เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
หินกัวโน่ ปุ๋ยอินทรีย์ฮิวมิไฟต์ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีข้อสงสัยความแตกต่างระหว่างหินกัวโน่ ปุ๋ยอินทรีย์ฮิวมิไฟต์ และปุ๋ยอินทรีย์เคมีนั้น มีความหมายและความแตกต่างกันอย่างไร ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลรายละเอียดด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    หินกัวโน่ คือ การสะสมมูลค้างคาวในพื้น หรือผนังถ้ำเป็นเวลาหลายปี เมื่อได้ความชื้นหรือมีน้ำฝนชะล้างเอาธาตุอาหารจากมูลค้างคาว เข้าสะสมอยู่ในหินปูนตามพื้นถ้ำหรือผนังถ้ำ การเก็บกวาดหรือขุดหินปูนที่มีธาตุอาหารหรือมูลค้างคาวปะปนอยู่นั้นเรียกว่า หินกัวโน่ หินชนิดนี้นำไปเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้ดี เพราะนอกจากจะให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแคลเซียมและแมกนีเซียมอีกด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ฮิวมิไฟต์ เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลสัตว์ ที่ผ่านการให้ความร้อนทางอ้อม ที่อุณหภูมิ 160-180 องศาเซลเซียส ทำให้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดนี้คงทนต่อการสลายตัวและปลดปล่อยธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์กับต้นไม้อย่างช้าๆ ซึ่งมีวิธีการผลิตดังนี้ บรรจุมูลสัตว์ลงในถัง 2 ชั้น ระหว่างชั้นหล่อเลี้ยงด้วยน้ำมัน ต่อมาเพิ่มอุณหภูมิให้น้ำมันที่ 160-180 องศาเซลเซียส ถ่ายเทให้ถังบรรจุมูลสัตว์ที่หมุนคลุกเคล้ามูลสัตว์ตลอด 3-5 ชั่วโมง แล้วปล่อยทิ้งให้เย็น ก่อนนำไปใช้เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ ปุ๋ยอินทรีย์ฮิวมิไฟต์ จะให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 4.5-5.3, 9.0 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน 70 : 30 ส่วน โดยน้ำหนักที่อยู่ในรูปปั้นเม็ดหรืออัดเม็ด และมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยมีขั้นตอนในการอบฆ่าเชื้อโรคบางชนิดด้วยไอร้อนที่อุณหภูมิ 60-80 องศาเซลเซียส เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง เพื่อยับยั้งไม่ให้จุลินทรีย์ผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายปุ๋ยเคมีที่ผสมอยู่ในปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยที่ได้จะมีความเป็นกรด-ด่าง ที่ 3.5-5.5 จุดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์เคมี คือมีอินทรียวัตถุสูง ทำหน้าที่ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย ช่วยให้ดินดูดซับเก็บความชื้นไว้ได้นานขึ้น พร้อมกับปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับต้นไม้อย่างช้าๆ ขณะที่ปุ๋ยเคมีจะให้ธาตุอาหารกับต้นไม้ได้อย่างพอเพียงกับความต้องการ ทั้งปริมาณและเวลาที่เหมาะสม กล่าวโดยรวมแล้วปุ๋ยทั้งสามชนิด ล้วนเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อต้นไม้โดยตรง แต่หินกัวโน่ต้องใช้เวลาสะสมนานหลายปีจึงจะได้ปริมาณความต้องการ ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ฮิวมิไฟต์นั้น เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต้นทุนการผลิตสูงมาก จึงไม่เหมาะสำหรับผลิตใช้ในบ้านเรา ปุ๋ยอินทรีย์เคมีนั้นผลิตได้ง่าย การใช้ก็สะดวก ทำให้ปุ๋ยชนิดนี้กำลังมาแรง จุดอ่อนคือยังติดอยู่ที่ภาคราชการยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
หนองบัว
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
อุดรธานี
รหัสไปรษณีย์ :
41000
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 377
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM