละหน่อยรวมๆ กันขายได้อย่างน้อย 8,000-9,000 บาทต่อเดือนแล้ว ยิ่งถ้าช่วงไหนเราผลิตออกในช่วงที่ขาดตลาดก็จะได้ราคาดี เช่นมะเขือเทศในหน้าร้อนราคาสูงถึง กก.ละ 40-50 บาท ภายใต้แบรนด์สินค้า “ผักปลอดสารพิษบ้านสำโรง” 
 
                    “หลังจากหันมาปลูกผักแล้ว ทำให้ครอบครัวมีรายได้เสริม ไม่กระทบกับงานประจำ เพราะดูแลง่ายใช้รดน้ำเช้า-เย็นก่อนไปทำงานและหลังเลิกงานเท่านั้น ขณะเดียวกันยังช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือนไม่ต้องไปซื้อเขากิน เราปลูกเอง ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพอีกด้วย” แก่นแก้วกล่าวย้ำ พร้อมทิ้งท้ายให้คำแนะนำการทำเกษตรสมัยใหม่ว่า เกษตรกรสมัยใหม่ต้องหมั่นศึกษาและประยุกต์ปรับตัวเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา อย่าไปตามกระแส พยายามทำอะไรที่คนอื่นยังไม่ได้ทำดีกว่า ไม่ต้องเสียเวลา ทำน้อยแล้วได้มากดีกว่าทำมากแล้วได้น้อย
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สุรินทร์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก 12 พ.ค.59
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM