เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มาเลย์คิดนวัตกรรมใหม่ “สติกเกอร์ชะลอผลไม้สุก” แค่แปะก็หมดปัญหาเน่าเสีย! ก่อนได้กิน
   
ปัญหา :
 
 
ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น ผักและผลไม้ กว่าจะผ่านกระบวนการซัพพลายเชนจนถึงปลายทางผู้บริโภค ด้วยเวลาที่เนิ่นนานเกินไปก็จะเกิดเหตุการณ์ประมาณว่า “สุกต่อไม่รอแล้วนะ” ทำให้เกิดปัญหาหากขายหรือบริโภคไม่ทัน ต้องทิ้งไป
วิธีแก้ไข :
 
ปัญหาอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร คือ ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น ผักและผลไม้ กว่าจะผ่านกระบวนการซัพพลายเชนจนถึงปลายทางผู้บริโภค ด้วยเวลาที่เนิ่นนานเกินไปก็จะเกิดเหตุการณ์ประมาณว่า “สุกต่อไม่รอแล้วนะ” ทำให้เกิดปัญหาหากขายหรือบริโภคไม่ทัน ต้องทิ้งไป ข้อมูลระบุเฉพาะในอเมริกาประเทศเดียว การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากฟาร์มเพื่อส่งไปขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ 52% ของผักผลไม้ที่ออกจากฟาร์มมีปลายทางที่ถังขยะ เพราะเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพ สร้างความเสียหายปีละหลายหมื่นล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น ตามครัวเรือนต่างๆ เมื่อซื้อผลไม้มาไว้บริโภค กลายเป็นว่า 60% เน่าเสียก่อนได้กิน ทำให้สูญเงินเฉลี่ยครอบครัวละ 1,600 ดอลลาร์ แต่ปัญหาเหล่านี้บรรเทาได้เมื่อบริษัท Stimulus Nature Resources ในมาเลเซียได้คิดค้นนวัตกรรมชะลอการสุกของผลไม้ นวัตกรรมที่ว่ามาในรูปสติกเกอร์ติดผลไม้ โดยซาฟรี ไซนูดิน ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเล่าว่าแรงบันดาลใจเกิดจากเพื่อนที่เป็นเจ้าของแผงขายผลไม้มาบ่นให้ฟังว่า สั่งผลไม้มาแล้วขายไม่ทัน ผลไม้เน่า ทำให้ขาดทุน ด้วยเหตุนี้ ซาฟรีจึงคิดหาหนทางแก้ปัญหานี้ เขาใช้เวลาเกือบ 3 ปีในการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยยูเอ็มพี สถาบันวิจัย หน่วยงานต่าง ๆ และอีกหลายมหาวิทยาลัย รวมถึงยูออฟเซ้าท์ออสเตรเลียพัฒนา StixFresh สติกเกอร์ติดผลไม้เพื่อรักษาความสดของผลไม้ได้นาน 14 วัน โดยสติกเกอร์ดังกล่าวเคลือบส่วนผสมจากธรรมชาติ 100% ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือ และขี้ผึ้ง (beeswax) ที่ชะลอกระบวนการที่ทำให้ผลไม้สุก โดยการกำจัดเอทีลีนออกไป เนื่องจากเอทีลีนเป็นฮอร์โมนพืชรูปก๊าซที่ช่วงเร่งการสุกของผลไม้ นอกจากนั้น StixFresh ยังช่วยควบคุมการทำงานของแบคทีเรียอีกด้วย ในช่วงแรกๆ การคิดค้นนวัตกรรมนี้พุ่งเป้าไปที่การใช้งานเพื่อยืดอายุมะม่วง แต่ภายหลังพบว่าสามารถใช้กับผลไม้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ มีการทดสอบกับผลไม้หลากหลายชนิดและพบว่าช่วยชะลอการสุกได้จริง ส่วนระยะเวลาที่ชะลอขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ สำหรับผลไม้ที่ใช้ได้ผลดีส่วนใหญ่เป็นผลไม้เมืองร้อน อาทิ แก้วมังกร มะเฟือง มังคุด มะละกอ รวมถึง สาลี่ แอปเปิ้ล อโวคาโด กีวี และลูกพลับ วิธีการใช้งานก็แค่ติดสติกเกอร์ StixFresh ลงบนผลไม้เท่านั้นเอง ผลไม้ก็จะมีความสดและอายุยืนยาวขึ้น สติกเกอร์ StixFresh สามารถใช้เพียงครั้งเดียว เมื่อแกะออกจากผลไม้ ก็จะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป ทีมนักวิจัยยังระบุอีกว่าสติกเกอร์นี้มีความปลอดภัย หากเผลอรับประทานเข้าไปก็ส่งผลกระทบใดๆ ต่อร่างกาย ปัจจุบัน StixFresh ใช้งานกันแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรทั้งรายเล็ก รายใหญ่ รวมถึง ซูเปอร์มาร์เก็ต และผู้ส่งออกและนำเข้าผลไม้ ปี 2017 ที่ผ่านมา StixFresh ทำยอดขายไปแล้วกว่า 1.3 ล้านชิ้น ทีมงานคาดหวังจะขยายไปตลาดนอกประเทศในทวีปเอเชีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกาเหนือ รวมถึงในอนาคตจะมีการพัฒนา StixFresh เวอร์ชั่นที่ใช้กับผลไม้ขนาดเล็กเปลือกนิ่ง อย่างองุ่น หรือผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ รวมถึงรุ่นที่ใช้กับผักต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของซาฟรี และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอีก 2 คนได้แก่ มูดี้ โซไลมาน และสตีฟ ฮัลเทง คือการจำหน่ายเทคโนโลยีการผลิต StixFresh มากกว่าโดยบริษัทเพิ่งเปิดออฟฟิศในสหรัฐฯ และทุ่มงบเกือบ 1.8 ล้านริงกิตไปกับงานด้านต่างๆ อาทิ การวิจัยและพัฒนา งานด้านทรัพย์สินทางปัญญา งานด้านองค์การอาหารและยา เครื่องจักรในการผลิต และการประชาสัมพันธ์ StixFresh ตามงานแสดงสินค้า ทั้งนี้ ความท้าทายอย่างหนึ่งของ StixFresh คือการทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจริง เนื่องจาก StixFresh ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม food additive หรือวัตถุเจือปนอาหาร และมีการสัมผัสอาหารโดยตรงจึงอาจทำให้ผู้บริโภคยังกังวลเรื่องความปลอดภัย
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
vulcanpost.com
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM