เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง เล็บนกปัตตานี และเจ้าฮ่อ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้าว 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เฉี้ยงพัทลุง เล็บนกปัตตานี และเจ้าฮ่อ ขอเรียนถามคุณหมอเกษตร ทองกวาว ว่า ข้าวแต่ละพันธุ์นั้นมีลักษณะอย่างไร และแต่ละพันธุ์นั้นปลูกได้ทั่วไปได้หรือไม่ ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ประเทศไทย นับว่าโชคดีที่มีแหล่งพันธุกรรมข้าวมากมายหลากหลาย หากย้อนกลับไปในอดีตมาจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า บรรพบุรุษของไทยนั้นมีความชาญฉลาดยิ่งที่สามารถคัดเลือกลักษณะเด่นของแต่ละสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ส่งผลให้บ้านเรากลายเป็นแหล่งพันธุกรรมข้าวที่สำคัญของโลกเลยทีเดียว แม้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่ง แต่ยังสามารถครองความเป็นเจ้าในการส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน คำถามที่ถามมานั้น ข้าวทั้ง 3 พันธุ์ เป็นพันธุ์ประจำท้องถิ่น หมายถึงเป็นข้าวที่เกษตรกรหรือชุมชนคัดเลือกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือในท้องถิ่นนั่นเอง ข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง วิธีคัดเลือกพันธุ์รวบรวมพันธุ์มาจากจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และนครศรีธรรมราช เพื่อคัดเลือกหาสายพันธุ์ที่ดีที่สุด ที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง เฉี้ยงพัทลุงเป็นข้าวเจ้าชนิดตอบสนองต่อช่วงแสงคือปลูกได้ในฤดูนาปีเท่านั้น เมล็ดมีท้องไข่ปานกลาง คุณภาพการสีและการหุงต้ม ลักษณะร่วนแข็ง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 470 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกได้ผลดีใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่กล่าวมาข้างต้น ข้าวพันธุ์เล็บนกปัตตานี เป็นข้าวเจ้าพื้นเมือง ตอบสนองต่อช่วงแสง เมล็ดข้าวเปลือกมีสีฟาง ปลายเมล็ดเป็นจุดสีม่วง เมล็ดข้าวสารมีท้องไข่ปานกลาง คุณภาพการสีดีและควรหุงต้ม เป็นข้าวนุ่ม รสชาติดี อีกทั้งนำแป้งทำเส้นก๋วยเตี๋ยวก็ได้คุณภาพดีเช่นเดียวกัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 480 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกได้ดีในบริเวณที่ลุ่มของจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง และ ข้าวพันธุ์เจ้าฮ่อ ข้าวพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ข้าวไร่ ใช้ปลูกบนดอยอาศัยน้ำฝน ในสภาพไร่โดยไม่ต้องทำคันนา ปลูกได้ดีที่จังหวัดเชียงราย เป็นข้าวที่นิยมของชาวเขาเผ่าลีซอ ปลูกได้เฉพาะนาปี บนที่สูงไม่เกิน 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เมล็ดข้าวเปลือกมีสีฟาง ข้าวสุกรสชาติดี ค่อนข้างนุ่ม ให้ผลผลิต 210 กิโลกรัม ต่อไร่ ปัจจุบันมีบางท่านที่พำนักอยู่ที่กรุงเทพฯ กลับหลงใหลในรสชาติของข้าวเฉี้ยงพัทลุงก็มี สอบถามว่าเคยไปลิ้มรสข้าวพันธุ์นี้เมื่อครั้งเดินทางไปท่องเที่ยวที่ภาคใต้ เมื่อคุยถึงข้าวภาคใต้แล้วผมอดเล่าเรื่องข้าวพันธุ์แปลกพันธุ์หนึ่ง คือ พันธุ์หนอนหัก ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบข้าวพันธุ์นี้ เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว พบที่จังหวัดปัตตานี ลักษณะเด่นคือ ในหนึ่งระแง้มี 3 เมล็ด แต่ข้าวพันธุ์ดังกล่าว ยังขาดการนำเอาพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งนี้เมื่อศึกษาจากรูปร่างภายนอกจะพบว่าข้าวพันธุ์หนอนหัก มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง อีกทั้งเปลือกข้าวสะอาด ปราศจากโรคเมล็ดด่างที่เมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งในภาคใต้หาลักษณะข้าวทนโรคเมล็ดด่างได้ยาก ในโอกาสที่สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร ได้ยกระดับขึ้นเป็น กรมการข้าว ผมขอฝากให้ลองนำลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์หนอนหักไปใช้ประโยชน์ในแง่ปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
12
ตำบล / แขวง :
ยางหย่อง
อำเภอ / เขต :
ท่ายาง
จังหวัด :
เพชรบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
76130
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 378
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM