เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีทำ “ปุ๋ยอินทรีย์-น้ำสกัดชีวภาพ” ทำตามได้ไม่ยาก ใช้กับสวนไม้ผล ได้คุณภาพเยี่ยม!
   
ปัญหา :
 
 
ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณสมศักดิ์ เครือวัลย์ เกษตรกรทำสวนผลไม้ จังหวัดระยอง สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2558 เดิมทีเขาทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก และได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อมาลงทุน แต่ประสบกับภาวะขาดทุนจากสภาพพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและมีปัญหาโรคพืช จากการผลิตแบบเดิมๆ ที่มีต้นทุนสูง จึงไม่สามารถใช้หนี้ที่กู้ยืมมาได้ จุดเปลี่ยนของการทำการเกษตรโดยไม่พึ่งสารเคมี เริ่มจากได้ไปศึกษาดูงานกับ ธ.ก.ส. ในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาฟาร์มตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน และจากการได้รับคัดเลือกเป็นหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีโอกาสเดินทางไปอบรมสัมมนาในพื้นที่ต่างๆ หลายแห่ง โดยใช้เวลาศึกษาเรียนรู้และตัดสินใจนาน 2-3 ปี จึงตัดสินใจทำการเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่พึ่งพาสารเคมีทุกประเภท จนสามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ มีรายได้ตลอดทั้งปี โดยคุณสมศักดิ์ ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานนั้นมีความโดดเด่นเรื่อง ดังนี้ วิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มีกระบวนการผลิต ดังนี้ 1. วัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.1 มูลสัตว์แห้งละเอียด 1 ส่วน 1.2 แกลบดำ 1 ส่วน 1.3 อินทรียวัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว และขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน 1.4 รำละเอียด 1 ส่วน 1.5 นำน้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน+น้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วน คนจนละลายเข้ากันดี 1.6 กระสอบป่านเก่าๆ สำหรับคลุมปุ๋ยที่ผสมแล้ว 1.7 จอบ 1.8 พลั่ว และ 1.9 ฝักบัวรดน้ำ 2. ขั้นตอนการทำ มีดังนี้ 2.1 เตรียมพื้นที่ผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ หรือถ้าเป็นพื้นดินให้ปูผ้ายางเพื่อป้องกันปุ๋ยซึมลงดิน 2.2 นำเอาวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี 2.3 เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพน้ำตาลและอ้อยใส่บัวราดบนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นเกินไป 2.4 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์ หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจต้องเอากระสอบที่คลุมออก แล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลง นำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป และ 2.5 บรรจุปุ๋ยหมักที่คลุกเคล้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ยไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ 5-7 วัน ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกันเป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลยแสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าเราได้ความชื้นสูงเกินไปจะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้น ความชื้นที่ได้ต้องพอดี ประมาณ 30% ปุ๋ยชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้วสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม สำหรับวิธีการใช้ มีดังนี้ 1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร 2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผัก ประมาณ 1 กำมือ 3. ไม้ผล ควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแนวทรงพุ่ม 1-2 กำมือ ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง หรือฟาง แล้วรดน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม 4. ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ การทำน้ำสกัดชีวภาพ มีกระบวนการผลิต ดังนี้ 1. วัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.1 ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท จะเป็นถังพลาสติกหรือจะใช้ถุงพลาสติกก็ได้ 1.2 กากน้ำตาล หรือน้ำตาลได้ทุกชนิด 1.3 พืชอวบน้ำทุกชนิด เช่น ผัก ผลไม้ รวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ำที่สดยังไม่เน่าเปื่อย และ 1.4 หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ถ้าไม่มีให้ใช้สารเร่ง 1 ซอง) 2. ขั้นตอนการทำ มีดังนี้ 2.1 ผสมน้ำกับน้ำตาล หรือกากน้ำตาล โดยแบ่งถังเป็น 3 ส่วน น้ำกับน้ำตาลส่วนที่ 1 ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารเร่ง 1 ซอง กวนให้เข้ากัน 2.2 หั่นผัก ผลไม้ให้เป็นชิ้นๆ ใส่ลงไปในถัง ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน 2.3 เมื่อครบกำหนดจึงนำน้ำสกัดไปใช้ประโยชน์ได้ และ 2.4 กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้ สำหรับวิธีการใช้มีดังนี้ 1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพ อัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 500-1,000 ส่วน รดต้นไม้หรือฉีดพ่นบนใบ 2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอกก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวน ควรทำในตอนเช้า 3. ควรใช้อย่างสม่ำเสมอ และ 4. ใช้กับพืชได้ทุกชนิด ในการเก็บรักษาควรเก็บถังหมักและน้ำกสัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม โดยจะต้องปิดฝาให้สนิท ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์และน้ำสกัดชีวภาพ คือ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของจุลินทรีย์ในดินและการเจริญเติบโตของพืชมีราคาถูกสามารถทำได้ด้วยตนเองและใช้กับพืชได้ทุกชนิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ คุณสมศักดิ์ ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ มีความเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะใช้หลัก ความพอประมาณ คือ เริ่มต้นจากการไม่ก่อหนี้ การทำแต่พอแรง ไม่โลภ ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป มีความพออยู่พอกิน พอร่มเย็น ทำอย่างไรก็ได้ให้ตนเองมีความพอดีก่อน คือ มีกินก่อน ทานข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง อย่าทำแบบก้าวกระโดด พอตัวเองมีกินแล้วจึงค่อยแจกเพื่อนบ้าน แล้วจึงนำไปจำหน่าย ขอบคุณข้อมูล จากหนังสือ การเพิ่มรายได้เกษตรกร ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ระยอง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 16 พ.ค.62
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM