เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ขนุน-พันธุ์ยาง วัสดุคลุมแปลงสตรอเบอรี่
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจปลูกขนุนไว้ในสวน สองพันธุ์คือ พันธุ์เหรียญทองและฟ้าถล่ม ซึ่งให้ผลดีพอสมควร ผมได้สอบถามเพื่อนๆ ที่ชอบปลูกขนุน เช่นเดียวกับผมและได้รับคำตอบว่ามีขนุนพันธุ์ดีอีกหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์มาเลเซีย ทองสุขใจ เหลืองพิชัย เหลืองบางเตย และพันธุ์ดีอื่นๆ แต่ก็ให้รายละเอียดได้บางส่วนเท่านั้น ในโอกาสนี้ผมจึงขอรบกวนคุณหมอเกษตร ทองกวาว ได้โปรดแนะนำว่าขนุนพันธุ์ที่ผมกล่าวมานั้นมีลักษณะดีเด่นแตกต่างกันอย่างไร เพื่อผมจะได้นำข้อมูลมาพิจารณาปลูกพันธุ์ที่ต้องการต่อไปครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ขนุน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย และมีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยมาช้านาน เนื่องด้วยความสามารถของเกษตรกรไทยที่ปรับปรุงพันธุ์ขนุนมาอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้ปัจจุบันมีขนุนหลากหลายพันธุ์ โดยแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะเด่นแตกต่างกันไป ดังนี้ พันธุ์เหลืองบางเตย แหล่งพันธุ์พบที่จังหวัดนครปฐม ลักษณะทรงต้นมีทรงพุ่มแผ่กว้าง โปร่ง ขนาดปานกลาง อายุให้ผลผลิต 3 ปี ผลกลมทรงรูปไข่ เปลือกสีน้ำตาล หนามถี่ปานกลาง เปลือกหนาปานกลาง น้ำหนักผลเฉลี่ย 15 กิโลกรัม เปอร์เซ็นต์เนื้อผลปานกลาง เนื้อผลสีเหลืองเข้ม ยวงยาว 8-8.5 เซนติเมตร เนื้อหนา 0.5-1.2 เซนติเมตร รสชาติหวานกรอบ และมีขนาดเมล็ด จุดเด่นของพันธุ์เหลืองบางเตย คือมีผลขนาดใหญ่ เนื้อหนา ยวงใหญ่และรสชาติหวานกรอบ พันธุ์เหลืองพิชัย พบครั้งแรกที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ทรงต้นสูงใหญ่ และโปร่ง ใบสีเขียวเข้ม รูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ไม่มีติ่งที่ใบ ติดผลได้เกือบตลอดปี ให้ผลเมื่อมีอายุ 3 ปี อายุเก็บเกี่ยวตั้งแต่เริ่มผสมเกสร 120 วัน รูปทรงของผลยาวเรียวทรงกระบอก สีเปลือกเหลืองอมน้ำตาล เปลือกบาง หนามมีขนาดสั้นและห่าง น้ำหนักผลเฉลี่ย 10-12 กิโลกรัม เนื้อผลมีซังน้อย เนื้อหนา รสหวานจัด กรอบ และมีกลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์เนื้อ 35-40 เปอร์เซ็นต์ ขนาดเมล็ดปานกลางและเมล็ดมีระยะพักตัวจึงไม่งอกในผล พันธุ์พระพิราบ แหล่งพันธุ์บางกอกน้อย กทม. ต้นใหญ่ ทรงพุ่มโปร่ง ใบสีเขียวเป็นมัน เส้นใบมองเห็นชัด ติดผลดก ให้ผลเมื่ออายุ 2 ปี กับอีก 8 เดือน มีผลยาวเรียว เปลือกมีสีเขียวอมน้ำตาล เปลือกบาง หนามสั้น น้ำหนักผลเฉลี่ย 15-20 กิโลกรัม เนื้อมีซังน้อย เนื้อผลมีสีเหลืองเข้ม รสหวานแหลม ความหวานวัดได้ประมาณ 21.6 องศาบริกซ์ เนื้อกรอบ และมีปริมาณเนื้อ 40-45 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ทองสุดใจ แหล่งพันธุ์พบที่จังหวัดปราจีนบุรี ทรงต้นเป็นรูปพีระมิด ใบใหญ่ รี ปลายใบมนและบิดเล็กน้อย ติดผลดก อายุเก็บเกี่ยว 120-150 วัน หลังดอกบาน ผลเรียวยาว สีเปลือกเหลืองอมน้ำตาล ปลายหนามแหลม สั้นถี่และแคบ ผลมีเปลือกบาง น้ำหนักผลเฉลี่ย 10-20 กิโลกรัม เนื้อมีซังน้อย ยวงสีเหลืองเข้ม ความหวาน 18 องศาบริกซ์ มีเนื้อผล 35-40 เปอร์เซ็นต์ มีเมล็ดขนาดปานกลางและเมล็ดไม่งอกขณะผลสุก พันธุ์มาเลเซีย เป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ทรงต้นขนาดกลาง ใบมีขนาดใหญ่ ลักษณะผลเรียวยาว ทรงกระบอก เปลือกมีสีน้ำตาลอมเขียว หนามสั้น ขนาดใหญ่ ฐานกว้าง ปลายไม่แหลม ซังมีน้อย สีขาว เนื้อสีเหลือง ยวงใหญ่ เนื้อหนา รสชาติจืดชืด ปริมาณน้ำตาลวัดได้เพียง 13-14 องศาบริกซ์ เนื้อร่วนไม่แน่น เปอร์เซ็นต์เนื้อผล 40 เปอร์เซ็นต์ ไส้ในเล็กและแคบ เมล็ดงอกเมื่อผลสุก พันธุ์จำปากรอบ แหล่งพันธุ์อยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ต้นเตี้ย เล็ก ทรงพุ่มเป็นรูปพีระมิด ใบมน มีสีเขียวเข้ม อายุเก็บเกี่ยว 120-150 วัน หลังผสมเกสร ผลยาวเรียว รูปร่างไม่สวย เปลือกสีเหลืองอมเขียว หนามสั้น ห่าง มีฐานแคบ ปลายแหลม เปลือกหนาปานกลาง น้ำหนักผลเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 10-25 กิโลกรัม มีซังน้อยและหยาบ เนื้อบางสีเหลืองส้ม มีรสหวานอมเปรี้ยว ความหวานระดับ 19 องศาบริกซ์ มีเนื้อทั้งหมด 30-35 เปอร์เซ็นต์ และเมล็ดมีขนาดปานกลาง พันธุ์เหรียญทอง แหล่งพันธุ์พบที่ภาคกลาง ทรงพุ่มแผ่กว้าง สวยงาม ใบมีสีเขียวเข้มและหนา ติดผลทะวาย แต่ไม่ดก ผลทรงกระบอกและป่องตอนกลางเล็กน้อย เปลือกสีเขียวอมน้ำตาลและบางน้ำหนักผลเฉลี่ยระหว่าง 10-15 กิโลกรัม เนื้อกรอบสีเหลืองไม่เละ รสหวาน กลิ่นหอม น้ำหนักเนื้อผล 50 เปอร์เซ็นต์ และเมล็ดมีขนาดปานกลาง พันธุ์ทรงประเสริฐ แหล่งพันธุ์อยู่ที่จังหวัดระยอง ทรงต้นสูงโปร่ง ใบกลมใหญ่ ปลายมนสีเขียวเข้ม ติดผลดกและทะวาย เริ่มให้ผลเมื่ออายุ 2 ปี อายุเก็บเกี่ยว 140-150 วัน หลังผสมเกสรรูปทรงผลค่อนข้างกลม เปลือกมีสีเขียวอมน้ำตาล หนามมีขนาดใหญ่ ฐานกว้าง เปลือกบาง น้ำหนักผลเฉลี่ย ซังสีขาวอมเหลือง เนื้อสีเหลือง ยวงกลมรี เนื้อแน่นเหนียวแต่บาง รสหวานกรอบ ความหวานที่ 20-23 องศาบริกซ์ เปอร์เซ็นต์เนื้อผล 50 เปอร์เซ็นต์ และมีเมล็ดขนาดปานกลาง พันธุ์ศรีบรรจง แหล่งพันธุ์อยู่ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทรงต้นเป็นพุ่มทึบ ใบเล็กปลายแหลม สีเขียวเข้ม ติดผลทะวาย เป็นพันธุ์หนัก ให้ผลเมื่ออายุ 5 ปี อายุเก็บเกี่ยว 140-150 วัน หลังผสมเกสร ผลกลมรี เปลือกสีเขียวเข้ม หนามมีขนาดใหญ่ เรียบและปลายไม่แหลม เปลือกหนาปานกลาง น้ำหนักผลเฉลี่ย 10-15 กิโลกรัม ซังมีน้อย เนื้อสีทอง แข็งกรอบ และยวงกลมรี ความหวาน 28 องศาบริกซ์ รสจึงหวานจัด น้ำหนักเนื้อทั้งหมด 40 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดกลมและเล็ก รายละเอียดของแต่ละพันธุ์ที่ผมนำมาเล่าให้ฟัง โดยอ้างอิงจากเอกสารวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ชอบใจพันธุ์ไหนเลือกปลูกได้ตามชอบใจครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
ท่าวังทอง
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
พะเยา
รหัสไปรษณีย์ :
56000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 376
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM