เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการปลูกหน้าวัว เลือกพันธุ์กวาง-ทำยางแผ่นดิบ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมชอบดอกหน้าวัวมาก เพราะให้ดอกสวย สีก็สดใส แถมนำดอกมาประดับแจกันยังทนนานอีกด้วย ผมจะปลูกอย่างไรจึงจะให้ได้ดอกสวยงามเหมือนกับผู้ปลูกอื่นๆ ขอความอนุเคราะห์ให้คำแนะนำด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    หน้าวัว เป็นไม้ตัดดอกที่ได้รับความนิยมอยู่ในอันดับที่ 10 ของตลาดโลก ติดต่อกันมาหลายปี แม้ในประเทศไทยของเราเองก็ให้ความนิยมอย่างสูงมาโดยตลอด เนื่องจากดอกหน้าวัวมีอายุการใช้งานทนนานกว่าไม้ตัดดอกอื่นๆ ประกอบกับในปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีรูปทรงของดอก รวมทั้งสีสวยงามสะดุดตา หน้าวัวเข้ามาในประเทศไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440 ประเทศไทยจึงรู้จักไม้ชนิดนี้มาช้านาน หน้าวัวเป็นไม้ดอกที่มีอายุหลายปี จัดอยู่ในประเภทไม้เนื้ออ่อน ลำต้นมีทั้งเจริญเติบโตเป็นยอดเดี่ยวหรือแตกเป็นกอก็มี ใบมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจของมนุษย์ ดอกจริงมีขนาดเล็ก ประกอบด้วยดอกย่อยอัดกันแน่นอยู่บนก้านดอกเรียกว่า ปลีดอก ส่วนเห็นเป็นดอกสีสดใสนั้นคือ จานรองดอก ถิ่นกำเนิดของหน้าวัวอยู่ที่ อเมริกาใต้ ปัจจุบันในประเทศไทยมีแหล่งปลูกอยู่ที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี เลย กระบี่ ภูเก็ต ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย พันธุ์ที่นิยมปลูกกันอยู่ในปัจจุบันคือ ชนิดดอกสีขาว คือพันธุ์ขาวเศวต ชนิดดอกสีแดง พันธุ์ดวงสมร จักรพรรดิ กษัตริย์ศึก แดงนุกูล นครธน กรุงธน ศรีสำราญ ทรอปิคอล อาวานติ และแคเรีย ชนิดดอกสีชมพู ศรียาตรา ศรีสง่า จักรเพชร ศรีเงินยวง และโซเนท ชนิดดอกสีเขียว พันธุ์มิดอริ ชนิดดอกสีส้ม ผกาวดี ดาราทอง ผกามาศ ผกาทอง และโพธิ์ทอง การขยายพันธุ์ ทำได้หลายวิธี เช่น การตัดยอด ให้ตัดยอดที่สมบูรณ์ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ชุบด้วยฮอร์โมนเร่งราก ปักชำลงในกระบะเพาะที่มีวัสดุเพาะ ประกอบด้วย อิฐทุบเป็นก้อนขนาดเล็กผสมใบก้ามปูหมักได้ที่แล้ว อัตรา 1 : 2 ส่วน แหล่งปักชำต้องมีหลังคาพรางแสงให้ป้องกันแดดเผา ประการสำคัญ ต้นที่เหลือหลังตัดยอดไปขยายพันธุ์แล้วต้องเหลือลำต้นที่มีใบ 2-3 ใบ เป็นอย่างน้อย วิธีแยกหน่อ คัดเลือกต้นสมบูรณ์ที่แตกหน่อ 3-4 หน่อ ที่เติบโตแข็งแรงเต็มที่ ใช้มีดคมและสะอาด ตัดแยกหน่อออกจากต้นแม่ พร้อมมีรากติดมาด้วย และมีใบอย่างน้อย 2-3 ใบ ชำในวัสดุเพาะชำภายในโรงเรือน วิธีการตัดชำ ต้นที่เติบโตมีความสูงมาก ใช้มีดคมตัดยอด แยกไปปลูก ส่วนโคนที่เหลือตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีตาติดมา 2-3 ตา นำไปปักชำลงในกระบะเพาะพร้อมวัสดุ ใช้เวลา 1-2 เดือน จะแตกรากและใบอ่อนปรากฏให้เห็น โรงเรือนหน้าวัว ควรมีความสูง 2.5-3 เมตร หลังคาใช้ซาแรนสีดำพรางแสงได้ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ปิดด้านข้างป้องกันลมพัดผ่านรุนแรง รักษาความชื้นในโรงเรือนไว้ที่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิ 22-25 องศาเซลเซียส วัสดุปลูก มีคุณสมบัติความเป็นกรด-ด่างที่ 6.0-6.5 อาจเลือกใช้อิฐมอญทุบให้มีขนาดเท่าหัวแม่มือผสมกับกาบมะพร้าวสับ หรือกะลาปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ วัสดุดังกล่าวเหมาะสำหรับใช้ปลูกในกระถางและการปลูกลงในแปลง ควรยกร่องสูง 20 เซนติเมตร ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ การเตรียมดินให้ร่วนและโปร่งระบายน้ำได้ดี โดยขุดหน้าดินลึก 20-25 เซนติเมตร ตากแดดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค พร้อมใส่ปุ๋ยคอกเก่าอัตรา 500-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ดินที่เป็นกรดควรใส่ปูนขาวอัตรา 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ คลุกเคล้าลงดินแล้วนำวัสดุปลูกชนิดเดียวกับใช้ปลูกในกระถางปูทับหน้าดินก่อนปลูก เมื่อเตรียมดินดีแล้วให้ทำหลังคาพรางแสง เนื่องจากหน้าวัวเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง จึงต้องให้น้ำ 2-3 ครั้ง ต่อวัน โดยเฉลี่ยหน้าวัวต้องการน้ำประมาณ 3 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เมื่อต้นหน้าวัวตั้งตัวได้แล้วควรให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 5 กรัม ต่อต้น ทุกเดือน หรือให้ปุ๋ยละลายช้าสูตรและอัตราเดียวกัน ทุก 3 เดือน ระยะให้ดอกควรเสริมด้วยปุ๋ยทางใบสูตร 15-30-15 ทุก 15-20 วัน ควรหมั่นตัดแต่งต้นและใบอยู่เสมอให้เหลือใบไว้เพียงต้นละ 3-4 ใบ ต่อต้น การเก็บเกี่ยว ระยะตัดดอกที่ดีนั้น ควรตัดเมื่อปลีเปลี่ยนสีแล้ว ครึ่งหนึ่งของความยาวปลี โดยตัดก้านดอกให้ยาวที่สุด นำก้านแช่ลงในน้ำสะอาด หากส่งระยะทางไกล จำเป็นต้องเสียบปลายก้านดอกเข้าในหลอดพลาสติคบรรจุน้ำหรือน้ำยารักษาคุณภาพของผลผลิต วางเรียงให้จานรองดอกสลับหัวกลับไปมาในแต่ละชั้นลงในกล่องกระดาษ จะทำให้จานรองดอกสดใสไม่บอบช้ำ ขายได้ราคาดี โรคและแมลงศัตรู มักพบเสมอคือ หอยกัดกินใบและราก ป้องกันกำจัดโดยใช้ปูนขาวหว่านบางๆ ให้ทั่ว การระบาดจะหมดไป และ โรคแอนแทรกโนส อาการที่พบจะมีจุดสีเข้มขนาดเล็กบนส่วนของปลี ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น การเกิดโรคที่ใบหน้าวัวจะมีลักษณะเป็นจุดค่อนข้างกลม ส่วนขอบแผลมีสีน้ำตาลและสีเหลืองมองเห็นชัดเจน เนื้อเยื่อตอนกลางแผลเป็นจุดสีดำขนาดเล็กเป็นวงซ้อนกัน หากระบาดรุนแรงจะทำให้ปลีและใบเน่าเสียหาย การป้องกันกำจัด เมื่อพบการระบาดระยะแรกให้ตัดส่วนที่เกิดโรคเผาทำลายทิ้ง หากเกิดการระบาดรุนแรงให้ใช้สารกลุ่มโปรครอราทสลับกับกลุ่มแมนโคเซบ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ตามอัตราและเวลาตามคำแนะนำข้างฉลาก การดูแลตามข้อแนะนำ การระบาดของโรคแอนแทรกโนสจะหมดไปในที่สุด ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กรมส่งเสริมการเกษตร ถนนพหลโยธิน หรือสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลางบางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรือสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย บริเวณสถาบันวิจัยพืชสวน เกษตรกลาง บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
วัดโสมนัส
อำเภอ / เขต :
ป้อมปราบ
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10100
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 379
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM