เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ไผ่ ต้องการปุ๋ยเมื่อใด? เราต้องให้ปุ๋ยไผ่ ตอนไหน?
   
ปัญหา :
 
 
ไผ่ ต้องการปุ๋ยเมื่อใด? เราต้องให้ปุ๋ยไผ่ ตอนไหน?
วิธีแก้ไข :
 
ไผ่ เป็นพืชที่อยู่คู่กับคนไทยและคนเอเชียมาตั้งแต่สมัยโบราณ อยู่ในวิถีชีวิตอย่างแยกกันไม่ออก ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ก็ยังไม่สามารถแยกคนออกจากไผ่ได้ ความผูกพันที่ลึกซึ้ง ทำให้แผ่นดินอุดมสมบูรณ์ การใช้ประโยชน์จากไผ่มีอยู่ทุกวัน ทุกเวลา ทุกสถานที่ แม้แต่เพลงก็ยังฟังเสียงของ ไผ่ พงศธร…อ่ะนะครับ ในสมัยก่อนนิยมบริโภคหน่อไม้ แต่เป็นหน่อไม้จากป่ามากกว่า สมัยนี้ก็ยังนิยมบริโภคหน่อไม้ แต่จากป่าน้อยลง เรายังโชคดีที่มีคนสนใจปลูก จึงได้บริโภคหน่อไม้ที่มาจากหลากหลายชนิด หลากหลายรสชาติมีให้เลือกหลายสายพันธุ์ ต้องยอมรับว่าคนไทยเก่งมาก นอกจากคัดสายพันธุ์เก่งแล้ว ยังเปลี่ยนชื่อเก่งด้วย ภาคเหนือเรียกอย่าง กลาง อีสาน ใต้ ก็เรียกชื่ออีกอย่าง ทั้งๆ ที่เป็นไผ่ชนิดเดียวกัน แต่ก็แปลกนะครับ ไผ่ชนิดเดียวกันเมื่อนำไปปลูกอีกที่ กับมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันได้ เช่น เขตอากาศร้อนชื้น ต้นอวบใหญ่ กอใหญ่ อากาศร้อนแห้งแล้ง ต้นผอมเรียวเล็กสีลำออกเหลือง เขตอากาศหนาวเย็น แตกกอน้อย ลำสั้นอ้วน ตอบได้เพียง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ดิน ฟ้า อากาศ ครับ ฉบับนี้ ก็ขอนำเอาบทความทางวิชาการออกเผยแพร่บ้าง เพื่อประโยชน์ของท่านผู้อ่าน แฟนพันธุ์แท้และสมาชิกของชมรมไผ่เศรษฐกิจไทย เป็นบทความของ ดร.พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ความต้องการธาตุอาหารของไผ่ ธาตุอาหารในดินที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด มีทั้งหมด 17 ธาตุ แบ่งเป็น 1. ธาตุอาหารหลัก หมายถึง ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก ประกอบด้วยธาตุ 6 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ตามปกติธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน จะมีปริมาณมากอยู่แล้วในน้ำและอากาศ ไม่จำเป็นต้องใส่ให้กับพืช แต่เกษตรกรจำเป็นต้องให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม โดยการใส่ปุ๋ย ซึ่งส่วนมากจะใช้ปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยหลัก ในการให้ธาตุทั้ง 3 ธาตุนี้ แก่พืช เนื่องจากปุ๋ยเคมีจะมีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับความต้องการของพืช ส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ธาตุทั้ง 3 นี้ จะไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เพราะมีน้อย 2. ธาตุอาหารรอง ได้แก่ กำมะถัน แมกนีเซียม แคลเซียม ในกรณีที่ดินเป็นกรด (ค่า pH ต่ำกว่า 6.5) มักจะขาดธาตุอาหารรองทั้ง 3 นี้ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาด้วยการใส่ปูนในปริมาณที่เหมาะ (หากต้องการทราบว่าดินเป็นกรดหรือด่าง จะต้องใส่ปูนเท่าใด ให้ใช้ชุดทดสอบดิน ของภาคปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) 3 จุลธาตุ หมายถึง ธาตุที่พืชต้องการในปริมาณที่น้อย แต่ขาดไม่ได้ ได้แก่ โบรอน สังกะสี เหล็ก ทองแดง แมงกานีส โมลิบดีนัม คลอรีน และนิกเกิล ธาตุเหล่านี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมักทั้งแบบน้ำและเป็นของแข็ง และปุ๋ยมูลสัตว์ต่างๆ ไผ่ต้องการปุ๋ยไนโตรเจนมาก ในช่วงการให้ผลผลิต จากการวิจัย พบว่า ไผ่ เป็นพืชที่มีการตอบสนองต่อปุ๋ยดีมาก โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน เนื่องจากมีส่วนช่วยการเจริญเติบโตของ กิ่ง ก้าน ใบ และระบบราก ได้แก่ ปุ๋ย สูตร 46-0-0 หรือ สูตร 21-0-0 เป็นแหล่งไนโตรเจนที่เพียงพอสำหรับไผ่ หรือปุ๋ยอินทรีย์แบบน้ำที่หมักจากเศษปลา ไผ่ต้องการไนโตรเจนมากช่วงของการให้ผลผลิต เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ช่วงมีการแต่งกอ ประมาณ 20-30 กรัม/กอ และทุกเดือนในช่วงที่ไม่แตกหน่อ การที่ไผ่ได้รับไนโตรเจนอย่างเพียงพอ จะทำให้ผลผลิตดี ต้นไม่โทรม อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในดินอยู่ระดับต่ำ เกษตรกรอาจจะให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ หรือสูตรที่มีไนโตรเจนสูงกว่าฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมก็ได้ เช่น สูตรเสมอ 15-15-15, 16-16-16 สูตรที่มีตัวหน้าสูง เช่น สูตร 24-8-8, 16-16-8 (บางพื้นที่นิยมใช้ปุ๋ยยางพารา ได้ผลดีมาก หน่อดกตลอดปี ให้หน่อนาน) เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะทำให้ไผ่ได้รับธาตุอาหารครบถ้วนและมีความสมบูรณ์ให้หน่อได้ตลอดไป ลดการเกิดหน่อฝ่อ แห้ง แทงไม่ขึ้น ออกหน่อแล้วชะงักไม่โต หลังการแต่งกอให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ กอละ 25 กิโลกรัม พื้นที่ 1 ไร่ 100 กอ ใส่ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ 2,500 กิโลกรัม/ปี จุลินทรีย์ในดินช่วยให้ไผ่เจริญเติบโต นอกจากการจัดการธาตุอาหารแล้ว เกษตรกรควรให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดินด้วย เพราะกิจกรรมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดินมีส่วนช่วยให้ไผ่เจริญเติบโต เพราะการดำรงชีวิตของสัตว์เล็กๆ เหล่านี้ เป็นการหมุนเวียนวงจรชีวิต ช่วยทำให้ดินเกิดความหลากหลายทางชีวภาพ จุลินทรีย์ช่วยให้รากไผ่เจริญเติบโต แข็งแรง ส่งผลให้ลำต้นแข็งแรง ไม่ควรเผาสวนไผ่ แต่ควรที่จะรักษาความชุ่มชื้นในสวนไผ่ โดยเฉพาะบริเวณรอบโคนไผ่ หากปลูกไผ่แถวห่างเพียงพอสำหรับปลูกพืชตระกูลถั่ว ให้จัดหาลงปลูก เพื่อประหยัดการใช้ปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยพืชสดให้เกษตรกรติดต่อ สถานีพัฒนาที่ดินที่อยู่ใกล้บ้านท่าน มีทุกจังหวัด เส้นใยราที่อยู่บริเวณรากไผ่มีความสำคัญต่อการทนแล้งของไผ่ การรักษาหน้าดิน จะช่วยให้ไผ่ได้ผลผลิตที่มากขึ้น นานขึ้น ครับท่าน
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 4 มิ.ย.62
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM