เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
‘ปุ๋ยเคมี’ ทำให้ดินเสีย…ดินเป็นกรด จริงหรือไม่?!
   
ปัญหา :
 
 
มีคำพูดกันจนติดปากว่า ถ้าใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานๆ ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะกลับลดลงเรื่อยๆ เพราะปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสีย เช่น ทำให้ดินแข็งไถพรวนยาก พืชกินปุ๋ยได้น้อยลง จึงไม่เติบโตดีเท่าที่ควร ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นที่เคยสูงก็จะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เสมือนกับการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นเป็นยาเสพติด ฯลฯ คำกล่าวนี้มีข้อเท็จจริงมากแค่ไหน?
วิธีแก้ไข :
 
ปัญหาดินแข็งและแน่นทึบ เกิดจากอะไรได้บ้าง?​ ดินที่ปลูกพืชได้ผลผลิตสูงแต่เดิมนั้นเป็นดินดี เพราะมีดินชั้นบนเป็นดินโปร่งร่วนซุย และ อุดมสมบูรณ์ เมื่อเราไถพรวนดินเพาะปลูกพืช อย่างต่อเนื่องติดต่อกันมานาน โดยไม่มีการปรับปรุงบํารุงดินเลยนั้น ดินก็จะเสื่อมสภาพ กลายเป็นดินเลว พืชผลที่ได้จากการเพาะปลูก จะลดลงอยู่เรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตาม ปกติของดินกับการเพาะปลูก สาเหตุที่เป็นเช่น นี้ก็เนื่องจากการเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูก แต่ละครั้งต้องมีการไถพรวนดิน สภาพโล่ง เตียนเมื่อมีฝนตกในช่วงนี้ ก่อนพืชที่ปลูกจะปกคลุมหน้าดิน จะเกิดการชะล้างพังทลายหน้าดิน โดยฝนที่ตกแต่ละครั้งที่เรียกว่าการชะกร่อน ทําให้หน้าดินสูญหายไปกับน้ำที่ไหลบ่าผ่านหน้าดินอยู่เรื่อยๆ นานเข้าดินชั้นบนที่ เป็นหน้าดินดั้งเดิมซึ่งเป็นดินดี จะถูกชะกร่อนหายไปจนหมด ดินชั้นล่างซึ่งปกติจะเป็น ชั้นดินที่แน่นทึบจะโผล่ขึ้นมาเป็นดินชั้นบนแทน จึงทําให้เห็นว่าหน้าดินมีสภาพแข็งและแน่นทึบ ขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว สรุปก็คือ ดินแข็งเกิด จากการไถพรวนเพื่อปลูกพืชตามด้วยการ ชะล้างหน้าดินออกไปโดยน้ำฝน นี่คือ สัจ ธรรมของดินการเกษตรกับการเพาะปลูกพืช ที่ ไม่มีการปรับปรุงบํารุงดินและจัดการดินที่ดี ใส่่ปุ๋ยเคมี… ยิ่งใส่ต้องยิ่งเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ ? การสูญเสียหน้าดินไปนั้น นอกจากสูญเสียธาตุอาหารไปแล้ว ดินยังสูญเสียสภาพทางกายภาพ และทางเคมีที่ดีไปด้วย ในขณะที่ดินกําลังเสื่อมสภาพลง ปัญหาเรื่องการขาดธาตุอาหาร หรือความอุดสมบูรณ์ของดินลดลง จะเกิดขึ้นก่อนเพื่อน และเป็นข้อจํากัดเป็นอันดับแรก เกษตรกรจึงมักใส่ปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีเป็นอันดับแรก เพื่อแก้ปัญหา เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุอาหารที่ขาดแคลนให้พอเพียงแล้วก็ปรากฏผลผลิตที่เคยลดต่ำอยู่เรื่อยๆ นั้น มีผลผลิตสูงขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เลยกลายเป็นความเคยชินและ เข้าใจผิดของเกษตรกร ว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเป็น ปัจจัยเดียวในการแก้ไขดินเลวให้เป็นดินดี จึงยึดติดอยู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ติดต่อกันทุกๆ ปี จนต่อมาก็พบว่าผลผลิต ตอบสนองที่เคยได้รับจากการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นจะค่อยๆ ลดลง บางคนก็จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรักษาระดับผลผลิตให้สูงเท่าเดิม จึงดูเสมือนว่า การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเสมือนยาเสพติด ข้อเท็จจริงที่เป็นเช่นนี้ อธิบายได้ว่า ขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุ อาหารให้กับดินอย่างเพียงพอนั้นปัจจัยตัวอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดินดี หรือที่เรียกว่า ผลิตภาพของดิน (Soil Productivity) นั้นยังมีปัจจัยตัวอื่นๆ อีกหลายปัจจัยที่สําคัญคือ สภาพทางกายภาพของดิน และสภาพทางเคมีของดินได้เสื่อมโทรมลงไปในระดับที่รุนแรง มากกว่าการขาดแคลนธาตุอาหาร ยกตัวอย่างเช่น สภาพทางกายภาพของดินซึ่งได้แก่ ความโปร่ง ร่วนซุย การระบายถ่ายเทอากาศและน้ำในดิน ได้เสื่อมสภาพไปกลายเป็นดินที่แข็งแน่นทึบ การระบายถ่ายเทอากาศและนําเลวลง ซึ่งเป็นผลต่อการเจริญเติบโตของราก การดูดกินน้ำ และธาตุอาหารจากดิน ถึงแม้จะมีอยู่ในดินเป็นจํานวนมาก รากก็ดูดกินได้ไม่เต็มที่ ทําให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารของปุ๋ยที่ใส่ให้โดยเปล่าประโยชน์ หรือในบางกรณีสภาพทางเคมี ของดินก็เสื่อมลงด้วย เช่น ดินเป็นกรดมากไป จนเป็นอุปสรรคต่อการดูดกินธาตุอาหาร และน้ำของราก เพราะมีธาตุบางธาตุในดินเกิดเป็นสารพิษขึ้นกับรากพืช ฯลฯ เป็นต้น ปัจจัยทางกายภาพของดิน เช่น ดินแข็งและแน่นขึ้นมาก ปัจจัยทางเคมี ดินเป็นกรดรุนแรงขึ้น ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้จะเกิดขึ้นเป็นข้อจํากัด ในอันดับต่อมา ซึ่งจะต้องแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมก่อนหรือ พร้อมๆ กับการใช้ปุ๋ยเคมี จึงจะทําให้การตอบ สนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีประสิทธิภาพ สิ่งที่กล่าวมานี้ โดยทั่วไปเกษตรกรไม่ทราบ จึงไม่ ได้ให้ความสําคัญเต็มที่ในการปรับปรุงสภาพ ทางกายภาพ และทางเคมีของดินร่วมไปกับ การใช้ปุ๋ยเคมีจึงทําให้ผลที่ได้จากการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ได้ผลเต็มที่อย่างที่เคยได้รับอีกต่อไป จึง เสมือนว่าเมื่อใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานปีเข้า ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นลดลงเรื่อยๆ สรุปก็คือ การใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ผลเต็มที่นั้น ก็เนื่องมาจากสภาพทางกายภาพของดิน และหรือสภาพทางเคมีของดินเสื่อมโทรมมากจนพืชไม่สามารถตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างเต็มที่นั่นเอง ปุ๋ยเคมีทําให้ดินเป็น “กรด” จริงหรือไม่?! อีกประเด็น หนึ่งที่มักจะนํามาโจมตีปุ๋ยเคมีอยู่เสมอๆ ก็คือ ปุ๋ยเคมีทําให้ดินเป็นกรด เป็นความจริงที่ ว่าการใช้ปุ๋ยเคมีนานเข้าจะทําให้ดินเป็นกรดได้ แต่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ปุ๋ยเคมีทุกชนิดทําให้ดินเป็นกรด ปุ๋ยเคมีพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนเท่านั้น และในกลุ่มของปุ๋ยในโตรเจนก็เพียงปุ๋ยพวกแอมโมเนียม เช่น แอมโมเนียซัลเฟต และยูเรียเท่านั้นที่ทําให้ดินเป็นกรด ส่วนปุ๋ยไนโตรเจนพวกไนเตรต เช่น แคลเซียมไนเตรต ไม่ทําให้ดินเป็นกรด และกลับทําให้ดินเป็นกลาง เหมาะสําหรับใช้กับที่เป็นกรด เพราะจะทําให้ดินมีสภาพใกล้เป็นกลางขึ้นเรื่อยๆ สําหรับปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสเซียม ไม่มีผลทําให้ดินเป็นกรดแต่อย่างใด ดังนั้น การใช้ปุ๋ยเคมี จึงไม่จําเป็น ต้องทําให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นเสมอไป อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นพวกแอมโมเนียมและยูเรีย และรู้ว่าต่อไปนานปีเข้าดินจะเป็นกรดมากขึ้น ผู้ใช้ปุ๋ยก็สามารถแก้ไขและป้องกันได้ กล่าวคือ มีการวัด pH ของดินอย่างสม่ำเสมอ ถ้า pH ของดินมีค่าต่ำกว่า 4.5 เกษตรกรก็จะต้องปรับสภาพความเป็นกรดของดินด้วยการใช้ปูน เช่น ปูน มาร์ล และปูนขาวในอัตราเหมาะสมเป็นประจําทุกปี แต่ถ้า pH ของดินมีค่าสูงกว่า 4.5 สภาพความเป็นกรดของดินจะไม่เป็นผลในทางลบต่อการเจริญเติบโตของพืชแต่อย่างใด อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ หันมาใช้ปุ๋ยไนโตรเจน พวกแคลเซียมไนเตรต และโพแทสเซียม ไนเตรต แทนพวกแอมโมเนียมและยูเรียก็​สามารถแก้ปัญหาได้
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 25 พ.ย.62
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM