เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เกษตรวิศวกรรม คิดอุปกรณ์ให้ปุ๋ยนํ้าแบบประหยัด
   
ปัญหา :
 
 

เกษตรวิศวกรรม คิดอุปกรณ์ให้ปุ๋ยนํ้าแบบประหยัด

วิธีแก้ไข :
 

นอกจากงานวิจัยแล้ว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ยังมีหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ

แก่ผู้ผลิตในการปรับปรุงคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตเครื่องจักรกลเกษตรด้วย

ที่ผ่านมานั้น หน่วยงานแห่งนี้ได้มีผลงานการวิจัย ค้นคว้า เครื่องจักรกลการเกษตรมาอย่าง

ต่อเนื่อง และได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกร และล่าสุด

สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ได้เปิดตัวผลงานชิ้นใหม่ที่ชื่อว่าอุปกรณ์ให้ปุ๋ยทางระบบนํ้า

แบบประหยัด

คุณนาวี จิระชีวี วิศวกรการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ผู้ประดิษฐ์

อุปกรณ์ให้ปุ๋ยทางระบบนํ้าแบบประหยัด กล่าวถึงที่มาที่ไปของการคินค้นว่า การให้ปุ๋ยใน

ระบบนํ้าเป็นการให้ปุ๋ยที่ละลายนํ้าจ่ายเข้ากับระบบให้นํ้าพืชทั้งแบบนํ้าหยดหรือสปริงเกอร์

เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยสูงกว่าการให้ปุ๋ยทางดิน

ปกติปุ๋ยทางดินจะใส่จำนวนน้อยครั้งและแต่ละครั้งที่ใส่มีปริมาณปุ๋ยมากจึงมีโอกาสสูญเสีย

ปุ๋ยไปกับการชะละลายของนํ้าและถูกดูดยึดโดยดินมากกว่าการให้ปุ๋ยทางระบบนํ้า แต่การ

ให้ปุ๋ยทางระบบนํ้าจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่จ่ายสารละลายปุ๋ยเข้าระบบให้นํ้า โดยเฉพาะ

ในแปลงเพาะปลูกที่อยู่ไกลจากแหล่งนํ้าหรือสูบนํ้าโดยตรงจากบ่อบาดาลลึกซึ่งไม่สะดวก

ที่จะจ่ายสารละลายปุ๋ยเข้าทางท่อดูดของเครื่องสูบนํ้าได้

คุณนาวี กล่าวอีกว่า การให้ปุ๋ยทางระบบนํ้ามีข้อจำกัดโดยที่เกษตรกรจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่

ละลายนํ้าได้ดีซึ่งหาซื้อยากและมีราคาแพง และมีการจัดการที่เหมาะสม เช่น การใช้อัตรา

จ่ายปุ๋ยที่ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยที่จ่ายออกจากระบบนํ้าไปสู่แปลงเพาะปลูก

ไม่สูงมากเกินไป และจ่ายปุ๋ยได้รวดเร็วเสร็จสิ้นการให้ปุ๋ยโดยพอมีเวลาเหลือสำหรับการ

ให้นํ้าเพื่อล้างสารละลายปุ๋ยที่ตกค้างในระบบท่อป้องกันการอุดตันของหัวจ่ายนํ้า

จากจุดเริ่มดังกล่าว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ให้ปุ๋ยในระบบนํ้า

แบบประหยัดและมีอัตราจ่ายปุ๋ยสูง ประกอบด้วย ตัวจ่ายปุ๋ยเข้าระบบนํ้าแบบท่อเวนจูรี่ที่ใช้

หลักการรีดให้นํ้าฉีดผ่านหัวฉีดด้วยความเร็วสูงจนเกิดแรงดันสุญญากาศทำให้สารละลาย

ปุ๋ยไหลเข้ามาผสมกับนํ้าในระบบท่อส่งนํ้า

คุณนาวี อธิบายเพิ่มเติมถึงคุณลักษณะของอุปกรณืดังกล่าวว่า ตัวจ่ายปุ๋ยแบบเวนจูรี่ขนาด

ข้อต่อ 1 นิ้ว เป็นชิ้นส่วนที่ทำจากข้อต่อพลาสติกพีอีและพีวีซี จะต่อคร่อมกับประตูนํ้าของ

ท่อเมนส่งนํ้า ทำการดูดสารละลายปุ๋ยด้วยการหรี่ประตูนํ้าของท่อเมนส่งนํ้า

ทั้งนี้ ตัวจ่ายปุ๋ยดังกล่าวประดิษฐ์จากข้อต่อท่อพลาสติกของระบบนํ้าที่ประกอบขึ้นเองได้

ง่าย มีค่าใช้จ่ายเพียง 200-300 บาท เท่านั้น

การนำไปใช้งานนั้นจะติดตั้งได้ทั้งบริเวณทางท่อส่งนํ้าของเครื่องสูบนํ้าหรือติดตั้งที่ท่อส่ง

นํ้าบริเวณแปลงปลูกพืชที่อยู่ไกลจากเครื่องสูบนํ้าได้

เมื่อใช้งาน สารละลายปุ๋ยที่ถูกดูดเข้าตัวจ่ายปุ๋ยและจ่ายเข้าท่อเมนส่งนํ้าจะต้องผ่านตัว

กรองนํ้าที่ความละเอียดไม่น้อยกว่า 130 ไมครอน (120 เมช) และมีอัตราการจ่ายปุ๋ยเข้า

ท่อนํ้าสูงสุด 330-460 ลิตรต่อชั่วโมง สำหรับท่อส่งนํ้าในอัตรา 12-16 ลูกบาศก์เมตรต่อ

ชั่วโมง

นอกจากนี้ การนำไปใช้ประโยชน์ยังสามารถประยุกต์กับการใช้ปุ๋ยเคมีเม็ดที่นำมาละลายนํ้า

ได้โดยใช้ร่วมกับชุดกรองนํ้าและกรองเศษปุ๋ยในนํ้าเพื่อลดปัญหาการอุดตัน ยืดอายุการใช้

งานของหัวจ่ายนํ้าโดยเฉพาะนํ้าหยด รวมทั้งช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเมื่อเทียบกับการให้

ปุ๋ยทางดิน ใช้ได้กับระบบให้นํ้าทั้งแบบนํ้าหยด ระบบพ่นฝอยและสปริงเกลอร์

สำหรับความเหมาหสมในการนำไปใช้งาน คุณนาวีบอกว่า สามารถใช้งานได้กับขนาดแปลง

เพาะปลูกที่ส่งนํ้าไม่ควรน้อยกว่า 7 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (7,000 ลิตรต่อชั่วโมง)

สำหรับผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ กลุ่มพัฒนาพื้นที่เกษตร สถาบันวิจัยเกษตร

วิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร

กรุงเทพฯ โทร. 02-5798519

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 30 พ.ค.59
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM