เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการผลิตยางแผ่นดิบให้ได้คุณภาพ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมปลูกยางพาราไว้หลายไร่ ก่อนโครงการส่งเสริมปลูกยางหนึ่งล้านไร่ สวนยางของผมอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเลย ผมจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะสามารถผลิตยางแผ่นดิบให้ได้คุณภาพ ขอข้อแนะนำโดยละเอียดขอขอบคุณ
วิธีแก้ไข :
 
    การผลิตยางแผ่นดิบให้ได้คุณภาพ มีหลักสำคัญคือ ต้องทำน้ำยางให้สะอาด การรีดแผ่นยางให้บางสีแผ่นยางต้องสม่ำเสมอ การผสมกรดกับน้ำสะอาดต้องได้สัดส่วนพอเหมาะ วิธีผลิตยางแผ่นดิบให้ได้คุณภาพ มีขั้นตอนดังนี้ 1. การเก็บรวบรวมน้ำยาง เช็ดถ้วยรองรับน้ำยาง และทำความสะอาดถังเก็บน้ำยางให้สะอาดเรียบร้อย ถังเก็บน้ำยางต้องมีฝาปิดมิดชิด ป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกตกเข้าไปในถังหรือน้ำยางกระฉอกขณะขนส่งไปยังโรงงาน 2. ทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น เครื่องกรองลวด เบอร์ 40 และ 60 ตะกง ถังสำหรับใส่น้ำยางและน้ำสะอาด โต๊ะนวดยาง เครื่องรีดชนิดเรียบและชนิดดอก โรงเรือนหรือเพิงพักชั่วคราว กระป๋องตวงน้ำและน้ำยาง ใบพายกวนน้ำยาง และภาชนะผสมน้ำกรด 3. การกรองน้ำยาง กรองน้ำยางด้วยตะแกรงลวด เบอร์ 40 และ 60 เพื่อกรองเอาสิ่งสกปรกออก ด้วยวิธีวางซ้อนตะแกรงเบอร์ 40 และ 60 โดยให้เบอร์ 60 อยู่ด้านล่าง 4. การตวงน้ำยางใส่ตะกง ตะกงมีลักษณะเดียวกับถาดอะลูมิเนียมใส่ขนมหวาน แต่ขอบสูงกว่าเท่านั้น ใส่น้ำยางลงตะกงละ 3 ลิตร 5. การผสมน้ำกับน้ำยาง เติมน้ำสะอาด 2 ลิตร ลงในตะกงที่ใส่น้ำยางไว้ก่อนแล้ว จะได้อัตราส่วนน้ำยางต่อน้ำสะอาด 3 : 2 6. การเลือกใช้น้ำกรด และการผสมน้ำกรด เลือกใช้กรดฟอร์มิก ความเข้มข้น 90 เปอร์เซ็นต์ ก่อนผสมควรปิดปากปิดจมูกด้วยผ้าหรือหน้ากาก เพราะเมื่อสูดดมจะรู้สึกแสบจมูก ทำไมต้องใช้กรดฟอร์มิก ข้อดีคือ ทำให้ยางแผ่นแข็งตัวสม่ำเสมอ เป็นกรดที่ระเหยได้เร็ว ไม่ทำให้แผ่นยางเหนียวเหนอะหนะ ทำให้แผ่นยางยืดหยุ่นคงเดิม ไม่ทำให้โรงงานและแผ่นยางมีกลิ่นเหม็น และที่สำคัญคือ ไม่ทำให้อุปกรณ์เสื่อมสภาพเร็ว วิธีผสมกรดกับน้ำ เทกรด 2 ช้อนแกง ลงในน้ำสะอาด 3 กระป๋องนม และกวนด้วยไม้พายให้ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ภาชนะที่ใช้ผสมควรเป็นภาชนะทำจากกระเบื้องเคลือบ 7. การผสมน้ำกรดกับน้ำยาง เทน้ำผสมน้ำกรดที่เตรียมไว้ 1 กระป๋องนม ลงในตะกงที่มีน้ำยางเตรียมไว้ก่อน กวนด้วยไม้พายให้ทั่ว 6 รอบ 8. การกวาดฟองน้ำทิ้ง ขณะกวนน้ำยางกับน้ำกรดจะเกิดฟองขึ้นให้ใช้ใบพายกวาดฟองน้ำที่ตะกงออกให้หมด มิฉะนั้น เมื่อทำเป็นแผ่นจะมีจุดทำให้แผ่นยางคุณภาพต่ำ 9. การปิดตะกง ควรใช้แผ่นสังกะสีปิดครอบตะกงไว้ ป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองตกลงบนน้ำยาง ทิ้งไว้ 30-45 นาที ยางจะจับตัวกัน 10. การนวดแผ่นยาง เมื่อยางในตะกงจับตัวกัน ให้เติมน้ำหล่อไว้ทุกตะกง จะทำให้ยางหลุดจากตะกงได้ง่ายขึ้น คว่ำตะกงลงบนโต๊ะทำด้วยอะลูมิเนียมหรือสังกะสีแผ่นเรียบนวดด้วยไม้หรือมือขึ้นอยู่กับความถนัด จนยางหนาเพียง 1 เซนติเมตร 11. การรีดแผ่นยางด้วยเครื่องรีด นำแผ่นยางที่นวดไว้ เข้าเครื่องรีดลื่น 3-4 ครั้ง ให้บาง 3-4 มิลลิเมตร 12. รีดด้วยเครื่องรีดดอก อีก 1 ครั้ง เพื่อรีดน้ำออกและไม่เกาะติดกันขณะวางซ้อนหลายแผ่น 13. การล้างแผ่นยาง หลังรีดแผ่นด้วยเครื่องรีดดอกแล้ว ล้างน้ำให้สะอาด อย่าให้มีสิ่งสกปรกเหลืออยู่ 14. การผึ่งแผ่นยาง ล้างแผ่นยางจนสะอาด นำแผ่นยางผึ่งในร่มโดยพาดแผ่นยางบนไม้ไผ่ที่สะอาดและไม่มีฝุ่นจับ และ 15. เก็บยางแผ่นรอการจำหน่าย หลังจากผึ่งยางไว้นาน 6 ชั่วโมงแล้ว เก็บรวบรวมแผ่นยางด้วยการพาดไว้บนราวในโรงเรือน รอการจำหน่าย หากมีโรงรมยางหรือโรงอบแสงอาทิตย์ ให้อบแผ่นยางป้องกันเห็ดราขึ้นที่แผ่นยางจะทำให้แผ่นยางขายได้ราคาต่ำลง ยางแผ่นดิบที่ได้คุณภาพ ควรมีลักษณะดังนี้ แผ่นยางต้องสะอาด ไม่มีรอยคราบน้ำกรด ไม่มีสิ่งสกปรก จุดด่างหรือฟองอากาศในแผ่นยาง แผ่นยางหนาประมาณ 2.8-3.2 มิลลิเมตร กว้างและยาว 38-46 และ 80-90 เซนติเมตร เนื้อยางต้องแห้งใส สีของแผ่นยางสม่ำเสมอเป็นสีเดียวทั้งแผ่น แผ่นยางต้องมีลายดอกนูน ยืดหยุ่น และเนื้อยางไม่ยุ่ยและขาดง่าย ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลาง บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
17
ตำบล / แขวง :
ผักปัง
อำเภอ / เขต :
ภูเขียว
จังหวัด :
ชัยภูมิ
รหัสไปรษณีย์ :
36110
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 379
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM