เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
พันธุ์กวางที่น่าสนใจ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจต้องการเลี้ยงกวาง แต่ยังขาดข้อมูลและประสบการณ์ จึงขอเรียนถามว่า มีพันธุ์อะไรบ้างที่มีศักยภาพในการผลิตและการตลาด นอกจากนี้ แหล่งพันธุ์จะหาซื้อได้จากที่ไหน ขอคำแนะนำด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    กวาง เป็นสัตว์กีบ สี่กระเพาะ และไม่มีถุงน้ำดี ยกเว้นกวางมัสค์เท่านั้น ในประเทศนิวซีแลนด์มีการเลี้ยงกวางเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากว่า 20 ปี ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 1.3 ล้านตัว ส่วนใหญ่เป็นกวางเขตอากาศหนาวเย็น ส่วนออสเตรเลียมีเลี้ยงลดหลั่นลงมา แต่เป็นพันธุ์นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียที่มีอากาศร้อนชื้น ได้แก่ พันธุ์โมลัคกัน รูซ่า ในทวีปเอเชียมีการเลี้ยงกันในประเทศจีน เกาหลี ไต้หวัน เวียดนาม และมาเลเซีย โดยนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงกวางมาจากนิวซีแลนด์ และนิวแคลิโดเนีย ในอดีตประเทศไทยมีข้อจำกัดเรื่องกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ไม่สามารถเพาะเลี้ยงกันได้อย่างเปิดเผย แต่ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้มีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับใหม่ อนุญาตให้ประชาชนสามารถเลี้ยงกวางม้า เนื้อทราย เก้ง และกระจงเล็กได้ พันธุ์กวางที่มีศักยภาพที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ เช่น พันธุ์กวางป่าหรือกวางม้า มีความสูง 140-160 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 185-260 กิโลกรัม อุ้มท้องนาน 240 วัน สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี พันธุ์เนื้อทราย สูง 65-72 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 70-110 กิโลกรัม ระยะอุ้มท้อง 240 วัน ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี พันธุ์รูซ่า มีความสูง 110 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 102 กิโลกรัม ระยะอุ้มท้อง 233 วัน ฤดูกาลผสมพันธุ์ได้ตลอดปี พันธุ์กวางดาว ส่วนสูง 75-97 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 75-100 กิโลกรัม พันธุ์ซีก้า มีส่วนสูง 65-109 เซนติเมตร หนัก 45-80 กิโลกรัม ระยะอุ้มท้อง 222-240 วัน ฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน และ กวางแดง มีความสูง 120-150 เซนติเมตร น้ำหนัก 95-300 กิโลกรัม ระยะอุ้มท้อง 233 วัน ฤดูผสมพันธุ์อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท กรุงเทพฯ ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
วัดใหม่
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
จันทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
22000
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 379
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM