เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคทำสวนทุเรียนหมอนทอง GAP ทำได้ไม่ยาก ขายได้กำไรสูง
   
ปัญหา :
 
 

ทุเรียน ผลไม้ยอดนิยมของไทย ถูกยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งผลไม้ ”(king of fruit) เพราะมีลักษณะเด่นโดนใจผู้บริโภค ทั้งเนื้อสีเหลืองทอง ดูสวยงาม รสชาติหวานมัน เคี้ยวนุ่มลิ้น เคี้ยวอร่อยกินเพลินจนแทบหยุดไม่ได้  ทำให้ทุเรียนไทยเป็นสินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โกยรายได้เข้าประเทศมากกว่าปีละ 3,500 ล้านบาท โดยเฉพาะ“ หมอนทอง” เป็นทุเรียนพันธุ์ดีที่สุด เหมาะสำหรับทานผลสดและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

สำนักงานเกษตรอำเภอแกลง จังหวัดระยอง โทร. (038) 671-379  ได้ยกย่องให้ สวนทุเรียนหมอนทองของ คุณลุงเสด ใจดี ปราชญ์ไม้ผล แห่งอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการดูแลจัดการสวนทุเรียนคุณภาพ เพราะมีลักษณะเด่นที่น่าสนใจไว้ดังนี้ 1.การเตรียมสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์พวกขี้ไก่ ปุ๋ยหมักชีวภาพและใช้ประโยชน์จากกิ่งและใบทุเรียนที่ตัดแต่งออก โดยสุมไว้ใต้ทรงต้น ปล่อยให้ผุพัง ทำให้ดินดีขึ้นแล้วก็กลายเป็นปุ๋ยทุเรียน

 

  1. ปุ๋ยหมักชีวภาพทำจากวัสดุหาง่ายในพื้นที่ เช่น ใบตำลึงหรือผักบุ้ง กล้วยน้ำว้า น้ำตาลทรายแดง นำไปหมักให้สลายตัวจนได้ที่ สามารถใช้เป็นปุ๋ยทางใบ หรือทางดิน ทำให้ทุเรียนได้รับฮอร์โมนและธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์และเป็นสารไล่แมลงศัตรูทุเรียนบางชนิดได้อีกด้วย

 

  1. มีการให้น้ำทุเรียนตลอดปี แต่ให้ในระดับที่เหมาะสมตามช่วงเวลา แสงแดด และฤดูกาล ช่วยให้ทุเรียนมีความแข็งแรง สามารถได้รับธาตุอาหารจากดินตลอดฤดู ช่วยในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ และปรับสภาพแวดล้อมในดินให้เหมาะสม มีผลต่อจำนวนประชากรของไส้เดือนดินที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อต้นทุเรียนแบบถาวร 4. การใส่ปุ๋ยเคมีพิจารณาตามความต้องการของต้นทุเรียน โดยการสังเกตดูใบและปริมาณผลผลิตที่ตัดออกจากสวน/ต้น การใส่ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต

 

  1. การตัดแต่งผลทุเรียนเพื่อเลี้ยงไว้ในปริมาณที่พอเหมาะ เลือกขนาดของกิ่งที่ไว้ผล จำนวนผลทุเรียน/กิ่ง จำนวนผลทุเรียน/ช่อ และการเลือกตัดแต่งผลที่ไม่ต้องการทิ้งไป 6. มีการวางแผนการผลิตและบริหารจัดการสวนอย่างเป็นระบบ ตรวจสอบค่าใช้จ่าย รายรับทางระบบบัญชี และประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่โดยการเรียนรู้และประเมินผล 7. จุดเน้นที่พัฒนาคุณภาพผลผลิตอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์ต่อคู่ค้า และเป็นผู้นำด้านความรู้และการปฏิบัติในชุมชนและบุคคลทั่วไป

 

ตัดแต่งช่อผล : เทคนิคการเพิ่มคุณภาพ

จากประสบการณ์การทำสวนทุเรียนกว่า 50 ปี ทำให้ลุงเสดได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงว่า  ไม่ควรเก็บทุเรียนจนเต็มต้นเพราะจะทำให้อาหารไม่พอไปเลี้ยงผล ทำให้ผลทุเรียนมีขนาดเล็ก พูไม่เต็มและผลบิดเบี้ยว  ปัจจุบันสวนแห่งนี้ เลือกที่จะตัดแต่งผลทุเรียนไว้เพียง 60-80 ผลต่อต้น เท่านั้นโดยคำนวณขนาดของต้นทุเรียนและดูจำนวนกิ่งใหญ่ที่จะเอาไว้ผลด้วย

การตัดแต่งลูกทุเรียน จะทำการตัดแต่งผล 4 ครั้ง ตามระยะการเติบโตของลูกทุเรียน  ครั้งที่ 1 ระยะที่ผลทุเรียนอ่อนมีขนาดเท่ากับไข่นกกระทา จะตัดผลอ่อนที่มีหางแย้ (ส่วนที่ยื่นจากปลายผลทุเรียนอ่อนยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ดูคล้ายปลายหางแย้) ที่โค้งบิดเข้าหาผลทิ้งไป เลือกเอาไว้เฉพาะผลทุเรียนที่มีหางแย้ตรงเท่านั้น เพื่อให้ได้ผลทุเรียนที่สมบูรณ์ พูเต็มทุกด้าน หากเลือกผลอ่อนที่หางแย้บิดเบี้ยวไว้จะได้ทุเรียนที่มีทรงผลบิดเบี้ยว บางส่วนของผลจะลีบ ไม่มีเนื้อหรือไม่เต็มพู (ทรงแป้ว) ไม่ได้คุณภาพ ขายไม่ได้ราคา

ครั้งที่ 2 ตัดแต่งผลหลังจากครั้งแรกประมาณ 15-20 วัน ดูว่าขนาดผลทุเรียนประมาณไข่ไก่ รูปทรงผลจะเริ่มชัดเจนขึ้นกว่าครั้งแรก ก็ยังคงเลือกตัดผลทุเรียนที่มีหางแย้บิดเบี้ยวออกทิ้งไป คำนวณว่าเอาไว้ 60-80 ลูก ต่อต้น อาจเผื่อไว้อีกนิดหน่อยก็ได้ การเลี้ยงผลจะเลือกไว้เฉพาะกับกิ่งที่ใหญ่ โดยเฉลี่ยก็ราวๆ 2-4 ผล ต่อกิ่ง เท่านั้น

ครั้งที่ 3 ตัดแต่งผลทุเรียนเมื่อมีขนาดของผลเท่ากับกระป๋องนมโดยประมาณ เลือกตัดผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนมากแต่จะมีหลงเหลือมาไม่มากนัก ผลทุเรียนเกือบทั้งหมดค่อนข้างสมบูรณ์ดีแล้ว ครั้งที่ 4 นั้น จะดูว่า มีผลทุเรียนที่บิดเบี้ยว ทรงไม่ได้คุณภาพหลงเหลืออีกหรือไม่ หากพบก็ตัดทิ้งไป ปกติก็จะมีสัก 1-3 ผล ต่อต้น เท่านั้น แต่หากพอรับได้ก็จะเก็บไว้ตัดขายต่อไป

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ระยอง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 21 มี.ค.60
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM