เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ขี้แดดนาเกลือ'ภูมิปัญญาไทย ปุ๋ยเพิ่มความหวานผลไม้
   
ปัญหา :
 
 

        ประโยชน์ “ขี้แดดนาเกลือ” ใช้ใส่ไม้ผลและพืชผักจะช่วยเพิ่มความหวานได้ดีเกือบทุกชนิด ผลคือทำให้ชาวนาเกลือได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดส้มโอทุกสายพันธุ์ที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรมาแล้วการทำนาเกลือ ถือว่าเป็นอาชีพหลักอีกอาชีพหนึ่งของชาวจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายทะเลปากอ่าวแม่กลอง จึงเอื้อต่อการทำอาชีพนี้ ปัจจุบันจังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ทำนาเกลือประมาณ 4,500 ไร่ ในตำบลบางแก้วและตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม มีผู้ประกอบอาชีพทำนาเกลือ 204 ราย

การทำนาเกลือ นั้น นอกจากจะได้ผลผลิตเกลือไปสู่ผู้บริโภคแล้ว ยังมีผลผลิตอื่นๆ ที่ได้จากกระบวน การทำนาเกลือ แล้วนำไปแปรรูปใช้ในภาคการเกษตรได้อีกด้วย เช่น “ขี้แดดนาเกลือ” ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นปัญหาของชาวนาเกลือเป็นอย่างมาก เพราะต้องเสียเวลาขูดทิ้งทุกครั้งก่อนจะเริ่มทำนาเกลือครั้งใหม่ เพราะหากไม่ขูดทิ้งก็ทำให้เกลือตกผลึกน้อยลง ที่สำคัญยังทำให้เกลือมีคุณภาพต่ำเนื่องจากเม็ดเกลือที่ได้มีเศษขี้แดดปะปน

ดังนั้นทุกปีชาวนาเกลือจึงต้องกำจัด “ขี้แดดนาเกลือ” เหล่านี้และทิ้งไปอย่างไร้ประโยชน์ นายบุญปลอด เจริญฤทธิ์ อายุ 54 ปี เกษตรกรผู้มีอาชีพทำนาเกลือมาตั้งแต่ยังเล็กๆ และเป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนคนทำนาเกลือในตำบลบางแก้ว อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ค้นพบว่า “ขี้แดดนาเกลือ มีประโยชน์กับไม้ผล” เป็นอย่างมาก จนต่อมาหน่วยงานราชการได้นำไปทำวิจัยพบว่า “ขี้แดดนาเกลือ” ก็คือสาหร่าย ตะใคร่น้ำ และจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เจริญเติบโตบนผิวหน้าดิน และเกิดในช่วงหน้าฝนหรือช่วงพักนาเกลือ ซึ่งจะมีน้ำจืดจากน้ำฝนไหลเข้าไปขังอยู่ มีธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชมากมายหลายชนิดเช่น ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ชาวนาเกลือเรียกว่า “ดินหนังหมา” เพราะเมื่อนำไปแช่น้ำจะมีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสุนัขตายเนื่องจากเกิดการเน่าของน้ำนั่นเอง

ประโยชน์ของ “ขี้แดดนาเกลือ” นั้นใช้ใส่ไม้ผลและพืชผักได้ดีเกือบทุกชนิด และจะดียิ่งขึ้นถ้าเป็น “ขี้แดดนาเกลือ” ที่เก็บเก่านานกว่า 6 เดือน เพราะจะช่วยเพิ่มความหวานของผลไม้ต่างๆ เช่นส้มโอ ลิ้นจี่ มะพร้าวน้ำหอม แก้วมังกร แตงโม ขนุน ฯลฯ โดยใส่ปุ๋ยขี้แดดนาเกลือรอบๆ ทรงพุ่มก่อนเก็บผลผลิต 2-3 เดือน ต้นละประมาณ 2-3 กิโลกรัม

นายบุญปลอด บอกด้วยว่า ก่อนที่ตนจะค้นพบว่า “ขี้แดดนาเกลือ” มีประโยชน์มากมายนั้น เนื่องจากตนได้ซื้อแตงโมมากิน แล้วก็โยนเมล็ดแตงโมทิ้งบนกองขี้แดดนาเกลือโดยไม่ได้ใส่ใจ ไม่นานก็เห็นต้นแตงโมและเติบโตให้ลูกดก จึงนำลูกแตงโมมากิน ปรากฏว่ารสชาติหวานอร่อยกว่าลูกที่ซื้อมากินแล้วโยนเมล็ดทิ้งไว้เสียอีก

จึงคิดว่า “ขี้แดดนาเกลือ” น่าจะมีส่วนทำให้แตงโมรสชาติดีขึ้นแน่ จึงนำไปให้เกษตรกรชาวสวนในจังหวัดสมุทรสงครามหลายรายทดลองใส่ที่ต้นส้มโอ ลิ้นจี่ และมะพร้าวน้ำหอม ปรากฏว่านอกจากจะให้ผลผลิตที่ดีแล้วรสชาติของผลไม้เหล่านี้ยังหวานอร่อยยิ่งขึ้นอีกด้วย

นายสมทรง แสงตะวัน อายุ 68 ปี เกษตรกรชาวสวนส้มโอ ในตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นหนึ่งในอีกหลายรายที่ นายบุญปลอด นำ “ขี้แดดนาเกลือ” มาให้ทดลองบอกว่า ตนปลูกส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ ไว้ประมาณ 300 ต้น มะพร้าวน้ำหอม 400 ต้น และลิ้นจี่อีกจำนวนหนึ่ง

ได้นำ “ขี้แดดนาเกลือ” มาใส่ต้นส้มโอ มะพร้าว และลิ้นจี่ร่วมกับปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก โดยไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด พบว่าคุณประโยชน์ของ“ขี้แดดนาเกลือ” มีธาตุโพแทสเซียมสูงช่วยทำให้ส้มโอ มะพร้าว และลิ้นจี่ผลดกและมีรสชาดดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะส้มโอไม่เป็นเม็ดข้าวสาร ตนใส่ต้นละ 3 กิโลกรัมในช่วงก่อนเก็บผลผลิต 60 วัน จากนั้นจึงรดน้ำอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เพียงเท่านี้ก็จะได้ส้มโอขาวใหญ่และไม้ผลอื่นๆ ที่มีรสชาดหวานอร่อย

ผลจากการที่ตนใส่ขี้แดดนาเกลือจึงทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดส้มโอทุกสายพันธุ์ ที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรมาแล้ว

นายสมทรง กล่าวด้วยว่าปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนมักจะหันไปใช้สารเคมีเพื่อบำรุงต้นและเร่งผลผลิตให้เร็วขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้สภาพดินเสื่อมโทรมแล้วยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากเป็นไปได้ตนขอให้เกษตรกรชาวสวนหันมาทำให้ดินมีชีวิตด้วยการใช้ “ปุ๋ยชีวภาพ” และ “ขี้แดดนาเกลือ” แทน ซึ่งปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 2 บาทเท่านั้น!!

ดังนั้นนอกจากจะทำให้ผลผลิตและรสชาติดีขึ้นแล้วยังช่วย “ลดต้นทุน” อีกด้วย

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 21 ก.พ.60
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM