เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ครั้งแรก ปท.ไทย เลี้ยงปลาสเตอร์เจียน ได้ไข่ปลาคาเวียร์ กิโลละ 5 หมื่น ผลสำเร็จ
   
ปัญหา :
 
 
พอพูดถึง ไข่ปลาคาเวียร์ ก็นึกถึง ไข่ปลาที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาที่สูงถึงกิโลกรัมละหลักหมื่นบาทไปจนถึงหลักแสนบาท แต่วันนี้ สามารถผลิตไข่ปลาคาเวียร์ มาจากการเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนในประเทศไทย ได้เป็นผลสำเร็จ ที่ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ ดอยดำ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มาของ การนำปลาสเตอร์เจียน มาเลี้ยงในประเทศ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริให้กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการหาแนวทางพัฒนาการเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนบนพื้นที่สูง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้มีอาชีพ นางสาวสมพร กันธิยะวงศ์ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 มีความประสงค์ ให้ชาวเขาบนดอยสามารถเลี้ยงปลา เพื่อบริโภคและจำหน่ายได้ เพราะที่ผ่านมา พื้นที่บนดอย ไม่ค่อยมีใครเลี้ยงปลา เนื่องจากสภาพอากาศหนาว ทำให้น้ำเย็น ทางศูนย์ฯ จึงได้ศึกษาหาพันธุ์ปลาที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ และพบว่าปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่เหมาะสม เพราะเป็นปลาที่ชื่นชอบน้ำเย็น และไข่ที่ได้จากปลาสเตอร์เจียน ชื่อว่า ไข่ปลาคาเวียร์ ได้รับความนิยมและมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ หลักหมื่นบาท โดยทางศูนย์ฯได้รับเงินทุน ส่วนพระองค์ จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในการนำเข้าปลาสเตอร์เจียน จาก 2 ประเทศ คือ ประเทศเยอรมนี และรัสเซีย สายพันธุ์ สเตอร์เจียนไซบีเรีย เป็นสายพันธุ์ที่ให้ไข่ปลาคาเวียร์ คุณภาพระดับกลาง จำนวน 10,000 ตัว นำมาเพาะเลี้ยงอยู่ในโครงการฯ บนพื้นที่ 6 ไร่ สำหรับ การเพาะพันธุ์ปลาสเตอร์เจียน ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ทางศูนย์ฯต้องใช้เวลาในการศึกษาหาข้อมูล และลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง มาจนถึงวันนี้ ผ่านมาเกือบ 12 ปี แต่เนื่องจากปลาสเตอร์เจียนเป็นปลาที่เลี้ยงไม่ยาก เพียงแต่ต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสม และพื้นที่บนดอยที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ดอยดำ มีสภาพอากาศ และอุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมทำให้การเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ปัจจุบัน ทางศูนย์ฯ มีรายได้จากการจำหน่ายปลา และไข่ปลาสเตอร์เจียน ถึงปีละ 500,000 บาท ทั้งนี้ หลังจากเลี้ยงมาได้ 8 ปี ปลามีสภาพสมบูรณ์พร้อมให้ไข่ ในแต่ละปี ปลาสเตอร์เจียนจะให้ผลผลิตไข่ปลาจำนวน 10 กิโลกรัม โดยปลาน้ำหนัก 10 กิโลกรัม จะให้ผลผลิตไข่ปลา 1 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 50,000 บาท เป็นราคาที่ถูกกว่า ไข่ปลาคาเวียร์ที่นำเข้าในระดับคุณภาพเดียวกันอยู่เล็กน้อย ส่วนวิธีการเลี้ยงปลาสเตอร์เจียน มีข้อจำกัดอย่างเดียว คือเรื่องอุณหภูมิของน้ำ ปลาสเตอร์เจียนเป็นปลาที่ชอบน้ำเย็น ดังนั้น น้ำที่ใช้เลี้ยงควรมีอุณหภูมิอยู่ที่ระหว่าง 12-24 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิเกินนี้ จะส่งผลให้ปลาเครียดไม่กินอาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำ โปรตีน 45 เปอร์เซ็นต์ ราคากิโลกรัมละ 50 บาท ให้วันละ 1 ครั้ง สำหรับบ่อเลี้ยงจะเป็นบ่อเลี้ยงธรรมชาติ โดยผันน้ำจากลำห้วย ปัจจุบันมีบ่อเลี้ยงทั้งหมด 10 บ่อ เป็นบ่อปูนซีเมนต์ ขนาด 120 ตารางเมตร ปล่อยปลาได้ 1,000 ตัว ใช้วิธีเบี่ยงน้ำจากลำห้วยเข้าบ่อ นอกจากนี้ ความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญ ต้องหมั่นทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ไล่น้ำออก ถอดท่อ เพื่อระบายน้ำบางส่วนออกแล้วเติมน้ำใหม่เข้ามา ส่วนระบบน้ำ เป็นระบบธรรมชาติ ใช้น้ำจากความเย็นบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะให้ความเย็นแบบนี้ต้องเป็นเขตป่า เขตอุทยานฯ เท่านั้น เอกชนโดยทั่วไปไม่สามารถทำได้ ระยะเวลาในการเลี้ยงปลาที่สมบูรณ์พร้อมมีไข่ จะต้องใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 8 ปี ซึ่งไข่ออกขายจริงๆ คือ ช่วงเดือนกันยายน-เดือนเมษายนของทุกปี โดยผู้ที่ต้องการซื้อไข่ปลา จะต้องสั่งเข้ามาล่วงหน้า เพราะแต่ละปี มีผลผลิตออกมาจำกัด แค่เพียง 10 ถึง 15 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนของเนื้อปลา ก็นำมาจำหน่ายได้เช่นกัน ที่ร้านของโครงการฯ ทั้งที่เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ในราคากิโลกรัมละ 500 บาท นางสาวสมพร บอกว่า ในส่วนของเกษตรกรที่สนใจ นำไปเพาะเลี้ยง ตอนนี้ ยังไม่มีลูกพันธุ์ปลาจำหน่าย ประกอบกับ ด้วยสภาพภูมิอากาศ ที่บ้านเราที่ร้อนชื้น ไม่เหมาะสม ผู้ที่จะเลี้ยงต้องลงทุนสูง ในการควบคุมอุณหภุูมิของน้ำ ให้เย็นตลอดเวลา ในส่วนของศูนย์ฯ เอง ก็ยังไม่มีลูกพันธุ์ปลาจำหน่าย เพราะยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ให้กับเกษตรกรได้ คาดว่าน่าจะอีก 3-4 ปี จะมีปลาที่สามารถเป็นพ่อ แม่พันธุ์ พร้อมให้ลูกรุ่น 1 แก่เกษตรกรในพื้นที่ หรือ เกษตรกรที่สนใจ ต้องการจะเลี้ยง โดย กระบวน การแปรรูปไข่ปลาคาเวียร์ ทางศูนย์ฯมีกระบวนการแปรรูปเอง โดยการนำไข่ปลาผสมกับเกลือ เกลือที่ใช้เป็นดอกเกลือแกงคุณภาพสูง จากฟาร์มทะเลตัวอย่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริเพชรบุรี ส่วนไข่ปลาคาเวียร์ นำมาจำหน่ายอยู่ภายใต้ชื่อ “ศิลปาชีพ” อีกส่วนรับผลิตตามออเดอร์ลูกค้า เนื่องจากไข่ปลาคาเวียร์ยังใหม่ สำหรับคนไทย บางส่วนยังไม่เชื่อมั่นกับรสชาติไข่ที่ผลิตในประเทศไทย ส่วนเกษตรก ที่สนใจ ต้องการจะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียน ทาง "สมพร" บอกว่า การเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนนับเป็นอาชีพใหม่ที่น่าสนใจ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การลงทุนที่ต้องใช้เงินลงทุน มากพอสมควร ทั้งในเรื่องของพื้นที่ การควบคุมอุณหภูมิ รวมถึง การตลาด เนื่องจากไข่ปลาคาเวียร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูง ต้องหาช่องทางขายสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายให้ได้ ทั้งนี้ ถ้าเกษตรกร ไม่มีช่องทางการตลาด ก็คงจะประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะในการเลี้ยงต้องใช้เงินทุนสูง ส่วนด้านความรู้ในการเลี้ยงปลา ทาง “สมพร” บอกไม่ใช่เรื่องยาก สามารถเรียนรู้ได้จากทางอินเตอร์เน็ต หรือ เข้ามาเรียนรู้งานที่ศูนย์ฯก็ได้เช่นกัน ที่ผ่านมาประเทศไทยนำเข้าไข่ปลาคาเวียร์จากต่างประเทศแบบ 100% ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการเลี้ยงปลา เพื่อได้ไข่ปลาคาเวียร์ออกมาจำหน่าย ซึ่งผลผลิตที่ได้ถือว่ามีส่วนน้อยมาก และคนที่รู้จักคาเวียร์ที่ผลิตในประเทศไทย ถือว่ามีอยู่ในวงแคบ และถ้าในอนาคตทางศูนย์ ฯจะมีการพัฒนาสายพันธุ์ ปลาสเตอร์เจียนในประเทศ เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศในประเทศได้มากขึ้น ก็จะเป็นโอกาสให้กับผู้ประกอบการคนไทย ได้เลี้ยงปลาชนิดนี้ เพื่อผลิตไข่ปลาคาเวียร์จำหน่ายลดการนำเข้าได้ ประวัติความเป็นมา ของโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ดอยดำ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่เมื่อ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทอดพระเนตรพื้นที่ดอยดำ เมื่อวันที่ 22 มกราคม2545 และมีพระราชดำริให้จัดทำโครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่ ดอยดำ” ซึ่งพื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง และเป็นเขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เกิดข้อจำกัดด้านกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติทำให้ต้องดำเนินการแบบโครงการฯ “ดอยฟ้าห่มปก” คือ “โครงการทดลองให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน” เป็นการดำเนินงานทางวิชาการ เพื่อการบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
ผู้จัดการออนไลน์ 11 ธ.ค.61
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM