เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
รู้เฟื่องเรื่องปุ๋ย
   
ปัญหา :
 
 
ผม มีปัญหาค้างคาใจมานานเกี่ยวกับเรื่องปุ๋ย ผมอาจจะเชยไปก็ได้ คือเห็นปุ๋ยที่วางขายในตลาด มีสารพัดสูตร แต่ละสูตรใช้อย่างไร และปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์ มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร ผมขอรบกวนถามคุณหมอเกษตรเพียงเท่านี้ก่อน ผมจะติดตามอ่านคำตอบในคอลัมน์หมอเกษตรต่อไป
วิธีแก้ไข :
 
ปุ๋ย เป็นอาหารที่ทำให้พืชหรือต้นไม้เจริญเติบโตและลืมเผ่าพันธุ์ได้ต่อไป ปุ๋ยแบ่งออกได้ 3 ชนิด ชนิดแรก ปุ๋ยอินทรีย์ ได้จากการหมักเศษซากพืช มูลสัตว์ และพืชสดสับแล้วไถกลบลงดิน แม้ว่าปุ๋ยชนิดนี้จะให้ธาตุอาหารกับพืชน้อยก็ตาม แต่จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้โปร่ง ร่วนซุย เก็บและระบายน้ำได้อย่างพอเหมาะ อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารให้กับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินอีกด้วย ชนิดที่สอง ปุ๋ยชีวภาพ เป็นปุ๋ยที่เกิดจากการอิงอาศัยกัน ระหว่างจุลินทรีย์กับต้นไม้ ตัวอย่างเช่น ไรโซเบียม และไมโครไรซาหลายชนิด ที่อาศัยน้ำเลี้ยงจากรากต้นไม้ในเวลาเดียวกัน จุลินทรีย์เหล่านี้จะดักจับเอาก๊าซไนโตรเจน (N) ที่มีมากมายในอากาศให้เป็นประโยชน์กับต้นไม้ และ ชนิดที่สาม ปุ๋ยอนินทรีย์ หรือเรียกกันทั่วไปว่า ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชนิดนี้เป็นแหล่งของธาตุอาหารจำเป็นสำหรับต้นไม้ ประกอบด้วย 3 ธาตุ คือ ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) และ ธาตุโพแทสเซียม (K) ทั้งนี้ บทบาทของธาตุแต่ละชนิด มีดังนี้

ธาตุไนโตรเจน (N) ทำหน้าที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตทางลำต้นและใบในระยะแรก หากต้นไม้ขาดธาตุนี้แล้ว ใบจะเหลืองและแคระแกร็น

ธาตุ ฟอสฟอรัส (P) ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของระบบรากและกระตุ้นการออกดอกของต้นไม้ ส่วน ธาตุโพแทสเซียม (K) มีบทบาทในการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ที่เกิดจากขบวนการสังเคราะห์แสงที่ใบ ส่งไปยังผล ลำต้น หรือหัว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิด

มักมีคำถามเสมอว่า ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นนั้น มีความหมายอย่างไร คำตอบ คือ น้ำหนักปุ๋ยที่บรรจุในถุง หรือในกระสอบ 100 กิโลกรัม จะมีธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) และธาตุโพแทสเซียม (K) ชนิดละ 15 กิโลกรัม ที่ต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อรวมกัน 3 ธาตุ จะได้ 45 (15+15+15) กิโลกรัม ส่วนเกินอีก 55 (100-45) กิโลกรัม เรียกว่าสาร ตัวเติม นิยมใช้ทราย หรือดินเหนียวเป็นส่วนผสม แล้วนำไปแต่งสี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เกษตรกรนำไปใช้ได้สะดวก แม้จะบรรจุ ขนาด 20, 50 หรือ 100 กิโลกรัม ต่อถุง ตัวอย่างมีคำแนะนำว่า ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ เกษตรกรก็สามารถชั่งน้ำหนักตามนั้น หว่านลงในแปลงข้าวโพดได้ทันที

ขอ อธิบายเพิ่มเติมปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 เรียกว่า ปุ๋ยผสม เป็นชนิดครอบจักรวาล ใช้ได้กับทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นไม้ แต่เน้นไปที่การเจริญเติบโตในระยะแรก ส่วนปุ๋ยสูตร 12-24-12 เป็นปุ๋ยช่วยกระตุ้นการออกดอกของต้นไม้ และปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียงให้ใส่เมื่อต้นไม้ติดผลแล้ว จะช่วยให้ผลมีสีสวยและขนาดใหญ่ขึ้น

สำหรับยูเรีย แหล่งของธาตุไนโตรเจน (N) มีสูตร 46-0-0 นั้น มีโครงสร้างเหมือนกับน้ำปัสสาวะของมนุษย์ทุกประการ โดยได้มาจากขบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

สูตร 46-0-0 นั้น หมายถึงมีธาตุไนโตรเจน (N) เพียงธาตุเดียว ภาษาวิชาการเรียกว่า ปุ๋ยเดียว ใน 100 กิโลกรัม มีธาตุไนโตรเจน (N) ที่ต้นไม้นำไปใช้ได้เพียง 46 กิโลกรัม เท่านั้น ใช้ในกรณีที่ต้นไม้ทรุดโทรม ใบมีสีเหลือง ให้ละลายน้ำสะอาด อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือ 20 ลิตร รดให้ชุ่มเป็นครั้งคราวก็พอ

ทั้ง นี้ ธาตุฟอสฟอรัส (P) กับธาตุโพแทสเซียม (K) นั้น นำขึ้นมาจากใต้พิภพ หรือใต้ดิน โดยเฉพาะธาตุโพแทสเซียม (K) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีอยู่มากมายมหาศาล แต่เป็นเรื่องยากที่จะนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น ปุ๋ยอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี นั้นไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

คำตอบของความต่างระหว่าง ปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีนั้น โดยรวมแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้โครงสร้างของดินดี ส่วนปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอนินทรีย์นั้นให้เนื้อธาตุ ดังนั้น การปลูกต้นไม้เพื่อให้ผลดีต้องผสมผสานกัน ระหว่างอินทรีย์กับเคมี เป็นวิธีที่ดีที่สุด ผมขอนำผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ ของกองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตรมาเขียนเป็นสูตรปุ๋ยที่ประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ของมูลค้างคาว มูลไก่ มูลสุกร ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว มูลโค กระบือ และแกลบดิบ ได้ดังนี้ 2-14-1, 2-6-2, 1-2-1, 1-1-1, 1-0-2 และ 0-0-1 ตามลำดับ จากตัวเลขข้างต้น แม้ว่ามูลค้างคาวจะมีธาตุฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงมากก็ตาม แต่กว่าจะรวบรวมได้ 100 กิโลกรัม ก็หาได้ลำบากยากเย็น

อีกทั้งยังมีธาตุไนโตรเจน และธาตุโพแทสเซียม ต่ำมาก ดังนั้น ถ้าต้องการปลูกพืชให้ได้ผลดี ต้องใช้ร่วมกันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดตามที่ผมอธิบายมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้ ผมได้รับการยืนยันจากเกษตรกรชาวสวนผลไม้ที่จังหวัดจันทบุรีว่าปุ๋ยไม้ผลนั้น อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีร่วมอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ ผลไม้จึงจะได้คุณภาพ แม้จะปรุงแต่งปุ๋ยอินทรีย์อย่างดีแล้วก็ตาม
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ชักพระ
อำเภอ / เขต :
ตลิ่งชัน
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10170
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ปีที่ 28 ฉบับที่ 629
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM