เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยงแค็กตัสให้รอด ต้องหัดเป็นคนขี้เกียจบ้าง
   
ปัญหา :
 
 

เลี้ยงแค็กตัสให้รอด ต้องหัดเป็นคนขี้เกียจบ้าง

วิธีแก้ไข :
 

บ้างก็มีสีด่าง หรือสีสดใส บ้างก็มีขนอ่อนคล้ายขนนก หรือบางสายพันธุ์มีใบเรียงซ้อนสลับกัน

คล้ายกระทง มีให้เลือกซื้อหามาเลี้ยงดูกันได้ตามประสาของคนรักต้นไม้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้

การเลี้ยงแค็กตัสได้งาม ดิน หรือวัสดุปลูก เป็นพื้นฐานสำคัญ ส่วนผสมง่ายๆ ที่มือสมัครเล่น

ใช้กันอยู่ ดินร่วนสะอาดบดและร่อน ถ่านไม้ใหม่ๆ ทับ บดให้เล็กพอดี ขุยมะพร้าว และปุ๋ย

อินทรีย์ อัตรา 3 : 1 : 1 ส่วนผสมนี้มีประโยชน์ช่วยให้วัสดุปลูกโปร่ง ระบายนํ้าได้ดี และมีธาตุ

อาหารบ้างพอประมาณ สำหรับมืออาชีพแล้วอาจเพิ่มเติมด้วยกระดูกป่น โดโลไมต์ และหิน

ภูเขาไฟ แต่สำหรับมือสมัครเล่น ใช้สูตรที่ผมแนะนำให้ก็พอแล้วครับ แต่อย่าลืมปิดทับหน้าวัสดุ

ปลูกด้วยหินเกล็ด เพิ่มความสวยงามขึ้นอีก กระถางสำหรับเลี้ยง เลือกตามความเหมาะสมของ

ขนาดต้นแค็กตัส จะเหลี่ยม จะกลม ก็ขึ้นอยู่กับความพอใจ ปัจจุบัน นิยมกระถางพลาสติก

มากกว่า หากต้องการจัดสวนหย่อมสวยๆ ก็มีกระบะไม้ให้เลือก

การให้นํ้า วิธีรดนํ้าควรใช้ฝักบัวรด ให้นํ้าจนเห็นว่านํ้าไหลหยดลงมาจากก้นกระถางให้หยุด

ทันที แล้วเว้นไปจนวัสดุปลูกแห้ง โดยใช้ไม้เสียบลูกชิ้นปิ้งแทงลงในกระถาง เมื่อดึงไม้ขึ้นมาพบ

ว่ามีวัสดุปลูกเปียกชื้นติดขึ้นมาด้วย ก็ยังไม่ต้องรดนํ้า รอจนแห้งสนิทดี การรดนํ้าทุกวันทำให้

ต้นแค็กตัสเน่าตาย ปลูกเลี้ยงแค็กตัส ต้องหัดเป็นคนขี้เกียจบ้างครับ โดยเฉพาะในฤดูหนาว

เป็นระยะพักตัว งดนํ้าได้หลายวัน

แสงแดด แค็กตัส เราคุ้นกันว่าเป็นพืชทะเลทราย แต่ความจริงแค็กตัสประดับ ต้องการแสง

เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ต้องพรางแสงด้วยซาแรนสีดำ หากได้รับแสงมากเกินไปจะทำให้ผิว

แค็กตัสไหม้ เปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล หรือกระดำกระด่าง ไม่สวยงาม

ปุ๋ย ถ้าต้องการให้ต้นสมบูรณ์ ใส่ปุ๋ยละลายช้า หรือ ออสโมโค้ท สูตรเสมอ ขนาดกระถาง 2 นิ้ว

ครึ่ง ใส่เพียง 4-5 เม็ด เดือนละ 1 ครั้ง ก็พอโรคแมลงศัตรูสำคัญ มีโรคราสนิม ทำให้ผิวเป็นสีสนิม ไม่สวยงาม ป้องกันไว้ดีกว่า ต้องเลือก

ซื้อจากแหล่งที่ไม่มีโรคนี้ระบาด เพลี้ยแป้ง ชอบดูดนํ้าเลี้ยงทำให้ต้นทรุดโทรมและไม่สวยงาม

เป็นแมลงมีขนฟู สีขาวคล้ายแป้งปกคลุมทั้งตัว เข้าอาศัยและดูดกินนํ้าเลี้ยงตามซอกของต้น

แค็กตัส ป้องกันไว้ก่อนเป็นการดี ด้วยวิธีหล่อขาโต๊ะด้วยนํ้า เหมือนหล่อขาตู้กับข้าวสมัยก่อน

เพื่อไม่ให้มดคาบเพลี้ยแป้งมายังต้นแค็กตัส เนื่องจากมดกับเพลี้ยแป้งต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน

มดขนย้ายเพลี้ยขับของเหลวออกมาเป็นอาหารอันโอชะของมด

หมั่นเอาใจใส่ดูแลต้นแค็กตัสอย่างสมํ่าเสมอ หากวัสดุปลูกหมดสภาพแล้วให้เปลี่ยน

ใหม่ คุณจะได้แค็กตัสที่สมบูรณ์กลับมาเหมือนเดิม

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 30 เม.ย.59
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM