เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ทำทุเรียนอย่างไร ให้ได้คุณภาพส่งออก
   
ปัญหา :
 
 

ทำทุเรียนอย่างไร ให้ได้คุณภาพส่งออก

วิธีแก้ไข :
 

เพียงแต่ปีนี้เป็นปีที่แล้งหนัก แหล่งนํ้าเพื่อใช้ในการเกษตรแทบไม่มี ชาวสวนไม้ผล

หลายรายต้องทยอยถอดใจ ปล่อยให้ต้นตายไปต่อหน้าต่อตา หรือหากทำให้ติดดอก

ออกผลเก็บเกี่ยวได้ ก็น้อยรายที่จะได้ผลที่สมบูรณ์แบบตามที่คาดหวัง

แต่สำหรับสวนนี้ สวนนวรัตน์ ตั้งอยู่ ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มี คุณรัง

สฤษดิ์ รัตนพันธ์ และ คุณจารุวรรณ รัตนพันธ์ เป็นเจ้าของ กล้าการันตีได้ว่า เป็นสวนทำ

ทุเรียนคุณภาพส่งออก แม้ฤดูแล้งขณะนี้ ก็ยังสามารถทำทุเรียนได้คุณภาพตามต้องการ แม้คุณ

รังสฤษดิ์ จะยอมรับว่ายาก

ความยากที่สามารถทำทุเรียนคุณภาพได้นั้นคือ เทคนิค ที่ต้องขอความรู้จากคุณรังสฤษดิ์ เพื่อ

นำมาเผยแพร่ให้กับผู้อ่านได้หยิบยกนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้

ในวันที่ไปพบคุณรังสฤษดิ์ และคุณจารุวรรณ ทั้งคู่พร้อมให้ข้อมูล และเปิดโอกาสให้ซักถามได้

ตามต้องการ จึงเป็นโอกาสดีที่จะนำเทคนิคการทำสวนทุเรียนคุณภาพส่งออกมาเผยแพร่ในครั้ง

นี้

คุณรังสฤษดิ์ เท้าความให้ฟังว่า สวนทุเรียนเดิมเป็นของครอบครัว เมื่อต้องดูแลมรดกตกทอด

ของครอบครัว ก็จำเป็นต้องประคับประคองสวนไปให้รอด และตัวเขาเองไม่ได้รํ่าเรียนมาทาง

ด้านเกษตรแม้แต่น้อย จึงต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แรกเริ่มเมื่อเห็นสิ่งใดในสวนขวางหูขวาง

ตา ก็จับเปลี่ยน ปรับปรุงตามความถนัดและเห็นว่าดีงาม แต่สุดท้ายก็ขาดทุนถึงกับเป็นหนี้ เมื่อ

ถึงที่จะต้องดิ้นรนเพื่อให้สวนอยู่รอดและคงคุณภาพทุเรียนไว้ให้ได้เช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษทำ

มา จึงตัดสินใจโค่นต้นทุเรียนอายุกว่า 30 ปี กว่า 200 ต้นทิ้ง เพื่อเริ่มปลูกใหม่และวางระบบภาย

ในสวนใหม่ทั้งหมด

ตอนนั้นเหลือทุเรียนพันธุ์ชะนีไว้จำนวนหนึ่ง เพราะต้นเพิ่งอายุ 6 ปี ส่วนพันธุ์หมอนทองโค่นทิ้ง

ปลูกใหม่ทั้งหมด เดิมปลูกระยะห่าง 10x10 เมตร เป็นระยะ 8x8 เมตร เพราะจากเดิมการปลูก

ทุเรียนจะปล่อยให้ทุเรียนสูงชะลูดขึ้น โดยไม่มีการตัดแต่งกิ่ง เมื่อถึงระยะต้องพ่นยา ก็ต้องใช้ไม้

ต่อ เอื้อมมือสูงขึ้นไป บางทียังไม่ถึง การโยงรับนํ้าหนักลูกของกิ่งทุเรียน ก็ทำได้ยาก แม้จะจ้าง

คนงานก็จะมาโยงให้ แต่ก็ช้ากว่าสวนอื่น เพราะสวนเราทุเรียนต้นสูง อายุมาก กว่าจะมาถึงกิ่งก็

หักไปบ้าง ผลเสียหายไปก็เยอะ

ด้วยเหตุนี้ ทำให้คุณรังสฤษดิ์ ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ด้วยระยะ 8x8 เพราะเหตุผลว่า มีการ

จัดการภายในสวนด้วยการบล็อกทรงพุ่ม ตัดแต่งทรงพุ่มทุกครั้งหลังเก็บผลผลิต ต้นจะไม่สูงสปริงเกลอร์ขนาด 200 ลิตร ต่อชั่วโมง เปิดครั้งละ 45 นาที 2 วัน ให้นํ้า 1 ครั้ง กว่าจะครบทั้ง

สวนใช้เวลานาน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหัวสปริงเกลอร์ขนาด 150 ลิตร ต่อชั่วโมง ระยะเวลาการ

ให้นํ้าทั้งสวนลดลง เพราะเมื่อแรงดันนํ้าไปยังหัวสปริงเกลอร์แต่ละหัวมากขึ้น จะช่วยให้การรด

นํ้าใช้เวลาไม่นาน ความชื้นก็ได้ตามต้องการแล้ว

การให้ปุ๋ย นํ้า และฮอร์โมนต้องถึง หากต้องการทำให้ทุเรียนมีคุณภาพตามต้องการ

ปุ๋ยให้ทางระบบนํ้า คือปุ๋ยเกล็ดละลายเข้าไปทางท่อ อิงจากที่เคยมีประสบการณ์การปลูกผัก

มาก่อน ส่วนปุ๋ยเม็ดผสมอินทรีย์ จะใช้เพื่อฟื้นฟูสภาพดินหลังเก็บเกี่ยว

คุณรังสฤษดิ์ แนะวิธีง่ายๆ ในการดูแลสวนทุเรียนให้ได้คุณภาพ ตามแนวทางการให้ปุ๋ยและ

ฮอร์โมน

ระยะฟื้นสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว

1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง แสงแดดส่องถึงใต้ต้นทุเรียน และไม่ให้ทรงพุ่มชนกัน ให้ตัดกิ่งที่ถูกแมลง

เข้าทำลาย กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ชี้ลงดินออก หลังตัดแต่งกิ่งให้ปุ๋ยทางดิน

2. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งทันที ระเบิดดิน เพิ่มการแตกรากฝอย ให้ปุ๋ยทางดินและ

อาหารเสริมทางใบ จะทำให้ต้นทุเรียนแตกกิ่งก้านใบใหม่ เพื่อสังเคราะห์แสงและสะสมอาหาร

เต็มที่อีกครั้ง พร้อมที่จะให้ผลผลิตครั้งต่อไป

ระยะทำใบ

3. ควรให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง การให้อาหารเสริมทางใบจะเพิ่มการสะสม

อาหารให้สมบูรณ์อย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากพัฒนาการของใบอ่อน เปลี่ยนเป็นใบสีเขียวเข้ม ใบ

มัน

4. ต้นทุเรียนจะแตกใบอ่อน หลังจากต้นทุเรียนแตกรากฝอย การระเบิดดินและเพิ่มการแตกราก

ฝอยของต้นทุเรียน จะทำให้นํ้าซึมผ่านดินได้ดีขึ้น นํ้าจะไม่ขังเมื่อฝนตกหนัก ช่วยลดปัญหา

โรครากเน่า โคนเน่าในทุเรียน

ระยะโฉบสาร

5. ควรโฉบสารพาโคลบิวทราโซล ระยะทุเรียนแตกใบอ่อนชุด 2 ในช่วงใบเพสลาด ต้นทุเรียนไม่

ควรโดนฝนนาน 4-5 ชั่วโมงหลังโฉบสาร และควรงดนํ้าใต้ต้นทุเรียนภายหลังโฉบสาร

6. สารพาโคลบิวทราโซล มี 2 ชนิด คือ สารพาโคลบิวทราโซล 10 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับ

เกษตรกรที่ต้องการให้ทุเรียนออกดอกสมํ่าเสมอทั่วทั้งต้น และสารพาโคลบิวทราโซล 25

เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ต้องการให้ต้นทุเรียนออกดอกก่อนฤดู แต่ผลเสียของสาร

พาโคลบิวทราโซล มีผลทำให้ท่อลำเลียงอาหารที่ปลายใบเล็กลง มีผลเสียต่อระบบรากฝอย และ

ทำให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อนยาก ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

ระยะสะสมอาหาร

7. เลือกต้นทุเรียนที่มีความสมบูรณ์ อายุไม่ควรตํ่ากว่า 4 ปี หากต้องการทำทุเรียนนอกฤดู ซึ่ง

การทำทุเรียนนอกฤดู ต้องมีแหล่งนํ้าเพียงพอไปตลอดถึงการเก็บเกี่ยว ระยะนี้ ควรใส่ปุ๋ยเคมี

สูตร 8-24-24 หว่านใต้ทรงพุ่ม

8. ต้นทุเรียนที่มีการสะสมอาหารที่ดี โดยการใส่ปุ๋ยทางดินและฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบ มีผลทำให้

ต้นทุเรียนมีความอุดมสมบูรณ์ มีความพร้อมในการออกดอกพร้อมกันทั่วทั้งต้น และทำให้ง่าย

ต่อการดูแลรักษา

ระยะกระตุ้นตาดอก

9. เมื่อสภาพอากาศแล้งติดต่อกัน 7-10 วัน ต้นทุเรียนจะมีอาการใบตั้งชันสู้แสง ให้นํ้าเฉพาะที่

โคนต้นพอประมาณ ไม่ต้องให้นํ้าที่ปลายทรงพุ่ม และให้นำเศษใบไม้ใต้ต้นทุเรียนออกให้หมด

เพื่อให้ต้นทุเรียนเกิดความเครียด มีผลทำให้ต้นทุเรียนมีความพร้อมในการออกดอก

10. ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 ไม่เหมาะสำหรับต้นทุเรียน เพราะมีผลข้างเคียงต่อใบทุเรียนใน

ระยะยาว อาจทำให้ใบทุเรียนกรอบ หรือไหม้ได้ ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-42-56 เหมาะสำหรับต้น

ทุเรียน ใช้ในการยับยั้งการแตกใบอ่อนของต้นทุเรียน สารเมพิควอต คลอไรด์ คือสารยับยั้งการ

เจริญเติบโตของพืช ใช้ในการยับยั้งการแตกใบอ่อนของต้นทุเรียน

ระยะไข่ปลา ตาปู เหยียดตีนหนู กระดุม มะเขือพวง หัวกำไล

11. ระยะไข่ปลา ตาปู เหยียดตีนหนู ระยะนี้ควรให้นํ้ามากขึ้น ทุกๆ 2 วัน ระยะกระดุม มะเขือ

พวง หัวกำไล ระยะนี้ควรให้นํ้ามากขึ้น ทุกๆ 2 วัน ระยะดอกบาน ระยะนี้ให้นํ้าแต่น้อยลง

12. โดยธรรมชาติ ต้นทุเรียนจะแตกใบอ่อนทั่วทั้งต้น ถ้าต้นทุเรียนสูญเสียพลังงานมาก หรือต้น

ทุเรียนมีใบที่ไม่สมบูรณ์ และมีจำนวนใบน้อย ดังนั้น ถ้าต้นทุเรียนแตกใบอ่อนก่อนดอกบาน จะ

เป็นการดีมาก เพราะจะมีผลต่อต้นทุเรียนในระยะทางแย้ไหม้ จนถึงระยะขยายขนาดผล

ระยะหางแย้ไหม้-ระยะติดผลอ่อน

13. กรณีต้นทุเรียนไม่สมบูรณ์ มีจำนวนใบน้อยและใบมีขนาดเล็ก ควรป้องกันต้นทุเรียนแตกใบ

อ่อน โดยใช้สามสหายอย่างละ 200 ซีซี ผสมปุ๋ยเหลว 0-25-30 อัตรา 300 ซีซี ผสม เคลียร์ 50 ซี

ซี ผสม เมพิควอต คลอไรด์ 25 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 50 ซีซี ต่อนํ้า 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2 ครั้ง

ห่างกัน 7 วัน กรณีต้นทุเรียนสมบูรณ์ มีจำนวนใบมาก ใบมีขนาดใหญ่ ใบหนา ใบเขียวเข้ม ใบ

200 ซีซี ผสม ปุ๋ยเกล็ด 11-0-46 อัตรา 500 กรัม ผสม เคลียร์ 50 ซีซี ต่อนํ้า 200 ลิตร ฉีดพ่นทาง

ใบ 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

14. ไนโตรเจนในดินจะสูงหลังฝนตกหนัก มีผลทำให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน ดังนั้น กรณีต้น

ทุเรียนไม่สมบูรณ์ มีจำนวนใบน้อย และใบมีขนาดเล็ก โอกาสที่ต้นทุเรียนจะแตกใบอ่อนทั่วทั้ง

ต้นมีโอกาสสูงมาก ทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก ควรฉีดพ่นทางใบ เพื่อป้องกัน ส่วน

กรณีที่ต้นทุเรียนสะสมอาหารมาดี ต้นทุเรียนสมบูรณ์ จำนวนใบมาก ใบใหญ่ ใบหนา ใบเขียว

เข้ม ใบมัน โอกาสที่ต้นทุเรียนจะแตกใบอ่อนมีน้อย ผลอ่อนจะร่วงหล่นน้อย

ระยะขยายขนาดผล-ระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน

15. ควรให้นํ้าต้นทุเรียนอย่างสมํ่าเสมอตลอดเวลา ควรตัดแต่งลูกที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งและควรเก็บ

ลูกไว้ให้เหมาะสมกับขนาดของต้นทุเรียน ควรใช้เชือกฟางโยงลูกและกิ่งทุเรียน เพื่อป้องกันกิ่ง

ทุเรียนฉีกหัก ควรป้องกันการเข้าทำลายของแมลงและศัตรูพืช

16. ทุเรียนจะเริ่มสร้างเนื้ออย่างรวดเร็ว ประมาณ 30 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว ดังนั้น ระยะนี้ นํ้า แสง

แดด ปุ๋ยและอาหารเสริม จึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการสร้างเนื้อ สร้างเปลือก เพิ่มความหวาน และ

ลดการหลุดร่วง

การทำเทคนิคให้ทุเรียนทรงสวย ต้องมีการคัด ตามเทคนิคการฉีดบำรุงของแต่ละสวน แต่

หลักๆ คือ เมื่อหลังติดผลแล้วต้องคัดลูก เพราะลูกอาจจะติดมาเยอะ คัดแต่งให้ดี รอให้ติดผล

ขนาดเท่าลูกหมาก หรือเล็กกว่าไข่ไก่นิดนึง ดูทรงแล้วน่าจะสวยก็ให้เก็บไว้ ควรระวังรูปทรงผล

ทุเรียนจะบิดเบี้ยว เพราะเมื่อทุเรียนแตกใบอ่อนตอนติดลูก มีโอกาสผลทุเรียนบิดเบี้ยวสูง โดย

เฉพาะอย่างยิ่งหากฉีดฮอร์โมนบำรุงไม่ทัน บางต้นไม่แค่ลูกเบี้ยวแต่จะหลุดไปทั้งลูกเลย

ทั้งหมดนี้เป็นข้อคิดและเทคนิคการดูแลสวนทุเรียน รวมถึงการทำผลทุเรียนให้มีคุณภาพตามที่

ตลาดต้องการ เมื่อได้ดังนั้น มูลค่าการผลิตตามปริมาณที่ควรได้ จะสร้างรายได้ให้สวนได้รับ

ความนิยม และเป็นหลักประกันความมั่นคงของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนได้อย่างแน่นอน

ในท้ายที่สุด คุณรังสฤษดิ์ ยังฝากเบอร์โทรศัพท์หมายเลข (089) 098-4901 ไว้ หาก

เกษตรกรรายใดมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ในฐานะเกษตรกรชาวสวนทุเรียน

รายหนึ่ง คุณรังสฤษดิ์ ยินดีตอบทุกข้อซักถาม

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
เขาบายศรี
อำเภอ / เขต :
ท่าใหม่
จังหวัด :
จันทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 2 มิ.ย.59
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM