เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ใส่ปุ๋ยช่วงไหนได้ประโยชน์สูงสุด
   
ปัญหา :
 
 
ใส่ปุ๋ยช่วงไหนได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีแก้ไข :
 
เราคงต้องมาเรียนรู้กันว่าใส่ปุ๋ยให้กับพืชช่วงใดเป็นระยะที่เหมาะสมสำหรับพืช ปกติถ้าพืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ขาดธาตุอาหารมักจะแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ การที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่ขาดแคลนให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินชนิดเดียวกันและกับพืชชนิดเดียวกัน อาจให้ผลแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการใส่ปุ๋ยแก่พืชว่าจะตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความ ต้องการธาตุอาหารนั้นๆ หรือไม่ เพราะช่วงระยะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน อย่างเด่นชัดอย่างน้อย 3 ช่วงด้วยกัน คือ

1 ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอกและเจริญเติบโตในระยะ 30-45 วัน พืชมักจะต้องการธาตุอาหารพืชน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังมีน้อยและต้นยังเล็กอยู่

2.ช่วง ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นระยะที่กำลังแตกกอและระยะที่กำลัง สร้างตาดอก เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารมากที่สุดและดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตรา ที่สูงที่สุดในช่วงการเจริญเติบโตที่สองนี้ เพราะเป็นระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต้องการสะสมธาตุอาหาร ไว้ในต้นและใบให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผลที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม 

3.ช่วง ที่พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นระยะกำลังสร้างเมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งผล ฝักหรือเมล็ดแก่

การใส่ควรใส่ให้พืช ณ จุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด
นอก จากจังหวะและระยะเวลาการใส่แล้ว วิธีการเพื่อให้พืชดึงดูดปุ๋ยไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็มีความสำคัญเป็น อย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ยจะเคลื่อนที่ ได้รวดเร็วมากเพราะละลายน้ำได้ง่าย ไนโตรเจนในรูปไนเตรตจะถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดินได้อย่างรวดเร็ว และถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ได้ก็จะสูญเสียไปหมดและไม่เกิดประโยชน์ต่อพืช แต่อย่างใด ปกติแล้วปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ลงดินจะสูญเสียไปโดยการชะละลายเกือบครึ่งหนึ่ง ของจำนวนที่ใส่ลงไป ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม (NH4-N) ถึงแม้จะดูดซับอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ และถูกชะละลายได้ยากก็จริง แต่ถ้าดินมีการถ่ายเทอากาศดี แอมโมเนียม –ไนโตรเจน (NH4-N) จะถูกออกซิไดส์ (oxidized) ให้กลายเป็นไนเตรต-ไนโตรเจน (NO3-N) ได้ง่ายและเร็วมาก

ส่วน ฟอสฟอรัส ในปุ๋ย ถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่ายเมื่ออยู่ในดิน ส่วนใหญ่จะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่างๆ ในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากและทำให้เป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยลงและ ไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตหรือใช้เครื่องพ่นยาตรง จุดไหน ฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ง่ายก็จะมักจะคงอยู่ตรงจุดนั้น หรือถ้าจะเคลื่อนย้ายออกจากจุดเดิมได้บ้างก็เป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี 1-5 ซม. เท่านั้น ดังนั้นในการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืชจึงควรใส่โดยให้เนื้อปุ๋ยอยู่ใกล้กับราก พืชมากที่สุดโดยไม่เป็นอันตรายต่อรากพืช การใส่บนผิวดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยกว่าการใต้ผิวในบริเวณรากที่แพร่ กระจายไปได้ถึง ซึ่งผิดกับปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่บนผิวดินที่สามารถซึมลงยังบริเวณรากที่อยู่ใต้ ผิวดินได้ง่าย โดยทั่วไป การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใต้ผิวดินไม่มีข้อดีมากไปกว่าการใส่บนผิวดิน

สำหรับ ปุ๋ย โพแทช ตามปกติจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าปุ๋ยฟอสเฟตแต่จะช้ากว่าปุ๋ยไนโตรเจน ธาตุโพแทสเซียมในปุ๋ยละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กันกับไนโตรเจนก็จริง แต่เนื่องจากโพแทสเซียมไอออน ( K+) มีประจุบวกซึ่งสามารถดูดซับอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวที่มีประจุลบได้ จึงทำให้ถูกชะละลายได้ยาก แต่อย่างไรก็ดี ปุ๋ยโพแทชในรูปดังกล่าวก็ยังเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายอยู่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทชจึงสามารถใส่บนผิวดินหรือใต้ผิวดินได้ แต่การเคลื่อนย้ายในดินจะเคลื่อนย้ายได้ช้ากว่าไนโตรเจนเดียวกัน การสูญเสียโดยการชะละลายโดยน้ำก็จะน้อยกว่าด้วย

ดัง นั้นในการใส่ปุ๋ยลงดิน ณ จุดที่พืชจะสามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้มากและรวดเร็วที่สุด ผู้ใช้จึงต้องเข้าใจธรรมชาติและสมบัติของธาตุอาหารทั้งสามชนิด (N, P, K) เมื่ออยู่ในดินดังกล่าวข้างต้นเสียก่อน การใส่ปุ๋ยอย่างไรก็ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วย

ขอบคุณความรู้ด้านการเกษตรดีๆได้ที่ กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ cr.Rakkaset Nungruethail , อ.ชาตรี
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เกษตรก้าวหน้า
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM